เมนู

ปรารถนานั้น อันชนเหล่าใดยังละไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้นก็มีรูปตัณหา
ไหลหลั่ง เลื่อนไหล เป็นไปในทางจักษุ มีสัททตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล
เป็นไปทางหู มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจมูก มีรส-
ตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น มีโผฏฐัพพตัณหาหลั่งไหล
เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย มีธรรมตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไป
ทางใจ ความยินดี คือความปรารถนานั้น อันชนเหล่าใดละ ตัดขาด
สงบระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ ชน
เหล่านั้นก็ไม่มีรูปตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางจักษุ ไม่มีสัทท-
ตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางหู ไม่มีคันธตัณหาหลั่งไหล เลื่อน-
ไหล เป็นไปทางจมูก ไม่มีรสตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางลิ้น
ไม่มีโผฏฐัพพตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางกาย ไม่มีธรรม-
ตัณหาหลั่งไหล เลื่อนไหล เป็นไปทางใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่มี
ความยินดีในวัตถุเป็นที่ยินดี.

ว่าด้วยความดูหมิ่น


[404] คำว่า ไม่ประกอบในความดูหมิ่น ความว่า ความดูหมิ่น
เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นผู้อื่นโดยชาติบ้าง โดย
โคตรบ้าง ฯลฯ โดยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่งบ้าง ความถือตัว กิริยาที่ถือ
ตัว ความกำเริบขึ้น ความฟูขึ้น ความถือตัวดังว่าธงชัย ความยกย่องตน
ความที่จิตใคร่เป็นดังว่าธงยอดเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่นนั้น อัน
บุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้ว
ด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นไม่ประกอบ ไม่ประกอบทั่ว ไม่มาประกอบ

ไม่มาประกอบพร้อม ในความดูหมิ่น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ไม่ประกอบ
ในความดูหมิ่น.
[405] คำว่า ผู้ละเอียด มีปฏิภาณ ความว่า ชื่อว่าผู้ละเอียด
เพราะประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม สติปัฏฐาน สัมมัปป-
ธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ อริยมรรคมีองค์ 8 อันละเอียด
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ละเอียด.

ผู้มีปฏิภาณ 3 จำพวก


[406] คำว่า มีปฏิภาณ ความว่า บุคคลมีปฏิภาณ 3 จำพวก
คือ บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริยัติ 1 บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา 1
บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคม 1.
บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริยัติเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในพระ-
ศาสนานี้ เล่าเรียนพระพุทธพจน์ คือสุตตะ เคยยะ เวยยากรณ์ คาถา
อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ญาณของบุคคลนั้น
ย่อมแจ่มแจ้งเพราะอาศัยปริยัติ บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะปริยัติ.
บุคคลมีปฏิภาณเพราะปริปุจฉาเป็นไฉน ? บุคคลบางตนในพระ-
ศาสนานี้ เป็นผู้ไต่ถามในประโยชน์ของตน ในประโยชน์ที่ควรรู้ ใน
ลักษณะ ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ ญาณของบุคคลนั้นย่อมแจ่มแจ้ง
เพราะอาศัยการไต่ถามนั้น บุคคลนี้ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณเพราะปริปุจฉา.
บุคคลมีปฏิภาณเพราะอธิคมเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในพระ-
ศาสนานี้เป็นผู้ได้บรรลุธรรมทั้งหลาย คือสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8