เมนู

จากป้อม จักไม่ออกจากโรงกลม จักไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น จัก
ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง จักไม่ออกจากมณฑป จักไม่ออกจากโคนต้นไม้
เพียงนั้น ดังนี้.
แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล
ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเวลาเช้านี้แหละ เราจักนำมา จักนำมาพร้อม
จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้.
แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล
ภิกษุประคองตั้งจิตว่า ในเวลาเที่ยงนี้แหละ ในเวลาเย็นนี้แหละ ในกาล
ก่อนภัตนี้แหละ ในกาลภายหลังภัตนี้แหละ ในยามต้นนี้แหละ ในยาม
กลางนี้แหละ ในยามหลังนี้แหละ ในฤดูร้อนนี้แหละ ในตอนวัยต้น
นี้แหละ ในตอนวัยกลางนี้แหละ ในตอนวัยหลังนี้แหละ เราจักนำมา จัก
นำมาพร้อม จักบรรลุ จักถูกต้อง จักทำให้แจ้ง ซึ่งอริยธรรม ดังนี้.
แม้การสมาทานความเพียรเห็นปานนี้ ก็เรียกว่าเป็นวัตร ไม่เป็นศีล
นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์ แห่งศีลและวัตร ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วยความ
บริสุทธิ์แห่งศีลและวัตรเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เธอพึงเป็นผู้มีศีล
และวัตรอย่างไร.

ว่าด้วยการอบรมตน


[920] คำว่า อบรมตนอยู่ ในคำว่า เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่
ความว่า ปรารภความเพียร มีความเพียรแรงกล้า มีความบากบั่นมั่นคง
มิได้ปลงฉันทะ มิได้ทอดธุระ ในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล อีกอย่างหนึ่ง
ผู้ส่งตนไป คือตนอันภิกษุส่งไปในอรหัตผลอันเป็นประโยชน์ของตน ใน

อริยมรรค ในลักษณะ ในเหตุ ในฐานะ และอฐานะ คือส่งตนไปว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ส่งตนไปว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ส่งตนไปว่า
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ส่งตนไปว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร
ฯลฯ ส่งตนไปว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชราและมรณะ ส่งตนไปว่า
เพราะอวิชชาดับสังขารจึงดับ ฯลฯ ส่งตนไปว่า เพราะชาติดับชราและ
มรณะจึงดับ ส่งตนไปว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ ส่งตนไปว่า นี้ปฏิปทาเครื่องให้ถึง
ความดับทุกข์ ส่งตนไปว่า เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ ส่งตนไปว่า นี้ปฏิปทา
เครื่องให้ถึงความดับอาสวะ ส่งตนไปว่า ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ส่งตนไปถึงความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ 6 ส่งตนไปถึงความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอุปาทานขันธ์ 5 แห่งมหา-
ภูตรูป 4 ส่งตนไปว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา. คำว่า เมื่อภิกษุ ความว่า เมื่อภิกษุ
ที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือเมื่อภิกษุที่เป็นพระเสขะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า
เมื่อภิกษุอบรมตนอยู่ เธอพึงเป็นผู้มีคลองแห่งถ้อยคำ
อย่างไร พึงเป็นผู้มีโคจรในศาสนานี้อย่างไร พึงเป็นผู้มี
ศีลและวัตรอย่างไร.

[921] ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร จึงเป็นผู้มีสมาธิ เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ พึงกำจัดมลทิน
ของตน เหมือนช่างทองจำจัดมลทินแห่งทองฉะนั้น.

ว่าด้วยสมาทานสิกขา 3


[922] คำว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร ความว่า ภิกษุนั้น
ถือเอา สมาทาน ยึดถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งสิกขาอะไร เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร. คำว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น
ในคำว่า จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น มีปัญญารักษาตน
มีสติ
ความว่า มีจิตมีอารมณ์เดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ถูกอารมณ์ร้าย
กระทบ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. คำว่า มี
ปัญญารักษาตน
ความว่า มีปัญญารักษาตน เป็นบัณฑิต มีปัญญา มี
ความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส. คำว่า มีสติ
ความว่า มีสติด้วยเหตุ 4 ประการ คือภิกษุเมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณา
เห็นกายในกาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นเวทนาใน
เวทนาทั้งหลาย ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นจิตในจิต
ก็ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ก็
ซึ่งว่ามีสติ ภิกษุนั้น เรียกว่ามีสติ พระเถระย่อมทูลถามถึงอธิศีลสิกขา
ด้วยคำว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร ทูลถามถึงอธิจิตสิกขาด้วยคำว่า
มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ทูลถามถึงอธิปัญญาสิกขาด้วยคำว่า มีปัญญา
รักษาตน
ทูลถามถึงความบริสุทธิ์แห่งสติด้วยคำว่า มีสติ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภิกษุนั้นสมาทานสิกขาอะไร จึงเป็นผู้มีสมาธิเป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น มีปัญญารักษาตน มีสติ.