เมนู

น้อมใจไปด้วยศรัทธาก็ชื่อว่า ศึกษา ประคองความเพียรก็ชื่อว่า ศึกษา
เข้าไปตั้งสติก็ชื่อว่า ศึกษา ตั้งจิตไว้ก็ชื่อว่า ศึกษา รู้ชัดด้วยปัญญาก็ชื่อว่า
ศึกษา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งก็ชื่อว่า ศึกษา กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ก็ชื่อว่า ศึกษา ละธรรมที่ควรละก็ชื่อว่า ศึกษา ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่
ควรทำให้แจ้งก็ชื่อว่า ศึกษา เจริญธรรมที่ควรเจริญก็ชื่อว่า ศึกษา คือ
ย่อม ประพฤติเอื้อเฟื้อ ย่อมประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี ย่อมสมาทานศึกษา
เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เสขะ ภิกษุผู้เสขะศึกษาแม้อธิศีล แม้อธิจิต
แม้อธิปัญญา เพื่อบำบัด กำจัด ละเว้น สงบ สละคืน ระงับเสีย
ภิกษุผู้เสขะเมื่อนึกถึงสิกขา 3 นี้ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา ฯลฯ เมื่อ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา คือพึงประพฤติเอื้อเฟื้อ
ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้
เสขะพึงบำบัดเสีย.


ว่าด้วยการเที่ยวไปโดยไม่มีกังวล


[962] คำว่า พึงเป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป ความว่า ภิกษุ
เป็นผู้มีกังวลท่องเที่ยวไปอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประ-
กอบด้วยความกังวลสกุล ด้วยความกังวลคณะ ด้วยความกังวลอาวาส
ด้วยความกังวลจีวร ด้วยความกังวลบิณฑบาต ด้วยความกังวลเสนาสนะ
ด้วยความกังวลคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุเป็นผู้มีกังวลท่องเที่ยวไป
อย่างนี้.
ภิกษุเป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไปอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยความกังวลสกุล ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยความกังวล

คณะ อาวาส จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุ
เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไปอย่างนี้.
สมจริงดังภาษิตว่า
ภิกษุทั้งหลายไปมคธรัฐ ไปโกศลรัฐ มีอยู่ ภิกษุที่
ไปมคธรัฐบางพวก เที่ยวไปต่างหมู่ แต่วัชชีภูมิ เป็นผู้
ไม่มีกังวลยู่ ความเที่ยวไปให้ประโยชน์สำเร็จ ความ
เที่ยวไปดีให้ประโยชน์สำเร็จ ความเป็นผู้ไม่กังวลอยู่ ให้
ประโยชน์สำเร็จทุกเมื่อ การถามถึงประโยชน์เป็นกรรม
ของผู้ขยัน นั่นเป็นความเสมอกันแห่งความไม่กังวล
ดังนี้.

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้เสขะพึงบำบัดเสีย พึงเป็นผู้ไม่มีกังวล
ท่องเที่ยวไป เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
เราจักฉันอะไร เราจักฉันที่ไหน วันนี้เรานอนลำบาก
หนอ พรุ่งนี้เราจักนอนที่ไหน ภิกษุผู้เสขะพึงบำบัดเสีย
ซึ่งวิตกเหล่านี้ อันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน พึงเป็นผู้
ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป.

[963] ภิกษุนั้นในธรรมวินัย ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มใน
กาล พึงรู้จักประมาณเพื่อสันโดษ ภิกษุนั้นสำรวมใน
ปัจจัยเหล่านั้น เป็นผู้สำรวมเที่ยวไปในบ้าน แม้ถูกเขาด่า
ก็ไม่ควรกล่าววาจาหยาบ.

ว่าด้วยได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มโดยธรรม


[964] ชื่อว่า อาหาร ในคำว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม
ในกาล
คือข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ. ชื่อว่า เครื่องนุ่งห่ม
ได้แก่จีวร 6 ชนิด คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน
ผ้าด้ายเจือไหม. คำว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาล ความว่า
ภิกษุนั้นได้จีวรและบิณฑบาต มิใช่ได้ด้วยการหลอกลวง มิใช่ได้ด้วย
การพูดเลียบเคียง มิใช่ได้ด้วยการบอกใบ้ มิใช่ได้ด้วยความกำจัดคุณเขา
มิใช่ได้ด้วยการแสวงหาลาภด้วยลาภ มิใช่ได้ด้วยการให้ฟืน มิใช่ได้ด้วย
การให้ไม้ไผ่ มิใช่ได้ด้วยการให้ใบไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้ดอกไม้ มิใช่
ได้ด้วยการให้ผลไม้ มิใช่ได้ด้วยการให้เครื่องอาบน้ำ มิใช่ได้ด้วยการ
ให้จุรณ มิใช่ได้ด้วยการให้ดินเหนียว มิใช่ได้ด้วยการให้ไม้สีฟัน มิใช่
ได้ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก มิใช่ได้ด้วยคำพูดมุ่งให้เขารักตน มิใช่ได้ด้วย
ถ้อยคำเหลวไหลดังแกงถั่ว มิใช่ได้ด้วยกิริยาประจบเขา มิใช่ได้ด้วยความ
เป็นผู้นั่งบนตั่ง (ด้วยความตีสนิทเขา) มิใช่ได้ด้วยวิชาดูพื้นที่ มิใช่ได้ด้วย
ติรัจฉานวิชา มิใช่ได้ด้วยอังควิชา (รู้จักลักษณะดีร้ายของหญิงชาย) มิใช่
ได้ด้วยนักขัตวิชา (รู้จักฤกษ์ยาม) มิใช่ได้ด้วยการเดินเป็นทูต มิใช่ได้
ด้วยความเป็นผู้รับใช้ มิใช่ได้ด้วยความเป็นผู้เดินสาสน์ มิใช่ได้ด้วย
เวชกรรม มิใช่ได้ด้วยนวกรรม มิใช่ได้ด้วยการให้ก้อนข้าวและก้อนข้าว
ตอบแทน มิใช่ได้ด้วยการให้และการเพิ่มให้ ได้รับได้เฉพาะ โดยธรรม
สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่มในกาล.