เมนู

ว่าด้วยปฏิปทาของภิกษุ


[902] คำว่า เมื่อภิกษุ ในคำว่า เนื้อภิกษุเกลียดอยู่ ความว่า
เมื่อภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือที่เป็นเสขชน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เมื่อภิกษุ. คำว่า เกลียดอยู่ คือ เกลียด อึดอัด ระอา เบื่อหน่าย ด้วยชาติ
ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ทุกข์ในนรก
ทุกข์ในดิรัจฉานกำเนิด ทุกข์ในเปรตวิสัย ทุกข์ในมนุษย์ ทุกข์มีความเกิด
ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความคลอดจาก
ครรภ์เป็นมูล ทุกข์ที่ติดตามสัตว์ผู้เกิด ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด
ทุกข์เกิดแต่ความขวนขวายของตน ทุกข์เกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น
ทุกข์ที่เกิดแต่ทุกขเวทนา (ทุกขเวทนามีในกายและใจ) ทุกข์เกิดแต่สังขาร
ทุกข์เกิดแต่ความแปรปรวน ทุกข์เพราะโรคจักษุ ทุกข์เพราะโรคหู
ทุกข์เพราะโรคจมูก ทุกข์เพราะโรคลิ้น ทุกข์เพราะโรคกาย ทุกข์เพราะ
โรคศีรษะ ทุกข์เพราะโรคในหู ทุกข์เพราะโรคปาก ทุกข์เพราะโรคฟัน
โรคไอ โรคหืด โรคไขหวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง
โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรค
กลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู. โรคหิตเปื่อย โรคหิตด้าน โรคหูด
โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน
โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมี
เสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธ
เกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิด
แต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์

เกิดแต่ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน ทุกข์
เพราะมารดาตาย ทุกข์เพราะบิดาตาย ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย
ทุกข์เพราะพี่หญิงน้องหญิงตาย ทุกข์เพราะบุตรตาย ทุกข์เพราะธิดาตาย
ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์
ทุกข์เพราะความฉิบหายอันเกิดแต่โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล
ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุเกลียด
อยู่.

[903] คำว่า ซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า ความว่า ที่ใดเป็นที่นั่ง
คือเตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดด้วยหญ้า เครื่องลาดด้วยใบไม้
เครื่องลาดด้วยฟาง ที่นั้นเรียกว่าที่นั่ง ที่นั่งนั้น ว่าง เปล่า สงัด เงียบ
จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย ว่าง เปล่า สงัด เงียบจากการได้ยินเสียง
ไม่เป็นที่สบาย ฯลฯ ว่าง เปล่า สงัด เงียบจากเบญจกามคุณไม่เป็นที่
สบาย เมื่อภิกษุซ่องเสพ ซ่องเสพเสมอ เสพอาศัย ซ่องเสพเฉพาะที่
นั่งนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อภิกษุซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า.
[904] คำว่า รุกขมูล สุสาน ความว่า รุกขมูล คือโคนต้นไม้
สุสานคือป่าช้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รุกขมูล สุสาน.
[905] คำว่า หรือที่นั่งในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย ความว่า
บรรพตคือภูเขา กันทระคือซอก คิริคุหาคือถ้ำในภูเขา ท้องภูเขาแห่ง
ภูเขาทั้งหลาย เรียกว่า ระหว่างภูเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หรือที่นั่ง
ในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงทูลถามว่า
เมื่อภิกษุเกลียดอยู่ ซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า รุกขมูล
สุสาน หรือที่นั่งในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย.

[906] ในที่นอนทั้งหลายอันสูงและต่ำ ภิกษุร้องอยู่ เพราะ
ในที่นั้นมีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่
พึงหวั่นไหว ในที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงก้อง.


ว่าด้วยที่นอนสูงต่ำ


[907] คำว่า อันสูงและต่ำ ในคำว่า ในที่นอนอันสูงและต่ำ
ความว่า สูงและตำ คือเลวประณีต ดีและชั่ว เสนาสนะ คือวิหาร
เรือนมีหลังคาแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ เรียกว่า ที่นอน ในคำว่า
ในที่นอนทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ในที่นอนทั้งหลายอันสูง
และต่ำ.

[908] คำว่า ร้องอยู่ ในคำว่า ภิกษุร้องอยู่ เพราะในนั้น
มีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว
ความว่า ภิกษุร้อง เรียกว่า บันลือ ออก
เสียงอยู่. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า อารมณ์อันน่าหวาดเสียว มีเท่าไร มี
อย่างไร มีประมาณเท่าไร มีกำหนดเท่าไร มีมากเท่าไร ชื่อว่าอารมณ์
น่าหวาดเสียวเหล่านั้น คือราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว
หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว
หรือคนที่เตรียมทำกรรมชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุร้องอยู่ เพราะ
ในที่นั้นมีอารมณ์อันน่าหวาดเสียว.
[909] คำว่า อารมณ์อันน่าหวาดเสียว ในคำว่า อันเป็นเหตุ
ให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว
ความว่า ภิกษุเห็นหรือได้ยินแล้วซึ่งอารมณ์อันน่า
หวาดกลัวเหล่าใด อันเป็นเหตุให้ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว ไม่สะทกสะท้าน
ไม่ครั่นคร้าม ไม่สะดุ้ง ไม่หวาดเสียว ไม่ตกใจ ไม่กลัว ไม่ถึงความ