เมนู

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งปฐมฌานที่เกิด
ขึ้นแล้ว ทุติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจตุตถฌาน
ที่เกิดขึ้นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน.
คำว่า เป็นผู้ตื่นอยู่มาก ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน
ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการ
นั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์)
โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ใส่ใจถึงสัญญา
ในการลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้
บริสุทธิ์ จากกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอด
ปัจฉิมยามแห่งราตรี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
เป็นผู้ตื่นอยู่มาก.


ว่าด้วยอุเบกขา


[973] ความเพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉยยิ่ง ความ
ที่จิตสงบ ความที่จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน. ชื่อว่า
อุเบกขา ในคำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ความหยุด
ความนิ่ง ความแน่วแน่ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต
ความที่มีใจกวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ชื่อว่า ความเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น. คำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น
ความว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจอันอะไร ๆ ไม่ให้กวัดแกว่งได้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น.

ว่าด้วยความตรึก 9 อย่าง


[974] ชื่อว่า ความตรึก ในคำว่า พึงเข้าไปตัดความตรึก
ธรรมเป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก ละความรำคาญ
ได้แก่ความ
ตรึก 9 อย่าง คือความตรึกในกาม ความตรึกในความพยาบาท ความ
ตรึกในความเบียดเบียน ความตรึกถึงญาติ ความตรึกถึงชนบท ความ
ตรึกถึงเทพเจ้า ความตรึกอันปฏิสังยุตด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น ความ
ตรึกอันปฏิสังยุตด้วยลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ความตรึกอัน
ปฏิสังยุตด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก 9 อย่าง.
กามสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งกามวิตก พยาบาทสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่ง
พยาบาทวิตก วิหิงสาสัญญาเป็นที่อาศัยอยู่แห่งวิหญิงสาวิตก.
อีกอย่างหนึ่ง อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อโนตตัปปะ
อุทธัจจะ เป็นที่อาศัยอยู่แห่งความตรึก คือความดำริทั้งหลาย ชื่อว่า
ความรำคาญ คือความรำคาญมือบ้าง ความรำคาญเท้าบ้าง ความรำคาญ
มือและเท้าบ้าง ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งควรว่า
ไม่ควร ความสำคัญในสิ่งไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งมีโทษว่า
ไม่มีเทษ ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือด
ร้อนจิต ความกลุ้มใจเห็นปานนี้ เรียกว่า ความรำคาญ. อีกอย่างหนึ่ง
ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ
2 ประการ คือเพราะกระทำและไม่กระทำ.