เมนู

เป็นต้นนั้น. จิตของพระอนาคามี พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจาก
กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ จากกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วน
ละเอียด และจากเหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับกามราคสังโยชน์
เป็นต้นนั้น. จิตของพระอรหันต์ พ้น พ้นวิเศษ พ้นวิเศษดีแล้วจาก
รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธจัจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย
อวิชชานุสัย เหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และ
จากสรรพนิมิตภายนอก. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิต
พ้นวิเศษดีแล้ว.

ว่าด้วยจิตที่เป็นกาลของสมถะและวิปัสสนา


[987] คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณา
ธรรมโดยชอบตามกาล
ความว่า เมื่อจิตไม่ฟุ้งซ่านเป็นกาลของสมถะ
เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นกาลของวิปัสสนา.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
โยคีผู้ใด ย่อมประคองจิตในกาล ย่อมข่มจิตใน
กาลอื่น ย่อมให้จิตรื่นเริงโดยกาล ย่อมตั้งจิตไว้ในกาล
ย่อมวางเฉยตามกาล โยคีผู้นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล
ความประคองจิตควรมีในกาลไหน ความข่มจิตควรมีใน
กาลไหน กาลเป็นที่ให้จิตรื่นเริงควรมีในกาลไหน และ
กาลของสมถะเป็นกาลเช่นไร บัณฑิตย่อมแสดงกาลเป็น
ที่วางเฉยแห่งจิตของโยคีบุคคลอย่างไร เมื่อจิตของโยคี
บุคคลย่อหย่อน เป็นกาลที่ควรประคองไว้ เมื่อจิตของ

โยคีบุคคลฟุ้งซ่านเป็นกาลที่ควรข่มไว้ โยคีบุคคลพึงยัง
จิตที่ถึงความแช่มชื่นให้รื่นเริงในกาลนั้น จิตเป็น
ธรรมชาติรื่นเริงไม่ย่อหย่อน ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมมีในกาล
ใด กาลนั้นเป็นกาลของสมถะ ใจพึงยินดีในภายใน
อุบายนั้นนั่นแหละ จิตเป็นธรรมชาติตั้งมั่น ย่อมมีใน
กาลใด ในกาลนั้น โยคีบุคคลพึงวางเฉยไว้ซึ่งจิตที่ตั้งมั่น
แล้วด้วยปัญญา ธีรชนผู้รู้แจ้งกาล ทราบกาล ฉลาดใน
กาล พึงกำหนดอารมณ์อันเป็นนิมิตของจิต ตลอดกาล
ตามกาล อย่างนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุนั้น... ตามกาล. คำว่า เมื่อกำหนดพิจารณา
ธรรมโดยชอบ
ความว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมีความดับไปเป็น
ธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ.
[988] คำว่า มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในคำว่า เป็นผู้มีจิต
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดังนี้
ความว่า เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่
กวัดแกว่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. คำว่า
ภิกษุนั้นฟังคำจัดความมืด ความว่า พึงขจัด กำจัด ละ บรรเทา
ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความมืดคือราคะ ความมืดคือโทสะ
ความมืดคือโมหะ ความมืดคือมานะ ความมืดคือทิฏฐิ ความมืดคือกิเลส

ความมืดคือทุจริต อันทำให้บอด ทำให้ไม่มีจักษุ ทำให้ไม่มีฌาน ดับ
ปัญญา เป็นฝักฝ่ายความลำบาก ไม่ให้เป็นไปเพื่อนิพพาน. คำว่า ภควา
เป็นคำเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะ-
อรรถว่า ผู้ทำลายราคะ ทำลายโทสะ ทำลายโมหะ ทำลายมานะ ทำลาย
ทิฏฐิ ทำลายเสี้ยนหนาม ทำลายกิเลส เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรง
แจกแจง ทรงจำแนกเฉพาะซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุด
แห่งภพทั้งหลาย เพราะอรรถว่า มีพระกายอันทรงอบรมแล้ว มีศีลอัน
อบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญาอันอบรมแล้ว.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะ
และป่าทึบอันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจากชน
ผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออก
เร้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน 4 อัปปมัญญา 4
อรูปสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ 8 อภิภายตนะ 8
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสมาบัติ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา 10 กสิณ-
สมาบัติ 10 อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน 4 สัมมัป-
ปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรค
มีองค์ 8 เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ 10 เวสา-
รัชญาณ 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 พุทธธรรม 6 เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภควา. พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา
พระภคินี มิตร อำมาตย์ พระญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้
เฉลิมให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีใน
อรหัตผลในลำดับแห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยการ
ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น พึงกำจัดความมืด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตพ้นวิเศษแล้ว พึงกำจัดฉันทะใน
ธรรมเหล่านั้น ภิกษุนั้น เมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดย
ชอบตามกาล เป็นผู้มีจิตเป็นธรรมเอกผุดขึ้น พึงกำจัด
ความมืด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าดังนี้ ฉะนี้แล.

จบสารีปุตตสุตตนิทเทสที่ 16
สุตตนิทเทส 16 นิทเทสในอัฏฐกวรรคจบบริบูรณ์

อรรถกถาสารีปุตตสุตตนิทเทสที่ 16


พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสุตตนิทเทสที่ 16 มีคำเริ่มต้นว่า
น เม ทิฏฺโฐ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นเลย ดังนี้.
ในบทเหล่านั้นบทว่า อิโต ปุพฺเพ ก่อนแต่นี้ คือ ก่อนแต่พระ-
ศาสดาเสด็จหยั่งลงที่สังกัสสนครนี้. บทว่า วคฺคุวโท คือ มีกระแสเสียง
อันไพเราะ. บทว่า ตุสิตา คณิมาคโต พระศาสดาเสด็จจากดุสิตมาสู่
ความเป็นคณาจารย์ คือเสด็จมาจากดุสิต เพราะเคลื่อนจากดุสิตมาสู่ครรภ์
พระมารดา. ชื่อว่า คณี เพราะเป็นคณาจารย์ หรือว่าเสด็จมาจากเทวโลก
ชื่อว่า ดุสิต. เพราะเป็นที่ยินดี แล้วมาเป็นคณาจารย์. หรือว่าเสด็จมาเป็น
คณาจารย์ของพระอรหันต์ทั้งหลายผู้ยินดีแล้ว.
บทว่า อิมินา จกฺขุนา ด้วยจักษุนี้ คือ ด้วยมังสจักษุตามปกติอัน
เนื่องอยู่ในอัตภาพนี้. บทว่า อิมินา อตฺตภาเวน คือ ด้วยอัตภาพครั้ง
สุดท้ายนี้. บทว่า ตาวตึสภวเน คือ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. บทว่า
ปาริจฺฉตฺตกมูเล ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ คือภายใต้ไม้ทองหลาง. บทว่า
ปณฺฑุกมฺพลสิลายํ ปัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ คือหลังแผ่นหินเช่นกับผ้า
กัมพลสีแดง. บทว่า วสฺสํ วุฏฺโฐ คือ ประทับจำพรรษา. บทว่า
เทวคณปริวุโต อันหมู่เทวดาห้อมล้อมแล้ว. บทว่า โอติณฺโณ คือ
เสด็จลงแล้ว. บทว่า อิมํ ทสฺสนํ ปุพฺเพ คือ เว้นการเห็นครั้งนี้ ไม่
เคยเห็นมาก่อนเลย. บทว่า น ทิฏฺโฐ คือ ไม่เคยเห็นในกาลอื่น. บทว่า
ขตฺติยสฺส วา คือ ไม่เคยได้ยินต่อกษัตริย์ตรัสบอก. แม้ในพราหมณ์
เป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน.