เมนู

หลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุเท่านี้ บุคคลชื่อว่า
เป็นผู้งด เว้น เว้นขาด เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด
ไม่เกี่ยวข้องอภิสังขาร เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า บุคคลนั้นงดเว้นแล้วจากอภิสังขาร.
[877] คำว่า ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง ความว่า
ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ กิเลสทั้งหลาย อันก่อให้เกิดภัย เพราะ
ผู้นั้นเป็นผู้ละราคะ อันก่อให้เกิดภัย ฯลฯ ละกิเลสทั้งหลายอันก่อให้เกิด
ภัยเสียแล้ว ชื่อว่าย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง คือ ย่อมเห็นความ
ไม่มีภัย ไม่มีเสนียด ไม่มีอุบาทว์ ไม่มีอุปสรรค ความระงับ ในที่ทุก
สถาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
อภิสังขารอะไร ๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว
รู้แจ้งอยู่ บุคคลนั้น งดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ย่อมเห็น
ความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง.

[878] มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวก
คนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ผู้
ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้ ).


ว่าด้วยคุณสมบัติของมุนี


[879] คำว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกตนที่เสมอกัน ใน

พวกคนที่ตำกว่า ในพวกตนที่สูงกว่า ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ
ได้แก่ ปัญญา ความรู้ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง และตัณหา
เพียงดังข่ายดำรงอยู่ บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี มุนีย่อมไม่พูดถึง ไม่กล่าว ไม่
บอก ไม่แสดง ไม่แถลง ว่าเราดีกว่าเขา เราเสมอเขา หรือว่าเราเลว
กว่าเขา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอ
กัน ในพวกคนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า.
[880] คำว่า เป็นผู้สงบ ในคำว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจาก
ความตระหนี่
ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เข้าไปสงบ เข้าไปสงบวิเศษ
ดับแล้ว ระงับแล้ว เพราะราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อกุสลาภิสังขาร
ทั้งปวง เป็นสภาพสงบ สงบเงียบ เข้าไปสงบวิเศษ ถูกเผา ดับ ปราศไป
ระงับแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ.
คำว่า ปราศจากความตระหนี่ ความว่า ความตระหนี่ 5 ประการ
คือ ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความหวงไว้ นี้เรียกว่า ความตระหนี่
ความตระหนี่นั้น อันมุนีใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควร
เกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้นเรียกว่า ผู้ปราศจากความ
ตระหนี่ หายจากความตระหนี่ กำจัดความตระหนี่ สำรอกความตระหนี่
พ้นความตระหนี่ ละความตระหนี่ สละคืนความตระหนี่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากความตระหนี่.
[881] คำว่า ย่อมไม่ยึดถือ ในควานว่า ย่อมไม่ยึดถือ ย่อม
ไม่สลัด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้ ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ยึดถือ
ไม่ถือเอา ไม่เข้าไปถือ ไม่ถือ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ซึ่งรูป เวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ยึดถือ.

คำว่า ย่อมไม่สลัด ความว่า มุนีนั้น ย่อมไม่ละ ไม่บรรเทา
ไม่ทำให้สิ้นไป ไม่ให้ถึงความไม่มี ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ย่อมไม่สลัด. คำว่า ภควา เป็นคำเครื่องกล่าวโดยเคารพ ฯลฯ.
บทว่า ภควา นี้เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า
มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวก
คนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ
ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้).

จบอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ 15

อรรถกถาอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ 15


พึงทราบวินิจฉัยในอัตตทัณฑสุตตนิทเทสที่ 15 ดังต่อไปนี้.
พึงทราบความในคาถาที่หนึ่ง มีคำเริ่มต้นว่า อตฺตทณฺฑา ภยํ ชาตํ
ภัยเกิดแต่อาชญาของตน ดังนี้.
ภัยใด เป็นไปในโลกปัจจุบัน หรือเป็นไปในสัมปรายภพเกิดแล้ว
ภัยนั้นทั้งหมดเกิดแต่อาชญาของตน คือเกิดแต่เหตุประพฤติชั่วของตน
เมื่อเป็นอย่างนี้ พวกท่านจงดูชนที่ทุ่มเถียงกัน คือจงดูชนมีเจ้าศากยะ
เป็นต้นนี้ ทุ่มเถียงกันและกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงอบรมชน