เมนู

ขอบเขตศีลเป็นไฉน บุคคลผู้กำหนัดไม่ควรกล่าววาจา ผู้โกรธ
เคืองไม่ควรกล่าววาจา ผู้หลงไม่ควรกล่าววาจา แลไม่ควรกล่าว บอก
พูด แสดง แถลง ซึ่งมุสาวาท ปิสุณาวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ
นี้ชื่อว่า ขอบเขตศีล. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่
พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต.

ไม่ควรคิดที่จะว่าเขาด้วยศีลวิบัติ


[979] ชื่อว่า ชน ในคำว่า ไม่พึงคิดเพื่อธรรมคือการว่ากล่าว
ซึ่งชน
คือ บุคคลที่เป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ เป็นแพศย์ เป็นศูทร
เป็นคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ ภิกษุไม่พึงคิด คือ
ไม่พึงยังความคิดให้เกิดขึ้น ไม่พึงยังความดำริแห่งจิตให้เกิดขึ้น ไม่พึง
ยังมนสิการให้เกิดขึ้นเพื่อการกล่าว การค่อนว่า การนินทา การติเตียน
การไม่สรรเสริญ การไม่พรรณนาคุณแห่งชน ด้วยศีลวิบัติ ด้วยอาจาร-
วิบัติ ด้วยทิฏฐิวิบัติ หรือด้วยอาชีววิบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึง
คิดเพื่อธรรมคือการว่ากล่าวซึ่งชน เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า
ภิกษุถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงเป็นผู้มีสติชอบใจ พึง
ทำลายความเป็นผู้กระด้างในสพรหมจารีทั้งหลาย พึง
เปล่งวาจาอันเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต ไม่
พึงคิดเพื่อธรรม คือการกล่าวว่าซึ่งชน.

[980] ลำดับต่อไป ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา เพื่อกำจัด
ราคะเหล่าใด ราคะเหล่านั้น เป็นธุลี 5 ประการในโลก
พึงปราบปราม ราคะในรูป เสียง กลิ่น รส และ
ผัสสะ.


ว่าด้วยธุลี 5 ประการ


[981] บทว่า อถ ในคำว่า ลำดับต่อไป...ราคะเหล่านั้น เป็น
ธุลี 5 ประการในโลก
เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปทปูรณะ
เป็นศัพท์ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับบท.
คำว่า ธุลี 5 ประการ คือราคะในรูป ราคะในเสียง ราคะในกลิ่น
ราคะในรส ราคะในโผฏฐัพพะ. อนึ่ง ได้แก่ราคะดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า
ราคะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี.
คำว่า ธุลี เป็นชื่อของราคะ บัณฑิตทั้งหลายนั้นละธุลี
นี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

โทสะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี.
คำว่า ธุลี เป็นชื่อของโทสะ บัณฑิตทั้งหลายนั้นละธุลี.
นี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

โมหะเรากล่าวว่าเป็นธุลี มิได้กล่าวละอองว่าเป็นธุลี.
คำว่า ธุลี เป็นชื่อของโมหะ. บัณฑิตทั้งหลายนั้น ละ
ธุลีนี้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก
ธุลี.