เมนู

ไม่สงบ จากบริเวณนี้ไปยังบริเวณโน้น ฯลฯ พูดเรื่องความเจริญและ
ความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.
คำว่า ไม่เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุพึงละ บรรเทา
ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือ พึงเป็น
ผู้งดเว้น เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งความ
เป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ พึงเป็นผู้ชอบ
ในความสงัด ยินดีในความสงัด ขวนขวายในความสงบจิต ณ ภายใน
ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ในเรือน
ว่างเปล่า เป็นผู้มีฌาน ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมี
อารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า.

ว่าด้วยผู้ขวนขวายในฌาน


[972] คำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ในคำว่า พึงเป็นผู้
ขวนขวายในฌาน เป็นผู้ตื่นอยู่มาก
ความว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน
ด้วยเหตุ 2 อย่าง คือเป็นผู้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบโดยเอื้อเฟื้อ
มาประกอบด้วยดี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งคติยฌาน
ที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น แม้
ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งปฐมฌานที่เกิด
ขึ้นแล้ว ทุติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว หรือจตุตถฌาน
ที่เกิดขึ้นแล้ว แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน.
คำว่า เป็นผู้ตื่นอยู่มาก ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิต
ให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน
ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการ
นั่ง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์)
โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ใส่ใจถึงสัญญา
ในการลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้
บริสุทธิ์ จากกรรมเป็นเครื่องกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอด
ปัจฉิมยามแห่งราตรี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน
เป็นผู้ตื่นอยู่มาก.


ว่าด้วยอุเบกขา


[973] ความเพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉย กิริยาที่เพิกเฉยยิ่ง ความ
ที่จิตสงบ ความที่จิตระงับ ความที่จิตเป็นกลาง ในจตุตถฌาน. ชื่อว่า
อุเบกขา ในคำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น ความหยุด
ความนิ่ง ความแน่วแน่ ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต
ความที่มีใจกวัดแกว่ง ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
ชื่อว่า ความเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น. คำว่า พึงเป็นผู้ปรารภอุเบกขามีจิตตั้งมั่น
ความว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน เป็นผู้มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง