เมนู

เหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิด
โอกาส พึงทำความบากบั่นคือความเพียรให้มั่นไว้.

[943] ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ พึงแผ่
เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่สะดุ้งและผู้มั่นคง เมื่อใด ภิกษุพึง
รู้ความขุ่นใจ เมื่อนั้น พึงบรรเทาเสียซึ่งความขุ่นใจด้วย
มนสิการว่า นี่เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ.

[944] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ในคำว่า ภิกษุไม่
พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูดเท็จ
ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละ
อทินนาทาน เป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวัง
ได้แต่ของที่เขาให้ พึงเป็นผู้มีจิตไม่เป็นขโมยเป็นจิตสะอาดอยู่ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย. คำว่า ไม่พึงพูดเท็จ
ความว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท คือ
พูดจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคงเชื่อถือได้ ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่
โลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความเป็นขโมย ไม่พึงพูด
เท็จ.

การแผ่เมตตา


[945] ชื่อว่า เมตตา ในคำว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งที่
สะดุ้งและผู้มั่นคง
คือ ความไมตรี กิริยาที่รัก ความเป็นผู้มีความรัก
ความเอ็นดู กิริยาที่เอ็นดู ความเป็นผู้เอ็นดู ความแสวงหาประโยชน์
ความอนุเคราะห์ ความไม่พยาบาท ความไม่ปองร้าย ความไม่โกรธ