เมนู

ว่าด้วยการทำปัญญาไว้เบื้องหน้าและมีปีติงาม


[953] ชื่อว่า ปัญญา ในคำว่า ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า
มีปีติงาม
ได้แก่ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว
ความเลือกเฟ้นธรรม ฯลฯ อโมหะ ธรรมวิจยะ สัมมาทิฏฐิ. คำว่า
ทำปัญญาไว้เบื้องหน้า ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ทำปัญญา
ไว้เบื้องหน้าประพฤติ เป็นผู้มีปัญญา เป็นธงชัย มีปัญญาเป็นธงยอด
มีปัญญาเป็นใหญ่ มีความเลือกเฟ้นมาก มีความเลือกเฟ้นทั่วมาก
มีปัญญาเครื่องเห็นมาก มีความเสาะหามาก อยู่ด้วยความเป็นผู้ทำให้
แจ่มแจ้ง ประพฤติด้วยปัญญา มีปัญญามาก ตระหนักอยู่ด้วยปัญญา เอน
ไปในปัญญา โอนไปในปัญญา โน้มไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา
มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ทำปัญญาไว้
เบื้องหน้า.

อนึ่ง ภิกษุเมื่อเดินก็รู้ว่า เดิน เมื่อยืนก็รู้ว่า ยืน เมื่อนั่งก็รู้ว่า นั่ง
หรือเมื่อนอนก็รู้ว่า นอน หรือว่ากายของเธอตั้งอยู่อย่างใด ๆ ภิกษุนั้น
ก็รู้กายนั้นอย่างนั้น ๆ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ทำปัญญา
ไว้เบื้องหน้า.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า
ในการเหยียดออก ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ทำความรู้สึกตัว
ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง

การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า
ทำปัญญาไว้เบื้องหน้า.
คำว่า มีปีติงาม ความว่า ปีติ ปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นด้วยความ
สามารถแห่งพุทธานุสสติ ชื่อว่า ปีติงาม ปีติ ปราโมทย์ ที่เกิดขึ้นด้วย
สามารถธรรมานุสสติ... สังฆานุสสติ... สีลานุสสติ... จาคานุสสติ...
เทวดานุสสติ...อานาปานสติ... มรณานุสสติ... กายคตาสติ... อุปสมานุสสติ
ชื่อว่า ปีติงาม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า
มีปีติงาม.

ว่าด้วยอันตราย 2 อย่าง


[954] ชื่อว่า อันตราย ในคำว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น
ได้แก่ อันตราย 2 อย่าง คือ อันตรายปรากฏ อันตรายปกปิด 1 ฯลฯ
อันตรายเหล่านี้ ชื่อว่าอันตรายปรากฏ ฯลฯ อันตรายเหล่านี้ ชื่อว่าอันตราย
ที่ปกปิด ฯ ล ฯ เพราะอรรถว่า เป็นที่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
แม้อย่างนี้ จึงชื่อว่า อันตราย. คำว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น ความว่า
พึงข่ม ปราบปราม ครอบงำ กำจัด ย่ำยี ซึ่งอันตรายเหล่านั้น เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้นเสีย.
[955] ชื่อว่า ความไม่ยินดี ในคำว่า พึงปราบความไม่ยินดี
ในท่านอนอันสงัด
คือ ความไม่ยินดี ความไม่ชอบใจ ความไม่ยินดียิ่ง
ความไม่ยินดีเฉพาะ ความเบื่อ ความระอา. คำว่า ในที่นอนอันสงัด
ความว่า พึงปราบ ข่ม ครอบงำ กำจัด ย่ำยี ซึ่งความไม่ยินดีใน