เมนู

หรือแม้สมาธิ ได้แก่ความตั้งมั่น ความดำรงอยู่ ความตั้งลง ความไม่
แล่นไป ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความเป็นผู้มีใจอันอะไร ๆ ไม่ให้เเล่น
ไปได้ ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า คือปาติโมกข์หรือแม้สมาธิ เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตจึง
ตรัสถามว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุแจ่มแจ้ง ได้ทรง
แสดงสักขิธรรม เครื่องกำจัดอันตราย ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกปฏิปทา คือปาติโมกข์
หรือแม้สมาธิ.

[732] ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย พึงป้องกันหู
จากคามกถา ไม่พึงติดใจในรส ไม่พึงยึดถือสังขาร
อะไร ๆ ว่าของเราในโลก.


ว่าด้วยผู้โลเลด้วยจักษุ


[733] คำว่า ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุทั้งหลาย ความว่า
ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุอย่างไร ? ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
โลเลด้วยจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุคิดว่า รูปที่ยังไม่
เคยดูเราควรดู รูปที่เคยดูเราควรผ่านไป ดังนี้ เป็นผู้ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งความเที่ยวไปนาน ซึ่งความเที่ยวไปไม่แน่นอน สู่อารามแต่อาราม
สู่สวนแต่สวน สู่บ้านแต่บ้าน สู่นิคมแต่นิคม สู่นครแต่นคร สู่แว่นแคว้น

แต่แว่นแคว้น สู่ชนบทแต่ชนบท เพื่อจะดูรูป ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ
แม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนเป็นผู้ไม่
สำรวม เดินไป คือแลดูช้าง แลดูม้า แลดูรถ แลดูพลเดินเท้า แลดู
สตรี แลดูบุรุษ แลดูกุมาร แลดูกุมารี แลดูร้านตลาด แลดูหน้ามุข
เรือน แลดูข้างบน แลดูข้างล่าง แลดูทิศน้อย ทิศใหญ่ เดินไป ภิกษุ
เป็นผู้โลเลด้วยจักษุ
แม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วย จักษุแล้ว เป็นผู้ถือนิมิต เป็นผู้ถือ
อนุพยัญชนะ. ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น
ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้
โลเลด้วยจักษุ
แม้อย่างนี้.
อนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ย่อมขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน
การขับ การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย เพลงปรบ-
มือ ฆ้อง ระนาด หนัง เพลงขอทาน เล่นไต่ราว การเล่นหน้าศพ
ชนช้าง แข็งม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ ชน
นกกระทา รำกระบี่กระบอง ชกมวย มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล
การจัดกระบวนทัพ กองทัพ ฉันใด ภิกษุเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ แม้
ฉันนั้น.
ภิกษุไม่เป็นผู้โลเลด้วยจักษุอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไป
สู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน เป็นผู้สำรวมเดินไป ไม่แลดูช้าง ไม่

แลดูม้า ไม่แลดูรถ ไม่แลดูคนเดินเท้า ไม่แลดูสตรี ไม่แลดูบุรุษ ไม่
แลดูกุมาร ไม่แลดูกุมารี ไม่แลดูร้านตลาด ไม่แลดูหน้ามุขเรือน ไม่
แลดูข้างบน ไม่แลดูข้างล่าง ไม่แลดูทิศน้อยทิศใหญ่ เดินไป ภิกษุไม่
เป็นผู้โลเลด้วยจักษุ
แม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถือ
อนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่ไม่สำรวมแล้วจะเป็น
เหตุให้อกุศลธรรมลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ย่อมรักษา
จักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุไม่เป็นผู้โลเลด้วย
จักษุ
แม้อย่างนี้.
อนึ่ง ท่านสมณพราหมณ์บางพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธา
แล้ว ย่อมขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือการฟ้อน
การขับ การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น การเล่านิยาย ฯลฯ
กองทัพ ฉันใด ภิกษุเป็นผู้เว้นขาดจากการขวนขวายในการดูการเล่นอัน
เป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ ภิกษุเป็นผู้ไม่โลเลด้วยจักษุ แม้อย่างนี้.
คำว่า ไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ ความว่า พึงละ บรรเทา ทำ
ให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งความเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ คือเป็นผู้งดเว้น
เว้นขาด ออกไป สลัดออกไป หลุดพ้นไม่เกี่ยวข้อง ด้วยความเป็นผู้
โลเลด้วยจักษุ เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุ.

ว่าด้วยติรัจฉานกถา


[734] ติรัจฉานกถา 32 ประการ คือเรื่องพระราชา เรื่องโจร