เมนู

บอก พูด แสดง แถลง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกปุถุชนทั้งพวก
สมณะและพราหมณ์พึงกล่าวโดยโทษใด.

ว่าด้วยพระอรหันต์ไม่มีโทษห้อมล้อม


[431] คำว่า นั้น ในคำว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น
ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่าความห้อมล้อม ได้แก่ความห้อมล้อม 2
อย่าง คือ ความห้อมล้อมแห่งตัณหา 1 ความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ 1 ฯลฯ
นี้ข้อว่าความห้อมล้อมแห่งตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ.
บุคคลนั้นละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ
เสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อม
แห่งทิฏฐิเสียแล้ว จึงไม่ทำตัณหาและทิฏฐิออกหน้า คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหา
เป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็น
ธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่เป็นผู้อันตัณหาหรือ
ทิฏฐิห้อมล้อมเที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น.
[432] คำว่า ตสฺมา ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่
หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย
ความว่า เพราะเหตุนั้น เพราะการณะ
นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น บุคคลนั้นย่อม
ไม่หวั่นไหว คือ ไม่โยกโคลง ไม่เอน ไม่เอียง ไม่สะท้าน ไม่สะเทือน
ในเพราะวาทะ ในเพราะอุปวาทะทั้งหลาย คือ เพราะความนินทา
ติเตียน ความไม่สรรเสริญ ไม่ยกย่องคุณความดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะว่าวาทะทั้งหลาย เพราะ-
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าวโดย
โทษใด โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย.

[433] บุคคลนั้นเป็นมุนี ปราศจากความกำหนัด ไม่ตระหนี่
ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความ
เป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา เป็น
ผู้ไม่มีความกำหนัด ย่อมไม่ถึงความกำหนัด.

[434] ตัณหาเรียกว่า ความกำหนัด ในคำว่า ปราศจากความ
กำหนัด ไม่ตระหนี่
ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ
อกุศลมูล ความกำหนัดนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว
ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นเรียกว่าผู้ปราศ-
จากความกำหนัด. บุคคลนั้นไม่กำหนัด ไม่ยินดี ไม่หลง ไม่ติดใจ เป็น
ผู้ที่มีความกำหนัดปราศไป กำจัด คลายออก ปล่อย สละคืนแล้ว ในรูป
ฯลฯ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบ
ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้หายหิว ดับแล้ว เย็นแล้ว เป็นผู้มีตนเป็นดัง
พรหมเสวยสุขอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากความกำหนัด.
ชื่อว่า ความตระหนี่ ในคำว่า ไม่ตระหนี่ ได้แก่ความตระหนี่ 5
ประการ คือ ความตระหนี่อาวาส ความตระหนี่สกุล ความตระหนี่ลาภ
ความตระหนี่วรรณะ ความตระหนี่ธรรม ความตระหนี่ ฯลฯ ความ
หวงไว้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่. ความตระหนี่นั้น อันบุคคลใดละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

บุคคลนั้น เรียกว่า ไม่ตระหนี่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปราศจากความ
กำหนัด ไม่ตระหนี่.
[435] คำว่า มุนี ในคำว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อมไม่กล่าว
ในความเป็นผู้สูงกว่าเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวใน
ความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา
ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรม
เป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี บุคคลผู้เป็น
มุนี ย่อมไม่กล่าว คือ ไม่บอก ไม่พูด ไม่แสดง ไม่แถลงว่า เราเป็น
ผู้ดีกว่าเขาบ้าง เราเป็นผู้เสมอเขาบ้าง เราเป็นผู้เลวกว่าเขาบ้าง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลนั้นเป็นมุนี ย่อมไม่กล่าวในความเป็นผู้สูงกว่าเขา
ไม่กล่าวในความเป็นผู้เสมอเขา ไม่กล่าวในความเป็นผู้ต่ำกว่าเขา.

ว่าด้วยความกำหนด 2 อย่าง


[436] ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด
ย่อมไม่ถึงความกำหนด ได้แก่ความกำหนด 2 อย่าง คือ ความกำหนด
ด้วยตัณหา 1 ความกำหนดด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วย
ตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความกำหนดด้วยทิฏฐิ. บุคคลนั้นละความกำหนด
ด้วยตัณหา สละคืนความกำหนดด้วยทิฏฐิเสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความ
กำหนดด้วยตัณหา สละความกำหนดด้วยทิฏฐิ จึงย่อมไม่ถึง คือ ย่อมไม่
เข้าถึง ไม่เข้าไปถึง ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งความกำหนดด้วย
ทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมไม่ถึงความกำหนด.
ชื่อว่า ความกำหนด ในคำว่า เป็นผู้ไม่มีความกำหนด ได้แก่