เมนู

[929] คำว่า นั้น ในคำว่า เราจักกล่าว...นั้น แก่ท่าน ตาม
ที่รู้
ความว่า ธรรมอันสมควรแก่โพธิ. คำว่า เราจักกล่าว ความว่า
จักบอกกล่าว ชี้แจง แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น
ประกาศ. คำว่า ตามที่รู้ คือเรารู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด
อย่างไร จักกล่าวซึ่งธรรมที่ประจักษ์แก่ตน อันตนรู้ยิ่งเอง มิใช่โดยต้อง
เชื่อต่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยอ้างตำรา
มิใช่โดยนึกเดาเอาเอง มิใช่โดยคาดคะเนเอาเอง มิใช่โดยตรึกตามอาการ
มิใช่โดยเห็นว่าควรแก่ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักกล่าว
... นั้นแก่ท่าน ตามที่รู้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร)
เราจักกล่าวซึ่งความผาสุก และธรรมตามสมควรนั้น ของ
ภิกษุผู้เกลียด ผู้ซ่องเสพที่นั่งและที่นอนอันสงัด ผู้
ปรารถนาสัมโพธิแก่ท่าน ตามที่รู้.

[930] ภิกษุผู้เป็นธีรชน มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด
รอบ ไม่พึงกลัวต่อภัย 5 ประการ คือตัวเหลือบ สัตว์
ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่
สัตว์สี่เท้า.


ว่าด้วยภิกษุเป็นธีรชน


[931] คำว่า ผู้เป็นธีรชน ในคำว่า ผู้เป็นธีรชน...ไม่พึงกลัว
ต่อภัย 5 ประการ
ความว่า ผู้เป็นธีรชน เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญา-