เมนู

ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงกำจัดมลทิน
ของตน เหมือนช่างทองกำจัดมลทินแห่งทองฉะนั้น.

[924] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร)
เราจะกล่าวซึ่งความผาสุกและธรรมตามสมควรนั้น ของ
ภิกษุผู้เกลียด ผู้ซ่องเสพ ที่นั่งและที่นอนอันสงัด ผู้
ปรารถนาสัมโพธิแก่ท่าน ตามที่รู้.


ว่าด้วยความผาสุก


[925] คำว่า ผู้เกลียด ในคำว่า ความผาสุก ...ของ ภิกษุ
ผู้เกลียด
ความว่า ผู้เกลียด ผู้อึดอัด ผู้เอือมระอา ด้วยชาติ ชรา พยาธิ
มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ฯลฯ ทุกข์เพราะ
ความฉิบหายแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เกลียด. คำว่า ความผาสุก
ความว่า เราจักบอกความผาสุก คือความอยู่เป็นผาสุก ความอยู่เป็น
ผาสุกเป็นไฉน ? ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติสมควร ความปฏิบัติไม่
เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความประกอบ
เนืองๆ ในความเป็นผู้ตื่น สติสัมปชัญญะ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8