เมนู

ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไร ๆ ว่า นี้ของเรา หรือว่า
นี้ของตนเหล่าอื่น ฯลฯ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของคนในโลก.

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก


[439] คำว่า เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก
ความว่า ไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไปแล้ว หรือเมื่อวัตถุแปรปรวน
ไปแล้วไม่เศร้าโศกถึง คือไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ
ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย
ใจของเรา แปรปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของเรา
แปรปรวนไปแล้ว สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา แปรปรวนไปแล้ว
มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร
พวกพ้อง ญาติสาโลหิตของเรา แปรปรวนไปแล้ว แม้เพราะเหตุอย่างนี้
ดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้อันความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนาถูกต้อง
ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่
คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหล คือ เป็นผู้อันโรคจักษุ
โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่หู โรคปาก
โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม
โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน

โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู. โรคหิดเปื่อย โรคหิตด้าน
โรคหูด โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคน้ำดีเดือด
โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน
อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต
อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธ
เกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความ
สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานถูกต้อง
ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบเข้า ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่
คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหล แม้เพราะเหตุอย่างนี้
ดังนี้ จึงชื่อว่า ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวัตถุไม่มีอยู่ คือไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ย่อม
ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความ
หลงใหลว่า โอ สิ่งนั้นของเราหนอ สิ่งนั้นไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นควรมี
แก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้นหนอ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เมื่อ
สิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศกถึง.

ว่าด้วยผู้ไม่ลำเอียง


[440] คำว่า และย่อมไม่มีความลำเอียงในธรรมทั้งหลาย
ความว่า ไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึงโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ
ไม่ถึงด้วยสามารถแห่งราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธจัจะ วิจิกิจฉา