เมนู

ด้วยไฟคือญาณ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้แล้ว จึงชื่อว่า
ผู้ไม่หลอกลวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระคณาจารย์


[898] คำว่า ผู้มาเป็นพระคณาจารย์ ความว่า พระผู้มีพระภาค-
เจ้าชื่อว่า คณี เพราะอรรถว่า มีคณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า เป็นคณี
เพราะอรรถว่า เป็นพระคณาจารย์ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า เป็น
พระศาสดาของคณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงบริหาร
คณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า พระองค์ตรัสสอนคณะ ชื่อว่า เป็น
คณี เพราะอรรถว่า พระองค์ทรงพร่ำสอนคณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะ
อรรถว่า พระองค์มีความองอาจเสด็จเข้าไปสู่คณะ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะ
อรรถว่า คณะย่อมฟังด้วยดีต่อพระองค์ เงี่ยโสตลงฟัง เข้าไปตั้งจิตเพื่อ
ความรู้ ชื่อว่า เป็นคณี เพราะอรรถว่า พระองค์ยังคณะให้ออกจากอกุศล
ให้ตั้งอยู่เฉพาะในกุศล. ชื่อว่า เป็นคณีของคณะภิกษุ ชื่อว่า เป็นคณีของ
คณะภิกษุณี ชื่อว่า เป็นคณีของคณะอุบาสก ชื่อว่า เป็นคณีของคณะ
อุบาสิกา ชื่อว่า เป็นคณีของคณะพระราชา ชื่อว่า เป็นคณีของคณะ
กษัตริย์ ชื่อว่า เป็นคณีของคณะพราหมณ์ ชื่อว่า เป็นคณีของคณะแพศย์
ชื่อว่า เป็นคณีของคณะศูทร ชื่อว่า เป็นคณีของคณะเทวดา ชื่อว่า เป็น
คณีของคณะพรหม พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มีหมู่ มีคณะ เป็นพระคณา-
จารย์ เสด็จมา เข้ามา เข้ามาพร้อม ถึงพร้อมแล้วซึ่งสังกัสสนคร เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่หลอกลวง ผู้มาเป็นพระคณาจารย์.

[899] คำว่า ของคนหมู่มาก ในคำว่า ของคนหมู่มากซึ่งเนื่อง
ในศาสนานี้
ความว่า ของกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์
บรรพชิต เทวดา มนุษย์ เป็นอันมาก. คำว่า เนื่อง คือ เป็นผู้เนื่อง
มีความประพฤติเนื่องกัน เป็นผู้บำรุง เป็นศิษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ของคนหมู่มากซึ่งเนื่องในศาสนานี้.
[900] คำว่า เรามีความประสงค์ด้วยปัญหาจึงมา ความว่า
เราเป็นผู้มีความประสงค์ด้วยปัญหามาแล้ว คือเรามีความประสงค์เพื่อจะ
ทูลถามปัญหามาแล้ว เรามีความประสงค์เพื่อจะฟังปัญหามาแล้ว แม้ด้วย
เหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประสงค์ด้วยปัญหาจึงมา. อีกอย่าง
หนึ่ง ความมา ความก้าวไปเฉพาะ ความเข้าไปหา ความเข้าไปนั่งใกล้
พึงมีแก่ชนทั้งหลาย ผู้มีความต้องการด้วยปัญหา ผู้ถามปัญหา ผู้ประสงค์
เพื่อจะฟังปัญหา แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประสงค์
ด้วยปัญหาจึงมา. อีกอย่างหนึ่ง อาคม (สูตร) แห่งปัญหาของพระองค์มี
อยู่ พระองค์เป็นผู้สามารถจะตรัสถาม กล่าวแก้กับข้าพระองค์ ข้อนี้จง
เป็นภาระของพระองค์ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า เรามีความประ-
สงค์ด้วยปัญหาจึงมา เพราะเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกราบทูลว่า
ข้าพระองค์มีความประสงค์ด้วยปัญหา จึงมาถึงพระ-
พุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่อาศัย ผู้คงที่ ผู้ไม่หลอกลวง ผู้
มาเป็นพระคณาจารย์ของคนหมู่มากซึ่งเนื่องในศาสนานี้.

[901] เมื่อภิกษุเกลียดอยู่ ซ่องเสพที่นั่งอันว่างเปล่า รุกขมูล
สุสาน หรือที่นั่งในถ้ำแห่งบรรพตทั้งหลาย.

ว่าด้วยปฏิปทาของภิกษุ


[902] คำว่า เมื่อภิกษุ ในคำว่า เนื้อภิกษุเกลียดอยู่ ความว่า
เมื่อภิกษุที่เป็นกัลยาณปุถุชน หรือที่เป็นเสขชน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เมื่อภิกษุ. คำว่า เกลียดอยู่ คือ เกลียด อึดอัด ระอา เบื่อหน่าย ด้วยชาติ
ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ทุกข์ในนรก
ทุกข์ในดิรัจฉานกำเนิด ทุกข์ในเปรตวิสัย ทุกข์ในมนุษย์ ทุกข์มีความเกิด
ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความตั้งอยู่ในครรภ์เป็นมูล ทุกข์มีความคลอดจาก
ครรภ์เป็นมูล ทุกข์ที่ติดตามสัตว์ผู้เกิด ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ผู้เกิด
ทุกข์เกิดแต่ความขวนขวายของตน ทุกข์เกิดแต่ความขวนขวายของผู้อื่น
ทุกข์ที่เกิดแต่ทุกขเวทนา (ทุกขเวทนามีในกายและใจ) ทุกข์เกิดแต่สังขาร
ทุกข์เกิดแต่ความแปรปรวน ทุกข์เพราะโรคจักษุ ทุกข์เพราะโรคหู
ทุกข์เพราะโรคจมูก ทุกข์เพราะโรคลิ้น ทุกข์เพราะโรคกาย ทุกข์เพราะ
โรคศีรษะ ทุกข์เพราะโรคในหู ทุกข์เพราะโรคปาก ทุกข์เพราะโรคฟัน
โรคไอ โรคหืด โรคไขหวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง
โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรค
กลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู. โรคหิตเปื่อย โรคหิตด้าน โรคหูด
โรคละลอก โรคคุดทะราด โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน
โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมี
เสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธ
เกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิด
แต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ทุกข์