เมนู

ความไม่มีซึ่งความดูหมิ่น พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก
พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น.

ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน


[826] คำว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน ความว่า
นรชนบางคนในโลกนี้ ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไป
ตั้งไว้ซึ่งน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไหว้พระเจดีย์ บูชาด้วยเครื่องหอมและ
ดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำประทักษิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญอย่าง
ใดอย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุ ก็ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งคติ ไม่บำเพ็ญ
เพราะเหตุแห่งอุปบัติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ ไม่บำเพ็ญ
เพราะเหตุแห่งภพ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งสงสาร ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุ
แห่งวัฏฏะ เป็นผู้มีความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้ม
โอนไปในนิพพาน ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น แม้เพราะเหตุอย่างนี้
ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.
อนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้ง-
ปวง น้อมจิตเข้าไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาติใด คือ ความสงบแห่ง
สังขารทั้งปวง สละคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอก
ตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ธรรมชาติ
นี้สงบ ประณีต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจ
น้อมไปในนิพพาน.

สมจริงดังพระพุทธภาษิตว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่ให้ทานเพราะเหตุแห่งสุข
อันก่อให้เกิดอุปธิ แต่บัณฑิตเหล่านั้นย่อมให้ทานเพื่อ
ความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อนิพพานอันไม่มีภพต่อไป โดย
ส่วนเดียว บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่เจริญฌานเพราะ
เหตุแห่งสุขอันก่อให้เกิดอุปธิ เพื่อภพต่อไป แต่บัณฑิต
เหล่านั้น ย่อมเจริญฌานเพื่อความหมดสิ้นอุปธิ เพื่อ
นิพพานอันไม่มีภพต่อไปโดยสิ้นเดียว บัณฑิตเหล่านั้น
มุ่งนิพพาน มีจิตเอนไปในนิพพาน น้อมจิตไปในนิพพาน
ย่อมให้พาน บัณฑิตเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้มีนิพพานเป็น
เบื้องหน้า เหมือนแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่ทะเลฉะนั้น.

เพราะฉะนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความ
ย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความ
ดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.

[827] นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ไม่พึงทำความเสน่หา
ในรูป พึงกำหนดรู้มานะ และพึงประพฤติเว้นจากความ
ผลุนผลัน.

ว่าด้วยมุสาวาทมีด้วยอาดาร 3 ฯลฯ


[828] มุสาวาท เรียกว่า ความพูดเท็จ ในคำว่า นรชนพึง
ออกจากความพูดเท็จ
บุคคลบางคนในโลกนี้ อยู่ในที่ประชุม อยู่ใน
ประชุมชน อยู่ในท่ามกลางญาติ อยู่ในท่ามกลางข้าราชการ หรืออยู่ใน
ราชสกุล เขาถูกนำไปถามเป็นพยานว่า บุรุษผู้เจริญ มาเถิด ท่านรู้สิ่งใด
ก็จงบอกสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่ารู้บ้าง เมื่อรู้ก็บอกว่าไม่รู้บ้าง
เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าเห็นบ้าง เมื่อเห็นก็บอกว่าไม่เห็นบ้าง เป็นผู้กล่าว
คำเท็จทั้งที่รู้ เพราะเหตุตนบ้าง เพราะเหตุผู้อื่นบ้าง เพราะเห็นแก่อามิส
เล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ นี้เรียกว่า ความพูดเท็จ.
อีกอย่างหนึ่ง มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ 3 อาการ อาการ 5
อาการ 6 อาการ 7 อาการ 8 ฯลฯ มุสาวาทย่อมมีด้วยอาการ 8 นี้.
คำว่า นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ ความว่า ไม่พึงดำเนิน ไม่พึง
ประกอบ ไม่พึงนำเข้าไปด้วยความพูดเท็จ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป
ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความพูดเท็จ พึงเป็นผู้งด เว้น เว้น เฉพาะ ออก
สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความพูดเท็จ พึงเป็นผู้มีจิตปราศจาก
แดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนพึงออกจากความพูดเท็จ.
[829] ชื่อว่ารูป ในคำว่า ไม่พึงทำความเสน่หาในรูป คือ
มหาภูตรูป และอุปาทายรูปแห่งมหาภูตรูป 4. คำว่า ไม่พึงทำความเสน่หา
ในรูป
ความว่า ไม่ควรทำความเสน่หา ไม่ควรทำความพอใจ ไม่ควรทำ
ความรัก ไม่ควรทำความกำหนัดในรูป คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดพร้อม
ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น ชื่อว่า ไม่พึงทำความ
เสน่หาในรูป.