เมนู

ว่าด้วยความอาศัย


[418] คำว่า ผู้ใด ในคำว่า ผู้ใดไม่มีความอาศัย คือพระ-
อรหันตขีณาสพ. ชื่อว่า ความอาศัย ได้แก่ นิสัย 2 ประการ คือ
ตัณหานิสัย 1 ทิฏฐินิสัย 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่า
ทิฏฐินิสัย ฯลฯ ผู้นั้น ละตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เพราะละตัณหานิสัย
สละคืนทิฏฐินิสัย ความอาศัยมิได้มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือ
ความอาศัยนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้
ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใด
ไม่มีความอาศัย.
[419] คำว่า รู้แล้ว ในคำว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ความว่า
รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง...สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์....ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ
รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า สิ่งใด
สิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา.
คำว่า ไม่อาศัย ได้แก่ นิสัย 2 ประการ คือตัณหานิสัย 1
ทิฏฐินิสัย 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่าตัณหานิสัย ฯลฯ นี้ชื่อว่าทิฏฐินิสัย ผู้ใดละ
ตัณหานิสัย สละคืนทิฏฐินิสัย เป็นผู้ไม่อาศัย ไม่พัวพัน ไม่เข้าถึง
ไม่ติดใจ ไม่น้อมใจไป ออก สละ พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งจักษุ
หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ สกุล
คณะ อาวาส ฯลฯ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ที่ทราบ ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้ง เป็นผู้มีจิตทำให้ปราศจากแดงกิเลสอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย.

ว่าด้วยตัณหา


[420] ชื่อว่า ตัณหา ในคำว่า ไม่มีตัณหาในภพและในความ
ปราศจากภพ
คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา. คำว่า ใด คือ พระอรหันตขีณาสพ.
คำว่า ในภพ คือ ในภวทิฏฐิ. คำว่า ในความปราศจากภพ คือ ใน
วิภวทิฏฐิ. คำว่า ในภพ คือ ในสัสสตทิฏฐิ. คำว่า ในความปราศจาก
ภพ
คือ ในอุจเฉททิฏฐิ. คำว่า ในภพ คือ ในความเกิดบ่อย ๆ ใน
ความไปบ่อย ๆ ในอุปบัติบ่อย ๆ ในปฏิสนธิบ่อย ๆ ในอันให้อัตภาพ
เกิดบ่อยๆ ตัณหาย่อมไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้แก่ผู้ใด คือตัณหา
นั้นอันผู้ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว
ด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ใดไม่มีตัณหาในภพและในความ
ปราศจากภพ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ผู้ใดไม่มีความอาศัย รู้ธรรมแล้วไม่อาศัย ไม่มี
ตัณหาในภพ และในความปราศจากภพ.

[431] เรากล่าวบุคคลนั้นผู้ไม่เพ่งในกามทั้งหลายว่า เป็น
ผู้เข้าไปสงบ กิเลสเป็นเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ย่อม
ไม่มีแก่บุคคลนั้น บุคคลนั้นได้ข้ามตัณหา อันชื่อว่า
วิสัตติกาแล้ว.

[422] คำว่า เรากล่าวบุคคลนั้น...ว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ ความ
ว่า เรากล่าว บอก พูด แสดง แถลง ซึ่งบุคคลนั้นว่าเป็นผู้สงบ