เมนู

น้อมใจไปด้วยศรัทธาก็ชื่อว่า ศึกษา ประคองความเพียรก็ชื่อว่า ศึกษา
เข้าไปตั้งสติก็ชื่อว่า ศึกษา ตั้งจิตไว้ก็ชื่อว่า ศึกษา รู้ชัดด้วยปัญญาก็ชื่อว่า
ศึกษา รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งก็ชื่อว่า ศึกษา กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ก็ชื่อว่า ศึกษา ละธรรมที่ควรละก็ชื่อว่า ศึกษา ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่
ควรทำให้แจ้งก็ชื่อว่า ศึกษา เจริญธรรมที่ควรเจริญก็ชื่อว่า ศึกษา คือ
ย่อม ประพฤติเอื้อเฟื้อ ย่อมประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี ย่อมสมาทานศึกษา
เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่า เสขะ ภิกษุผู้เสขะศึกษาแม้อธิศีล แม้อธิจิต
แม้อธิปัญญา เพื่อบำบัด กำจัด ละเว้น สงบ สละคืน ระงับเสีย
ภิกษุผู้เสขะเมื่อนึกถึงสิกขา 3 นี้ก็พึงศึกษา เมื่อรู้ก็พึงศึกษา ฯลฯ เมื่อ
ทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งก็พึงศึกษา คือพึงประพฤติเอื้อเฟื้อ
ประพฤติเอื้อเฟื้อด้วยดี สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุผู้
เสขะพึงบำบัดเสีย.


ว่าด้วยการเที่ยวไปโดยไม่มีกังวล


[962] คำว่า พึงเป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป ความว่า ภิกษุ
เป็นผู้มีกังวลท่องเที่ยวไปอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประ-
กอบด้วยความกังวลสกุล ด้วยความกังวลคณะ ด้วยความกังวลอาวาส
ด้วยความกังวลจีวร ด้วยความกังวลบิณฑบาต ด้วยความกังวลเสนาสนะ
ด้วยความกังวลคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุเป็นผู้มีกังวลท่องเที่ยวไป
อย่างนี้.
ภิกษุเป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไปอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยความกังวลสกุล ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยความกังวล