เมนู

สัมมาทิฏฐิประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็น
ผู้มีสัจจะ. คำว่า ไม่คะนอง ความว่า ความคะนองมี 3 อย่าง คือความ
คะนองทางกาย 1 ความคะนองทางวาจา 1 ความคะนองทางจิต 1 ฯลฯ
นี้ชื่อว่าความคะนองทางจิต ความคะนอง 3 อย่างนี้ อันบุคคลใดละ
ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ
บุคคลนั้น เรียกว่าผู้ไม่คะนอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงเป็นผู้มี
สัจจะ ไม่คะนอง.


ว่าด้วยความเป็นผู้มีมายา


[820] ความประพฤติลวงเรียกว่า มายา ในคำว่า ไม่มีมายา
ปราศจากคำส่อเสียด
ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วย
กาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ย่อมตั้งความปรารถนา
ลามกเพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา
(ว่าเราประพฤติชั่ว) ย่อมดำริว่า ใคร ๆ อย่ารู้จักเรา คิดว่า ใคร ๆ อย่า
รู้จักเรา ดังนี้ แล้วก็กล่าววาจา (ว่าตนไม่มีความประพฤติชั่ว) คิดว่า
ใครๆ อย่ารู้จักเรา ดังนี้แล้วก็บากบั่นด้วยกาย (เพื่อจะปกปิดความประ-
พฤติชั่วของตน).
ความลวง ความเป็นผู้ลวง กิริยาเป็นเครื่องปกปิด กิริยาที่ซ่อน
ความจริง กิริยาบังความผิด กิริยาที่ซ่อนความผิด กิริยาที่พรางความชั่ว
กิริยาที่ซ่อนความชั่ว ความทำให้ลับ ความไม่เปิดเผย กิริยาที่คลุมความผิด
กิริยาที่ชั่ว นี้เรียกว่ามายา. มายานี้ อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ
ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น

เรียกว่า ผู้ไม่มีมายา. ชื่อว่า คำส่อเสียด ในคำว่า ปราศจากคำส่อเสียด
ความว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด ฯลฯ บุคคล
มุ่งให้เขาแตกกันย่อมนำคำส่อเสียดเข้าไปอย่างนี้ คำส่อเสียดนี้ อันบุคคล
ใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว
ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้น เรียกว่าผู้ปราศจากคำส่อเสียด คือมีคำ
ส่อเสียดปราศจากไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีมายา ปราศจาก
คำส่อเสียด.
[821] ข้อว่า มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภ
อันลามกและความหวงแหน
ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่
มีความโกรธ ก็แต่ว่าความโกรธควรกล่าวก่อน ความโกรธย่อมเกิดด้วย
เหตุ 10 อย่าง ฯลฯ ความโกรธนั้น อันมุนีใดละ ตัดขาด สงบ
ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ มุนีนั้น
เรียกว่าผู้ไม่มีความโกรธ เพราะมุนีนั้นละความโกรธ กำหนดรู้วัตถุแห่ง
ความโกรธ ตัดเสียซึ่งเหตุแห่งความโกรธแล้ว จึงชื่อว่าผู้ไม่มีความโกรธ
ชื่อว่าความโลภ คือความโลภ กิริยาที่โลภ ความเป็นผู้โลภ ฯลฯ
อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ความตระหนี่ 5 อย่าง เรียกว่าความหวงแหน
ได้แก่ความตระหนี่อาวาส ฯลฯ ความถือเอาไว้ เรียกว่าความตระหนี่.
คำว่า มุนี ความว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ
ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังว่าข่าย บุคคลนั้นชื่อว่ามุนี.
คำว่า มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามกและความ
หวงแหน
ความว่า มุนีได้ข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย
เป็นไปล่วงแล้ว ซึ่งความโลภอันลามกและความหวงแหน เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า มุนีมุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้นความโลภอันลามกหวงแหน
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
บุคคลพึงเป็นผู้มีสัจจะ ไม่คะนอง ไม่มีมายา
ปราศจากคำส่อเสียด มุนีไม่พึงมีความโกรธ พึงข้ามพ้น
ความโลภอันลามก และความหวงแหน.

[822] นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจคร้าน ความ
ย่อท้อ ไม่พึงอยู่ด้วยความประมาท ไม่พึงตั้งอยู่ในความ
ดูหมิ่น พึงเป็นผู้มีใจน้อม ปรนนิพพาน.


ว่าด้วยความเกียจคร้าน


[823] ชื่อว่า ความหลับ ในคำว่า พึงปราบความหลับ ความ
เกียจคร้าน ความย่อท้อ
คือความที่กายเป็นไข้ ความที่กายไม่ควรแก่การ
งาน อาการที่หยุด อาการที่พัก อาการที่พักผ่อน ณ ภายใน ความง่วง
ความหลับ กิริยาที่โงกง่วง กิริยาที่หลับ ความเป็นผู้หลับ. ชื่อว่าความ
เกียจคร้าน คือความคร้าน กิริยาที่คร้าน ความเป็นผู้มีใจคร้าน ความ
เกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ความเป็นผู้เกียจคร้าน. ชื่อว่าความย่อท้อ
คือความที่จิตเป็นไข้ ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน กิริยาที่หดหู่ กิริยา
ย่นย่อ ความย่อท้อ กิริยาที่ย่อท้อ ความที่จิตย่อท้อ ความหดหู่ กิริยา
ที่หดหู่ ความที่จิตหดหู่. คำว่า นรชนพึงปราบความหลับ ความเกียจ-
คร้าน ความย่อท้อ
ความว่า นรชนพึงปราบปราม ครอบงำ กดขี่