เมนู

ว่าด้วยเรียกตัณหาว่าเป็นห้วงน้ำใหญ่


[838] ตัณหา เรียกว่า ความกำหนัด ในคำว่า เราย่อมกล่าว
ความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่
ได้แก่ราคะ สารคะ ฯลฯ อภิชฌา
โลภะ อกุศลมูล ตัณหา เรียกว่าห้วงน้ำใหญ่ ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็น
ห้วงน้ำใหญ่
ความว่า เราย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง
เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่.
[839] ตัณหา เรียกว่า ความว่องไว ในคำว่า กล่าวความ
ว่องไวว่า เป็นความปรารถนา
ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ
อกุศลมูล ตัณหา เรียกว่าความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า กล่าวความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา
ความว่า เราย่อมกล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก
ทำให้ตื้น ประกาศความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า กล่าวความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา.
[840] ตัณหา เรียกว่า อารมณ์ ในคำว่า กล่าวอารมณ์ว่า เป็น
ความกำหนด
ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ตัณหา เรียกว่าความกำหนด ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ
อกุศลมูล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าวอารมณ์ว่า เป็นความกำหนด.

ว่าด้วยเปรียบกามเหมือนเปือกตม


[841] คำว่า เปือกตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดยยาก ความ

ว่า เปือกตมคือกาม หล่มคือกาม กิเลสคือกาม โคลนคือกาม ความ
กังวลคือกาม เป็นสภาพล่วงได้โดยยาก ก้าวล่วงได้โดยยาก ข้ามได้ยาก
ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวพ้นยาก ล่วงเลยได้ยาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เปือก
ตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า
เราย่อมกล่าวความกำหนัดว่า เป็นห้วงน้ำใหญ่ กล่าว
ความว่องไวว่า เป็นความปรารถนา กล่าวอารมณ์ว่า
เป็นความกำหนด เปือกตมคือกามเป็นสภาพล่วงได้โดย
ยาก.

[842] ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ เป็นพราหมณ์ตั้งอยู่
บนบก ผู้นั้นสลัดสิ่งทั้งปวง ผู้นั้นแลเรากล่าวว่า เป็นผู้
สงบ.

[883] คำว่า ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ ความว่า ไม่ก้าว
ล่วงจากสัจวาจา ไม่ก้าวล่วงจากสัมมาทิฏฐิ ไม่ก้าวล่วงจากอริยมรรคมี
องค์ 8. คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่าโมนะ1 ได้แก่ปัญญา ความรู้
ทั่ว ๆ ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย บุคคลนั้น
ชื่อว่ามุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เป็นมุนีไม่ก้าวล่วงจากสัจจะ.

ว่าด้วยอมตนิพพานเรียกว่าบก


[844] อมตนิพพาน เรียกว่า บก ในคำว่า เป็นพราหมณ์ตั้ง
อยู่บนบก
ได้แก่ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง

1. ดูข้อ 698.