เมนู

สามัญญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 บุคคลนั้นรู้อรรถ รู้ธรรม
รู้นิรุตติ เมื่อรู้อรรถ อรรถก็แจ่มแจ้ง เมื่อรู้ธรรม ธรรมก็แจ่มแจ้ง เมื่อ
รู้นิรุตติ นิรุตติก็แจ่มแจ้ง ญาณในอรรถ ธรรมและนิรุตติ ทั้ง 3 นี้ ชื่อว่า
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา บุคคลใดเข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป เข้าไปพร้อม
เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบแล้ว ด้วยปฏิภาณปฏิสัมภิทาน บุคคล
ใดไม่มีประยัติ ไม่มีปริปุจฉา ไม่มีอธิคม ญาณอะไรเล่าจะแจ่มแจ้งแก่
บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียดมีปฏิภาณ.

ว่าด้วยรู้ธรรมแล้วไม่ต้องเชื่อใครอีก


[407] คำว่า ไม่เชื่อใคร ๆ ในคำว่า ไม่เชื่อใคร ๆ ไม่คลาย
กำหนัด
ความว่า ภิกษุนั้นย่อมไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์
แก่ตนเองต่อใคร ๆ อื่น ซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร หรือ
พรหม คือไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์แก่ตนเองว่า สังขาร
ทั้งปวงไม่เที่ยง . . .สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ . . .ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา...
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี
ชรามรณะ.. . . เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรา
มรณะจึงดับ . . .นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านั้น
อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ . . .ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง
ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ต่อใคร ๆ อื่นซึ่งเป็นสมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร หรือพรหม และไม่เชื่อธรรมที่รู้ยิ่งด้วยตนเอง อันประจักษ์
แก่ตนเอง คือความเกิด ความดับ คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออกไป