เมนู

ความกำหนด 2 อย่าง คือความกำหนดด้วยตัณหา 1 ความกำหนดด้วย
ทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนด
ด้วยทิฏฐิ บุคคลนั้นละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืน ความกำหนด
ด้วยทิฏฐิแล้ว เพราะเป็นผู้ละความกำหนดด้วยตัณหา สละคืนความ
กำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่กำหนดด้วยตัณหา หรือความกำหนดด้วย
ทิฏฐิ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลนั้นเป็นมุนี ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่
ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความ
เป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา เป็นผู้
ไม่มีความกำหนด ย่อมไม่ถึงความกำหนด.

[433] ผู้ใดไม่มีความถือว่าของในในโลก เมื่อสิ่งที่ถือว่า
ของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก และไม่ถึงความลำเอียง
ในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้นแลเรียกว่า ผู้สงบ.


ว่าด้วยผู้ไม่ความยึดถือ


[438] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของตนใน
โลก
คือ พระอรหันตขีณาสพ. คำว่า ไม่มีความถือว่าของตน คือ ผู้ใด
ไม่ความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจถึง

ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อะไร ๆ ว่า นี้ของเรา หรือว่า
นี้ของตนเหล่าอื่น ฯลฯ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า ผู้ใดไม่มีความถือว่าของคนในโลก.

ว่าด้วยผู้ไม่เศร้าโศก


[439] คำว่า เมื่อสิ่งที่ถือว่าของตนไม่มี ย่อมไม่เศร้าโศก
ความว่า ไม่เศร้าโศกถึงวัตถุที่แปรปรวนไปแล้ว หรือเมื่อวัตถุแปรปรวน
ไปแล้วไม่เศร้าโศกถึง คือไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่คร่ำครวญ
ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหลว่า จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย
ใจของเรา แปรปรวนไปแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะของเรา
แปรปรวนไปแล้ว สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของเรา แปรปรวนไปแล้ว
มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง บุตร ธิดา มิตร
พวกพ้อง ญาติสาโลหิตของเรา แปรปรวนไปแล้ว แม้เพราะเหตุอย่างนี้
ดังนี้ จึงชื่อว่า ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ไม่มี.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเป็นผู้อันความไม่ยินดี คือ ทุกขเวทนาถูกต้อง
ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกถึง ไม่ลำบากใจ ไม่
คร่ำครวญ ไม่ทุบอกร่ำไร ไม่ถึงความหลงใหล คือ เป็นผู้อันโรคจักษุ
โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่หู โรคปาก
โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม
โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน