เมนู

อันสงัด ว่าง เงียบ สงัด จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย จากการได้ยิน
เสียงไม่เป็นที่สบาย ฯลฯ อันสงัด ว่าง เงียบสงัด จากเบญจกามคุณ
อันไม่เป็นที่สบาย ผู้ซ่องเสพ อาศัยซ่องเสพ ซ่องเสพเสมอ ซ่องเสพเฉพาะ
ซึ่งที่นอนและที่นั่งอันสงัด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ซ่องเสพที่นั่งและ
ที่นอนอันสงัด.


ว่าด้วยสัมโพธิและธรรมอันควรแก่สัมโพธิ


[928] คำว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ . . . และซึ่งธรรมอันสมควร
ความว่า ญาณ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ในมรรค 4 เรียกว่า
สัมโพธิ. ผู้ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้ ปรารถนาเพื่อจะตามตรัสรู้ ปรารถนา
เพื่อจะตรัสรู้เฉพาะ ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้พร้อม ปรารถนาเพื่อจะบรรลุ
ปรารถนาเพื่อจะถูกต้อง ปรารถนาเพื่อจะทำให้แจ้ง ซึ่งสัมโพธินั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ. คำว่า ซึ่งธรรมอันสมควร
ความว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิเป็นไฉน ? ความปฏิบัติชอบ ความ
ปฏิบัติอันสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม
ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในโภชนะ ความประกอบเนื่อง ๆ ในความเป็นผู้อื่น สติสัม-
ปชัญญะ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิ. อีกอย่างหนึ่ง
วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค 4 เรียกว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ... และซึ่งธรรมอันสมควร.

[929] คำว่า นั้น ในคำว่า เราจักกล่าว...นั้น แก่ท่าน ตาม
ที่รู้
ความว่า ธรรมอันสมควรแก่โพธิ. คำว่า เราจักกล่าว ความว่า
จักบอกกล่าว ชี้แจง แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น
ประกาศ. คำว่า ตามที่รู้ คือเรารู้ทั่ว รู้แจ้ง รู้แจ้งเฉพาะ แทงตลอด
อย่างไร จักกล่าวซึ่งธรรมที่ประจักษ์แก่ตน อันตนรู้ยิ่งเอง มิใช่โดยต้อง
เชื่อต่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยอ้างตำรา
มิใช่โดยนึกเดาเอาเอง มิใช่โดยคาดคะเนเอาเอง มิใช่โดยตรึกตามอาการ
มิใช่โดยเห็นว่าควรแก่ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราจักกล่าว
... นั้นแก่ท่าน ตามที่รู้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร)
เราจักกล่าวซึ่งความผาสุก และธรรมตามสมควรนั้น ของ
ภิกษุผู้เกลียด ผู้ซ่องเสพที่นั่งและที่นอนอันสงัด ผู้
ปรารถนาสัมโพธิแก่ท่าน ตามที่รู้.

[930] ภิกษุผู้เป็นธีรชน มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุด
รอบ ไม่พึงกลัวต่อภัย 5 ประการ คือตัวเหลือบ สัตว์
ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่
สัตว์สี่เท้า.


ว่าด้วยภิกษุเป็นธีรชน


[931] คำว่า ผู้เป็นธีรชน ในคำว่า ผู้เป็นธีรชน...ไม่พึงกลัว
ต่อภัย 5 ประการ
ความว่า ผู้เป็นธีรชน เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญา-