เมนู

สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความติดใจนั้น อันผู้ใดละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
ผู้นั้น เรียกว่าเป็นผู้ไม่ตามติดใจ ผู้นั้นไม่ติดใจ คือไม่ถึงความติดใจ
ไม่หลง ไม่หมกมุ่นในรูป ฯลฯ ในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่
ทราบและธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง คือเป็นผู้ปราศจากความติดใจ หายจาก
ความติดใจ สละความติดใจ สำรอกความติดใจ ปล่อยความติดใจ ละ
ความติดใจ สละคืนความติดใจแล้ว ปราศจากความกำหนัด หายจาก
ความกำหนัด สละความกำหนัด สำรวมความกำหนัด ปล่อยความกำหนัด
ละความกำหนัด สละคืนความกำหนัดแล้ว หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว
เป็นผู้เสวยสุขมีตนดุจพรหมอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเป็นผู้ไม่
ริษยา ไม่ตามติดใจ.

ว่าด้วยผู้ไม่หวั่นไหว


[871] คำว่า ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง
ความว่า ตัณหา เรียกว่าความหวั่นไหว ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น อันผู้ใดละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือ
ญาณ ผู้นั้น เรียกว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่หวั่นไหว
เพราะละความหวั่นไหวเสียแล้ว ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว เอนเอียง ดิ้นรน
ยุ่ง วุ่นไป แม้ในลาภ แม้ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความ
เสื่อมยศ แม้ในความสรรเสริญ แม้ในความนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ไม่หวั่นไหว. คำว่า เป็นผู้เสมอในอายตนะ

ทั้งปวง ความว่า อายตนะ 12 คือ จักษุ รูป ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์
เรียกว่าอายตนะทั้งปวง เมื่อใด ฉันทราคะในอายตนะภายในและภายนอก
อันบุคคลละ ตัดรากเสียแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความ
ไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เมื่อนั้น ผู้นั้น
เรียกว่าเป็นผู้เสมอ คงที่ วางตนเป็นกลาง เพิกเฉย ในอายตนะทั้งปวง
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง.
[872] คำว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอก
อานิสงส์นั้น
ความว่า เราถูกถาม สอบถาม ขอให้บอก อัญเชิญให้
บอก ขอให้ประสาทถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์ 4 นี้
คือ บอก ชี้แจง ฯลฯ ประกาศว่า บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตาม
ติดใจ ไม่หวั่นไหว เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง ดังนี้ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มีความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลเป็นผู้ไม่ริษยา ไม่ตามติดใจ ไม่หวั่นไหว
เป็นผู้เสมอในอายตนะทั้งปวง เราถูกถามถึงบุคคลผู้ไม่มี
ความหวั่นไหว ก็บอกอานิสงส์นั้น.

[873] อภิสังขารอะไร ๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว
รู้แจ้งอยู่ บุคคลนั้น งดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ย่อมเห็น
ความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง.

[874] ตัณหา เรียกว่า ความหวั่นไหว ในคำว่า แก่บุคคล
ผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่
ได้แก่ ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ

อกุศลมูล ตัณหาอันเป็นความหวั่นไหวนั้น อันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ
ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ผู้นั้น เรียกว่า
ผู้ไม่หวั่นไหว บุคคลชื่อว่าไห่หวั่นไหว เพราะละความหวั่นไหวเสียแล้ว
ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว เอนเอียง ดิ้นรน ยุ่ง วุ่นไป แม้ในลาภ แม้
ในความเสื่อมลาภ แม้ในยศ แม้ในความเสื่อมยศ แม้ในความสรรเสริญ
แม้ในความนินทา แม้ในสุข แม้ในทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่
บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว. คำว่า รู้แจ้งอยู่ ความว่า รู้ รู้ทั่ว รู้แจ้งเฉพาะ
แทงตลอดว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ฯลฯ สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว รู้แจ้งอยู่.
[875] คำว่า อภิสังขารอะไร ๆ ย่อมไม่มี ความว่า ปุญญาภิ-
สังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เรียกว่า อภิสังขาร. ปุญญา-
ภิสังขารก็ดี อปุญญาภิสังขารก็ดี อาเนญชาภิสังขารก็ดี อันบุคคลนั้นละ
ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง
มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุเท่านี้ อภิสังขารทั้งหลายก็
ไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือเป็นสภาพอันบุคคลนั้นละ ตัดขาด
สงบ ระงับแล้ว ทำให้ไม่ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า อภิสังขารอะไร ๆ ย่อมไม่มี.
[876] คำว่า บุคคลนั้นงดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ความว่า
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เรียกว่า อภิสังขาร.
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร อันบุคคลนั้นละ
ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภาย-

หลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุเท่านี้ บุคคลชื่อว่า
เป็นผู้งด เว้น เว้นขาด เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด
ไม่เกี่ยวข้องอภิสังขาร เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า บุคคลนั้นงดเว้นแล้วจากอภิสังขาร.
[877] คำว่า ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง ความว่า
ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ กิเลสทั้งหลาย อันก่อให้เกิดภัย เพราะ
ผู้นั้นเป็นผู้ละราคะ อันก่อให้เกิดภัย ฯลฯ ละกิเลสทั้งหลายอันก่อให้เกิด
ภัยเสียแล้ว ชื่อว่าย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง คือ ย่อมเห็นความ
ไม่มีภัย ไม่มีเสนียด ไม่มีอุบาทว์ ไม่มีอุปสรรค ความระงับ ในที่ทุก
สถาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมเห็นความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
อภิสังขารอะไร ๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่หวั่นไหว
รู้แจ้งอยู่ บุคคลนั้น งดเว้นแล้วจากอภิสังขาร ย่อมเห็น
ความปลอดโปร่งในที่ทั้งปวง.

[878] มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกคนที่เสมอกัน ในพวก
คนที่ต่ำกว่า ในพวกคนที่สูงกว่า มุนีนั้นเป็นผู้สงบ ผู้
ปราศจากความตระหนี่ ย่อมไม่ยึดถือ ย่อมไม่สลัด
(พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดังนี้ ).


ว่าด้วยคุณสมบัติของมุนี


[879] คำว่า มุนีย่อมไม่พูดถึงตนในพวกตนที่เสมอกัน ใน