เมนู

รากของความโกรธและความดูหมิ่น


[950] รากแห่งความโกรธ ในคำว่า พึงขุดรากความโกรธและ
ความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ เป็นไฉน
อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ
อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความโกรธ.
รากแห่งความดูหมิ่นเป็นไฉน อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ
อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ (แต่ละอย่าง) เป็นรากแห่งความดูหมิ่น.
คำว่า พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ ความว่า พึงขุด
รื้อ ถอน ฉุด กระชาก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี
ซึ่งความโกรธและความดูหมิ่นเสียดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงขุด
รากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่.

ว่าด้วยที่รัก 2 อย่าง


[951] บทว่า อถ ในคำว่า อนึ่ง ภิกษุ เมื่อปราบก็พึงปราบที่รัก
และที่เกลียดชังเสียโดยแท้
เป็นบทสนธิ เป็นบทอุปสัค เป็นบทปท-
ปูรณะ ศัพท์ที่ประชุมอักขระ เป็นศัพท์สละสลวยด้วยพยัญชนะ เป็นลำดับ
บท. ชื่อว่าเป็นที่รัก ได้แก่ที่รัก 2 อย่าง คือ สัตว์ 1 สังขาร 1 สัตว์เป็น
ที่รักเป็นไฉน สัตว์ในโลกนี้เป็นผู้ปรารถนาความเจริญ ปรารถนาประโยชน์
เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความปลอดโปร่งจากโยคกิเลส
แก่บุคคลนั้น คือ เป็นมารดาบิดา พี่ชายน้องชาย พี่หญิงน้องหญิง บุตร
ธิดา มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต (ผู้สืบสาย) สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าเป็น
ที่รัก. สังขารเป็นที่รักเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อัน
เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่รัก ชื่อว่าที่เกลียดชัง ได้แก่เป็น

ที่เกลียดชัง 2 อย่าง คือ สัตว์ 1 สังขาร 1 สัตว์เป็นที่เกลียดชังเป็นไฉน
สัตว์ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ปรารถนาความเจริญ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่ปลอดโปร่ง
จากโยคกิเลส ปรารถนาจะปลงเสียจากชีวิต แก่บุคคลนั้น สัตว์เหล่านี้
ชื่อว่าเป็นที่เกลียดชัง. สังขารเป็นที่เกลียดชังเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ อันไม่เป็นที่ชอบใจ สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นที่เกลียดชัง.
คำว่า โดยแท้ เป็นคำกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความสงสัย
เป็นคำกล่าวโดยไม่มีความเคลือบแคลง เป็นคำกล่าวไม่เป็นสองส่วน เป็น
คำกล่าวไม่เป็นสองอย่าง เป็นคำกล่าวมิได้รวมกัน เป็นคำกล่าวไม่ผิด.
คำว่า โดยแท้นี้ เป็นคำกล่าวกำหนดแน่. คำว่า อนึ่ง ภิกษุเมื่อปราบ
ก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้
ความว่า ภิกษุเมื่อปราบก็พึง
ปราบ เมื่อย่ำยีพึงย่ำยีซึ่งที่รักและที่เกลียดชัง ที่ยินดีและยินร้าย สุขและ
ทุกข์ โสมนัสและโทมนัส อิฐารมณและอนิฐารมณ์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า อนึ่ง ภิกษุเมื่อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงลุอำนาจแห่งความโกรธ และความดูหมิ่น
พึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นนั้นดำรงอยู่ อนึ่ง
ภิกษุเนื้อปราบก็พึงปราบที่รักและที่เกลียดชังเสียโดยแท้.

[952] ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า มีปีติงาม พึงข่มอันตราย
เหล่านั้น พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด พึง
ปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความรำพัน 4 อย่าง.

ว่าด้วยการทำปัญญาไว้เบื้องหน้าและมีปีติงาม


[953] ชื่อว่า ปัญญา ในคำว่า ภิกษุทำปัญญาไว้เบื้องหน้า
มีปีติงาม
ได้แก่ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความเลือกเฟ้นทั่ว
ความเลือกเฟ้นธรรม ฯลฯ อโมหะ ธรรมวิจยะ สัมมาทิฏฐิ. คำว่า
ทำปัญญาไว้เบื้องหน้า ความว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ทำปัญญา
ไว้เบื้องหน้าประพฤติ เป็นผู้มีปัญญา เป็นธงชัย มีปัญญาเป็นธงยอด
มีปัญญาเป็นใหญ่ มีความเลือกเฟ้นมาก มีความเลือกเฟ้นทั่วมาก
มีปัญญาเครื่องเห็นมาก มีความเสาะหามาก อยู่ด้วยความเป็นผู้ทำให้
แจ่มแจ้ง ประพฤติด้วยปัญญา มีปัญญามาก ตระหนักอยู่ด้วยปัญญา เอน
ไปในปัญญา โอนไปในปัญญา โน้มไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา
มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ทำปัญญาไว้
เบื้องหน้า.

อนึ่ง ภิกษุเมื่อเดินก็รู้ว่า เดิน เมื่อยืนก็รู้ว่า ยืน เมื่อนั่งก็รู้ว่า นั่ง
หรือเมื่อนอนก็รู้ว่า นอน หรือว่ากายของเธอตั้งอยู่อย่างใด ๆ ภิกษุนั้น
ก็รู้กายนั้นอย่างนั้น ๆ แม้เพราะเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า ทำปัญญา
ไว้เบื้องหน้า.

อนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการถอยกลับ
ทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า
ในการเหยียดออก ทำความรู้สึกตัวในการครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร
ทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ทำความรู้สึกตัว
ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง