เมนู

ภิกษุเหล่านั้น ย่อมงอกงามในธรรมรินัยที่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

คำว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การ
ปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค
ความว่า ภิกษุผู้นับถือไม่พึงเสพ
ไม่พึงซ่องเสพ ไม่พึงซ่องเสพเฉพาะ ไม่พึงประพฤติ ไม่พึงประพฤติ
โดยเอื้อเฟื้อ ไม่พึงยึดถือประพฤติ ซึ่งการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยา
ให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค อีกอย่างหนึ่ง ไม่พึงยึด ไม่พึงถือ ไม่พึง
ทรงไว้ ไม่พึงเข้าไปทรงไว้ ไม่พึงเข้าไปกำหนด ไม่พึงประกอบ ซึ่งการ
ทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงซ่องเสพการทา เสียงสัตว์ร้อง การปรุงยา
ให้ตั้งครรภ์ และการรักษาโรค เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสตอบว่า
ภิกษุผู้นับถือ ไม่พึงประกอบการทำอาถรรพณ์ การ
ทำนายฝัน การทายลักษณะ และการดูฤกษ์ ไม่พึง
ซ่องเสพการทายเสียงสัตว์ร้อง การปรุงยาให้ตั้งครรภ์
และการรักษาโรค.

[757] ภิกษุไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ถูกเขา
สรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น พึงบรรเทาความโลภ พร้อม
กับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด.


ว่าด้วยไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและสรรเสริญ


[758] คำว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา ความว่า

คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมนินทา ติเตียน ค่อนขอดภิกษุโดยชาติบ้าง
โดยโคตรบ้าง โดยความเป็นบุตรแห่งสกุลบ้าง โดยความเป็นผู้มีรูปงาม
บ้าง โดยทรัพย์บ้าง โดยความเชื้อเชิญบ้าง โดยหน้าที่การงานบ้าง โดย
ศิลปศาสตร์บ้าง โดยวิทยฐานะบ้าง โดยการศึกษาบ้าง โดยปฏิภาณบ้าง
โดยวัตถุอื่น ๆ บ้าง ภิกษุถูกนินทาติเตียนค่อนขอดแล้ว ไม่พึงหวั่น
หวั่นไหว เอนเอียง สะดุ้ง ดิ้นรน กระวนกระวายกลัว ถึงความหวาด
เสียว คือไม่พึงเป็นผู้ขลาด ครั่นคร้าม หวาดเสียว หนีไป ในเพราะ
ความนินทา ติเตียน ค่อนขอด เสื่อมเสียเกียรติ ถูกกล่าวโทษพึงเป็น
ผู้ละความกลัวความขลาด ปราศจากความเป็นผู้มีขนลุกขนพองอยู่ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะความนินทา.
[759] คำว่า ภิกษุถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น ความว่า
คนบางพวกในโลกนี้ ย่อมสรรเสริญ ชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณภิกษุ
โดยชาติบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอื่น ๆ บ้าง ภิกษุถูกเขาสรรเสริญ ชมเชย
ยกย่องพรรณนาคุณแล้ว ไม่ควรทำความฟูขึ้น ไม่ควรทำความกำเริบขึ้น
ไม่ควรทำความถือตัว ไม่ควรทำความกระด้าง คือไม่ควรเป็นผู้จองหอง
เป็นผู้ปั้นปึ่ง เป็นผู้หัวสูง เพราะความสรรเสริญ เพราะความชมเชย
เพราะความยกย่อง เพราะความพรรณนาคุณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ
ถูกเขาสรรเสริญแล้วไม่พึงฟูขึ้น.

ว่าด้วยความตระหนี่ 5 ประการ


[760] ชื่อว่า ความโลภ ในคำว่า พึงบรรเทาความโลภพร้อม
กับความตระหนี่ ความโกรธ และการพูดส่อเสียด ได้แก่ความโลภ