เมนู

มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่บุคคลนั้น คือ เป็นสภาพอันบุคคลนั้นละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่
บุคคลนั้น.

ว่าด้วยทิฏฐิ


[828] สัสสตทิฏฐิชื่อว่าอัตตา ในคำว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตต-
ทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ในบุคคลนั้น
ดังนี้ ย่อมไม่มี. อุจเฉททิฏฐิ
ชื่อว่านิรัตตา ย่อมไม่มี สิ่งที่ยึดถือชื่อว่า อัตตา ย่อมไม่มี สิ่งที่พึง
ปล่อยวางชื่อว่า นิรัตตา ย่อมไม่มี. สิ่งที่ยึดถือย่อมไม่มีแก่บุคคลใด สิ่ง
ที่พึงปล่อยวางก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น สิ่งที่พึงปล่อยวางย่อมไม่มีแก่บุคคลใด
สิ่งที่พึงยึดถือก็ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้เป็นพระอรหันต์ ก้าวล่วง
ความถือและปล่อยวางแล้ว ล่วงเลยความเจริญและความเสื่อมแล้ว บุคคล
นั้นอยู่จบแล้ว มีจรณะอันประพฤติแล้ว ฯลฯ ภพใหม่ ย่อมไม่มีแก่
บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่
เข้าไปได้ในบุคคลนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุตร ปศุสัตว์ ไร่นา และที่ดิน ย่อมไม่มีแก่บุคคล
นั้น อัตตทิฏฐิก็ดี นิรัตตทิฏฐิก็ดี ย่อมไม่เข้าไปได้ใน
บุคคลนั้น.

[429] พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึงกล่าว
โดยโทษใด โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น
บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย.

[430] คำว่า ปุถุชน ในคำว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและ
พราหมณ์ พึงกล่าวโดยโทษใด
ความว่า เพราะอรรถว่า กระไร จึงชื่อว่า
ปุถุชน เพราะอรรถว่า ให้กิเลสหนาเกิด เพราะอรรถว่า เป็นผู้มีสักกาย-
ทิฏฐิอันยังไม่กำจัดมาก เพราะอรรถว่า เป็นผู้เลือกหน้าศาสดามาก
เพราะอรรถว่า เป็นผู้อันคติทั้งปวง ร้อยไว้มาก เพราะอรรถว่า ย่อม
ปรุงแต่งด้วยอภิสังขารต่าง ๆ มาก เพราะอรรถว่า ย่อมลอยไปเพราะ
ห้วงกิเลสต่าง ๆ มาก เพราะอรรถว่า ย่อมเดือดร้อนเพราะกิเลส เป็น
เหตุให้เร่าร้อนต่าง ๆ มาก เพราะอรรถว่า เป็นผู้กำหนัดยินดี ชอบใจ
หลงใหล ติดใจ เกาะเกี่ยว พัวพันมากในกามคุณ 5 เพราะอรรถว่า
เป็นผู้อันนิวรณ์ 5 ร้อยรัด ปกคลุม ปิดบัง หุ้มห่อไว้มาก จึงชื่อว่า
ปุถุชน. คนพวกใดพวกหนึ่งผู้เข้าถึง ถึงพร้อมด้วยการบวชภายนอก
ศาสนานี้ ชื่อว่า สมณะ. คนพวกใดพวกหนึ่ง ผู้อ้างตนว่าเป็นผู้เจริญ
ชื่อว่า พราหมณ์. คำว่า พวกปุถุชนทั้งพวกสมณะและพราหมณ์ พึง
กล่าวโดยโทษใด
ความว่า พวกปุถุชนพึงกล่าวโดยราคะ โทสะ โมหะ
มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉาใด และพึงกล่าวโดยอนุสัยใดว่า เป็น
ผู้กำหนัด ขัดเคือง หลงใหล ผูกพัน ถือมั่น ถึงความฟุ้งซ่าน ถึง
ความไม่แน่นอน หรือถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่องปรุงแต่งเหล่านั้น อัน
บุคคลนั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุงแต่งได้แล้ว พวกปุถุชน
พึงกล่าวถึงคติโดยเหตุใดว่า บุคคลนั้นเกิดในนรก เกิดในกำเนิด
เดียรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็นสัตว์มีรูป
เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัญญีสัตว์ เป็นอสัญญีสัตว์ เป็นเนวสัญญีนาสัญญี-
สัตว์ บุคคลนั้นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะที่เป็นเครื่องกล่าว คือ

บอก พูด แสดง แถลง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกปุถุชนทั้งพวก
สมณะและพราหมณ์พึงกล่าวโดยโทษใด.

ว่าด้วยพระอรหันต์ไม่มีโทษห้อมล้อม


[431] คำว่า นั้น ในคำว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น
ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ. ชื่อว่าความห้อมล้อม ได้แก่ความห้อมล้อม 2
อย่าง คือ ความห้อมล้อมแห่งตัณหา 1 ความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ 1 ฯลฯ
นี้ข้อว่าความห้อมล้อมแห่งตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่าความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ.
บุคคลนั้นละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อมแห่งทิฏฐิ
เสียแล้ว เพราะเป็นผู้ละความห้อมล้อมแห่งตัณหา สละคืนความห้อมล้อม
แห่งทิฏฐิเสียแล้ว จึงไม่ทำตัณหาและทิฏฐิออกหน้า คือ เป็นผู้ไม่มีตัณหา
เป็นธงชัย ไม่มีตัณหาเป็นธงยอด ไม่มีตัณหาเป็นใหญ่ ไม่มีทิฏฐิเป็น
ธงชัย ไม่มีทิฏฐิเป็นธงยอด ไม่มีทิฏฐิเป็นใหญ่ ไม่เป็นผู้อันตัณหาหรือ
ทิฏฐิห้อมล้อมเที่ยวไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โทษนั้นไม่ห้อมล้อมบุคคลนั้น.
[432] คำว่า ตสฺมา ในคำว่า เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่
หวั่นไหวในเพราะวาทะทั้งหลาย
ความว่า เพราะเหตุนั้น เพราะการณะ
นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น บุคคลนั้นย่อม
ไม่หวั่นไหว คือ ไม่โยกโคลง ไม่เอน ไม่เอียง ไม่สะท้าน ไม่สะเทือน
ในเพราะวาทะ ในเพราะอุปวาทะทั้งหลาย คือ เพราะความนินทา
ติเตียน ความไม่สรรเสริญ ไม่ยกย่องคุณความดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะว่าวาทะทั้งหลาย เพราะ-
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า