เมนู

อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ
ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ไม่ทำความบริบูรณ์ในศีล เราเป็นผู้ไม่คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ เราเป็นผู้ไม่ได้
ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่ได้ประกอบด้วยสติสัมป-
ชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน 4 เราไม่ได้เจริญสัมมัปปธาน 4 เรา
ไม่ได้เจริญอิทธิบาท 4 เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ 5 เราไม่ได้เจริญพละ 5
เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ 7 เราไม่ได้เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เราไม่ได้
กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญมรรค เราไม่ได้ทำให้
แจ้งซึ่งนิโรธ.
คำว่า พึงเว้นจากความคะนอง ความว่า พึงงด เว้น เว้นขาด
จากความคะนอง พึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งความ
คะนอง คือพึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออก สละ พ้นไป ไม่เกี่ยวข้อง
กับความคะนอง พึงเป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า พึงเว้นจากความคะนอง.

ว่าด้วยความไม่ประมาท


คำว่า ไม่พึงประมาท ความว่า พึงเป็นผู้ทำโดยเอื้อเฟื้อ ทำติดต่อ
ทำไม่หยุด มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ปลงฉันทะ ไม่ทอดธุระ ไม่
ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล ความพอใจ ความพยายาม ความ
อุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความมีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ ความ
ระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียรเป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความ
เพียรอันพึงตั้งไว้ ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ในกุศลธรรมนั้นว่า

เมื่อไร เราพึงยังศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึงอนุเคราะห์
ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรม
ทั้งหลายฝ่ายกุศล.
ความพอใจ ความพยายาม ...ความประกอบเนือง ๆ ในกุศลธรรม
นั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังสมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึง
อนุเคราะห์สมาธิขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่
ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.
ความพอใจ ความพยายาม...ความประกอบเนือง ๆ ในกุศลธรรม
นั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเรา
พึงอนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความ
ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.
ความพอใจ ความพยายาม... ความประกอบเนือง ๆ ในกุศลธรรม
นั้นว่า เมื่อไรเราพึงยังวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือเราพึง
อนุเคราะห์วิมุตติขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา ดังนี้ ชื่อว่าความไม่
ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.
ความพอใจ ความพยายาม ...ความประกอบเนือง ๆ ในกุศลธรรม
นั้นว่า เมื่อไร เราพึงยังวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
หรือเราพึงอนุเคราะห์วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในที่นั้นด้วยปัญญา
ดังนี้ ชื่อว่าความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล.
ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเป็นผู้ขยัน ความ
มีเรี่ยวแรง ความไม่ถอยกลับ ความระลึกได้ ความรู้สึกตัว ความเพียร
เป็นเครื่องให้กิเลสร้อนทั่ว ความเพียรอันพึงตั้งใจ ความตั้งใจ ความ

ประกอบเนือง ๆ ในกุศลนั้นว่า เมื่อไร เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังไม่
กำหนดรู้ เราพึงละกิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ เราพึงยังมรรคที่ยังไม่เจริญ
ให้เจริญ หรือว่าเราพึงทำให้แจ้งซึ่งนิโรธที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ดังนี้ ชื่อว่า
ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายฝ่ายกุศล. เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พึง
เว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาท.
[749] บทว่า อถ ในคำว่า และภิกษุพึงอยู่ในที่นั่ง ในที่นอน
ที่มีเสียงน้อย
เป็นบทสนธิ ฯลฯ ภิกษุย่อมนั่งในที่ใด ที่นั้นเรียกว่าที่
นั่ง ได้แก่ เตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดหญ้า เครื่อง
ลาดใบไม้ เครื่องลาดฟาง เสนาสนะเรียกว่าที่นอน ได้แก่ วิหาร เรือน
หลังคาแถบเดียว ปราสาทเรือนมีหลังคาโล้น. ถ้ำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ในที่นั่ง ในที่นอน. คำว่า ภิกษุพึงอยู่ ...ที่มีเสียงน้อย ความว่า ภิกษุ
พึงเที่ยวไป ยับยั้งอยู่ เปลี่ยนอิริยาบถ ประพฤติ รักษา บำรุง เยียว า
ในเสนาสนะที่มีเสียงน้อย คือมีเสียงกึกก้องน้อย ปราศจากชนผู้สัญจรไป
มา ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกออกเร้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า และภิกษุพึงอยู่ในที่นั่ง ในที่นอน ที่มีเสียงน้อย. เพราะเหตุ
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ภิกษุพึงเป็นผู้มีฌาน ไม่พึงเป็นผู้โลเลเพราะเท้า พึง
เว้นจากความคะนอง ไม่พึงประมาทและพึงอยู่ในที่นั่ง
ในที่นอน ที่มีเสียงน้อย.

[750] ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก พึงมีความเพียร
ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น พึงละเว้นความเกียจคร้าน ความ

ลวง ความหัวเราะ การเล่น เมถุนธรรมอันเป็นไปกับ
ด้วยการประดับ.


ว่าด้วยการแบ่งเวลา


[751] คำว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก ความว่า ภิกษุ
พึงแบ่งกลางคืนและกลางวันให้เป็น 6 ส่วนแล้ว ตื่นอยู่ 5 ส่วน นอน
หลับ 1 ส่วน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงทำความหลับให้มาก.
[752] คำว่า พึงมีความเพียรซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น ความว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น
ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรม
เป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปฐมยามแห่ง
ราตรี พึงสำเร็จสีหไสยา โดยช้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติ
สัมปชัญญะ ทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วย
การเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี.
คำว่า ซ่องเสพความเป็นผู้ตื่น คือพึงซ่องเสพ ซ่องเสพพร้อม
ซ่องเสพเฉพาะ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงซ่องเสพ
ความเป็นผู้ตื่น.
คำว่า มีความเพียร ความว่า วิริยะเรียกว่าความเพียร ได้แก่การ
ปรารภความเพียร ความก้าวออก ความก้าวหน้า ความย่างขึ้นไป
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน ความมั่นคง ความทรงไว้
ความก้าวหน้ามิได้ย่อหย่อน ความไม่ปลงฉันทะ ความไม่ทอดธุระ ความ