เมนู

จึงชื่อว่า มุนีมุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามกหวงแหน
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีมายา
ปราศจากคำส่อเสียด มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้น
ความโลภอันลามก และความหวงแหน.

[822] นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความ
ย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความ
ดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีใจน้อม ปรนนิพพาน.


ว่าด้วยความเกียจคร้าน


[823] ชื่อว่า ความหลับ ในคำว่า พึงปราบความหลับ ความ
เกียจคร้าน ความย่อท้อ
คือความที่กายเป็นไข้ ความที่กายไม่ควรแก่การ
งาน อาการที่หยุด อาการที่พัก อาการที่พักผ่อน ณ ภายใน ความง่วง
ความหลับ กิริยาที่โงกง่วง กิริยาที่หลับ ความเป็นผู้หลับ. ชื่อว่าความ
เกียจคร้าน คือความคร้าน กิริยาที่คร้าน ความเป็นผู้มีใจคร้าน ความ
เกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ความเป็นผู้เกียจคร้าน. ชื่อว่าความย่อท้อ
คือความที่จิตเป็นไข้ ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน กิริยาที่หดหู่ กิริยา
ย่นย่อ ความย่อท้อ กิริยาที่ย่อท้อ ความที่จิตย่อท้อ ความหดหู่ กิริยา
ที่หดหู่ ความที่จิตหดหู่. คำว่า นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจ-
คร้าน ความย่อท้อ
ความว่า นรชนพึงปราบปราม ครอบงำ กดขี่

กำจัด ซึ่งความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความย่อท้อ.
[824] ความประมาท ในคำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท
ความกล่าวถึง ความปล่อย หรือความเพิ่มเติมซึ่งความปล่อยซึ่งจิตใน
เบญจกามคุณ เพราะกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือการไม่ทำ
ความเอื้อเฟื้อ การไม่ทำความติดต่อ การทำความหยุดเนือง ๆ ความ
ประพฤติย่อหย่อน ความปลงฉันทะ ความทอดธุระ ความไม่ซ่องเสพ
ความไม่เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความไม่ตั้งใจ ความไม่หมั่นประกอบ
ในการเจริญธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล ชื่อว่าความประมาท. ความประมาท
กิริยาที่ประมาท ความเป็นผู้ประมาท เห็นปานนี้ เรียกว่าความประมาท.
คำว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ความว่า ไม่พึงร่วม ไม่พึงอยู่อาศัย
ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยความประมาท คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้
ถึงความไม่มีซึ่งความประมาท พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัด
ออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความประมาท พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดง
กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท.
[825] ชื่อ ความดูหมิ่น ในคำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น
มีอธิบายว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดย
โคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ความถือตัว กิริยาที่
ถือตัว ความเป็นผู้ถือตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น ความถือตัวดังว่า
ธงชัย ความประคองจิตไว้ ความที่จิตใคร่เป็นดังว่าธงยอดเห็นปานนี้
เรียกว่า ความดูหมิ่น. คำว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น ความว่า ไม่พึง
ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ในความดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึง

ความไม่มีซึ่งความดูหมิ่น พึงเป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก
พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องความดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงตั้งอยู่ในความดูหมิ่น.

ว่าด้วยทำบุญต้องมุ่งนิพพาน


[826] คำว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน ความว่า
นรชนบางคนในโลกนี้ ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถกรรม เข้าไป
ตั้งไว้ซึ่งน้ำดื่มน้ำใช้ กวาดบริเวณ ไหว้พระเจดีย์ บูชาด้วยเครื่องหอมและ
ดอกไม้ที่พระเจดีย์ ทำประทักษิณพระเจดีย์ บำเพ็ญกุศลที่ควรบำเพ็ญอย่าง
ใดอย่างหนึ่งอันเป็นไตรธาตุ ก็ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งคติ ไม่บำเพ็ญ
เพราะเหตุแห่งอุปบัติ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งปฏิสนธิ ไม่บำเพ็ญ
เพราะเหตุแห่งภพ ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุแห่งสงสาร ไม่บำเพ็ญเพราะเหตุ
แห่งวัฏฏะ เป็นผู้มีความประสงค์ในอันพรากออกจากทุกข์ มีใจน้อมโน้ม
โอนไปในนิพพาน ย่อมบำเพ็ญกุศลทั้งปวงนั้น แม้เพราะเหตุอย่างนี้
ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพาน.
อนึ่ง นรชนบังคับจิตให้กลับจากสังขารธาตุอันเป็นไปในไตรภูมิทั้ง-
ปวง น้อมจิตเข้าไปในอมตธาตุว่า ธรรมชาติใด คือ ความสงบแห่ง
สังขารทั้งปวง สละคืนแห่งอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอก
ตัณหา ความดับตัณหา ความออกจากตัณหาเป็นเครื่องร้อยรัด ธรรมชาติ
นี้สงบ ประณีต แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่า นรชนพึงเป็นผู้มีใจ
น้อมไปในนิพพาน.