เมนู

ว่าด้วยสหธรรมิก


[936] คำว่า ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น
แม้เห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมาก ของคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น
นั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว
ความว่า เว้นสหธรรมิกชน 7 จำพวก (คือภิกษุ
ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา) คนเหล่าใด
เหล่าหนึ่งผู้ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ไม่เลื่อม-
ใสในพระสงฆ์ เรียกว่า คนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น คนพวกนั้นถามปัญหา
บ้าง พึงยกวาทะกะภิกษุบ้าง พึงด่า ค่อนว่า แช่ง เสียดสี เบียดเบียน
ย่ำยี กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้าไปฆ่า ทำความพยายามฆ่า ภิกษุเห็นหรือ
ได้ยินอารมณ์อันให้เกิดความขลาดเป็นอันมากของคนเหล่านั้นแล้ว ไม่
พึงหวั่นไหวสะทกสะท้าน ไม่พึงสะดุ้งดิ้นรนหวาดเสียว ครั่นคร้าม ไม่
พึงกลัว ไม่พึงถึงความสยดสยอง คือเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่ครั่นคร้าม ไม่
หวาดเสียว ไม่หนีไป เป็นผู้ละความกลัว ความขลาดเสียแล้ว ปราศจาก
ความเป็นผู้มีขนลุกอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้
ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น เมื่อเห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมาก
ของตนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว.


อันตราย 2 อย่าง


[937] คำว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล พึงย่ำยี
อันตรายอื่น
ความว่า อนึ่ง อันตรายแม้เหล่าอื่น อันภิกษุทั้งหลายผู้ตาม
แสวงหากุศลพึงย่ำยี ครอบงำ ข่มขี่ กำจัด ขับไล่ มีอยู่ ชื่อว่าอันตราย
ได้แก่อันตราย 2 อย่าง คืออันตรายที่ปรากฏ 1 อันตรายที่ปกปิด 1 ฯลฯ

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายแม้อย่างนี้ ชื่อว่า
อันตราย. คำว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล ความว่า อันตราย
ทั้งหลายอันผู้แสวงหา เสาะหา ค้นหา ซึ่งความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ
สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ฯลฯ
อริยมรรคมีองค์ 8 นิพพาน และปฏิปทาเครื่องให้ถึงนิพพาน พึงย่ำยี
ครอบงำ ข่มขี่ กำจัด ขับไล่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ผู้แสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น แม้
เห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมาก ของคนที่ตั้งอยู่ใน
ธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ตาม
แสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่น.

[938] ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระหายแล้ว พึง
อดทนความหนาวและความร้อน ภิกษุนั้นอันผัสสะเหล่า-
นั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส
พึงทำความบากบั่น คือความเพียรให้มั่นไว้.

[939] คำว่า ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทำแล้ว
ความว่า ความกระทบคือโรค เรียกว่า ผัสสะคือโรค ภิกษุเป็นผู้อันผัสสะ
คือโรคกระทบ ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำ คือ เป็นผู้อันโรคตา โรคหู
โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย ฯลฯ สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและ
สัตว์เลื้อยคลานกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำแล้ว ความอยากกิน

เรียกว่าความหิว ภิกษุเป็นผู้อันความหิวกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำ
แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุถูกผัสสะคือโรคและความหิวกระทบ
แล้ว.


ความหนาวมีด้วยเหตุ 2 อย่าง


[940] คำว่า ความหนาว ในคำว่า พึงอดทนความหนาวและ
ความร้อน
ความว่า ความหนาวย่อมมีด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ ความหนาว
ย่อมมีด้วยสามารถแห่งอาโปธาตุภายในกำเริบ 1 ความหนาวย่อมมีด้วย
สามารถแห่งฤดูภายนอก 1. คำว่า ความร้อน ความว่า ความร้อนย่อมมี
ด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งเตโชธาตุภายใน
กำเริบ 1 ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งฤดูภายนอก 1. คำว่า พึง
อดทนความหนาวและความร้อน
ความว่า ภิกษุพึงเป็นผู้อดทนต่อความ
หนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม
แดด และสัตว์เสือกคลาน พึงเป็นผู้มีปกติอดกลั้นต่อทางถ้อยคำที่เขา
กล่าวชั่ว มาร้าย และทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นในสรีระที่กล้าแข็ง เผ็ดร้อน
ไม่สบาย ไม่ชอบใจ สามารถนำชีวิตไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงอดทน
ความหนาวและความร้อน.

[941] คำว่า ภิกษุนั้นอันผัสสะเหล่านั้น ในคำว่า ภิกษุนั้นอัน
ผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้วโดยอาการมากอย่าง เป็นผู้ไม่เปิดโอกาส

ความว่า ภิกษุนั้น เป็นผู้อันผัสสะคือโรค ความหิว ความหนาว และ
ความร้อนกระทบเข้า ถูกต้อง ตั้งลง ครอบงำแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภิกษุนั้น อันผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว. คำว่า โดยอาการมากอย่าง