เมนู

โน้น ภิกษุไม่เป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้ อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่
ละแวกบ้าน เดินไปตามทาง ย่อมสำรวมเดินไป ไม่เดินแลดูกอง
พลช้าง ฯลฯ ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุเป็นผู้ไม่ทอดจักษุไปแม้
อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วย จักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุ-
พยัญชนะ ฯลฯ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุไม่เป็นผู้ทอด
จักษุไปแม้อย่างนี้.
อนึ่ง เหมือนอย่างว่า ท่านสมณพราหมณ์จำพวกหนึ่ง ฉันโภชนะ
ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ฯลฯ กองทัพ ภิกษุเว้นขาดจากดูการเล่นอัน
เป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ ภิกษุไม่เป็นผู้ทอดจักษุไปแม้อย่างนี้ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ.

ว่าด้วยไม่โลเลเพราะเท้า


[971] พึงทราบอธิบายในคำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า
ดังต่อไปนี้.
ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือ เป็นผู้
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน จาก
อารามนี้ไปยังอารามโน้น ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้า ประกอบด้วยความเป็นผู้
โลเลเพราะเท้า ในภายในแห่งสังฆาราม ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่ง
ประโยชน์ ไม่ใช่เดินไปเพราะเหตุแห่งการให้ทำ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน มีจิต

ไม่สงบ จากบริเวณนี้ไปยังบริเวณโน้น ฯลฯ พูดเรื่องความเจริญและ
ความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ ภิกษุเป็นผู้โลเลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.
คำว่า ไม่เป็นผู้โลเลเพราะเท้า ความว่า ภิกษุพึงละ บรรเทา
ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลเพราะเท้า คือ พึงเป็น
ผู้งดเว้น เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งความ
เป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ พึงเป็นผู้ชอบ
ในความสงัด ยินดีในความสงัด ขวนขวายในความสงบจิต ณ ภายใน
ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ในเรือน
ว่างเปล่า เป็นผู้มีฌาน ยินดีในฌาน ขวนขวายในความเป็นผู้มีจิตมี
อารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นผู้หนักอยู่ในประโยชน์ของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมจักษุ ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า.

ว่าด้วยผู้ขวนขวายในฌาน


[972] คำว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ในคำว่า พึงเป็นผู้
ขวนขวายในฌาน เป็นผู้ตื่นอยู่มาก
ความว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน
ด้วยเหตุ 2 อย่าง คือเป็นผู้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบโดยเอื้อเฟื้อ
มาประกอบด้วยดี เพื่อความเกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อ
ความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น เพื่อความเกิดขึ้นแห่งคติยฌาน
ที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น แม้
ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า เป็นผู้ขวนขวายในฌาน.