เมนู

ที่วินิจฉัยแล้ว. คำว่า ร่าเริงอยู่ คือ เป็นผู้ยินดี หัวเราะ ร่าเริง ชอบใจ
มีความดำริบริบูรณ์ อีกอย่างหนึ่ง หัวเราะจนฟันปรากฏ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัย ร่าเริงอยู่.
[567] คำว่า กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด ความว่า
กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า คนอื่นเป็นพาล เลวทราม
ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่รู้แจ้ง ไปแล้วในอวิชชา
ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าว
ว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ตอบว่า
เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้
ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความ
ดูหมิ่นผู้อื่น และตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่
กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด.

[568] เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด และก็
กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้าง
ว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และพูด
เช่นนั้นเหมือนกัน.


เจ้าทิฏฐิเห็นคนอื่นเป็นพาล


[569] คำว่า เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด
ความว่า เจ้าทิฏฐิเห็น มองเห็น แลดู เพ่งพินิจ พิจารณาซึ่งบุคคลอื่น

โดยความเป็นพาล เลวทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ด้วยเหตุ
ใด คือ ด้วยปัจจัย การณ์ เหตุเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้า
ทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด.
[570] คำว่า และก็กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น
ความว่า ตน เรียกว่า อาตมา เจ้าทิฏฐิแม้นั้น กล่าวถึงตนว่า เราเป็น
ผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มี
ปัญญาทำลายกิเลส ด้วยเหตุนั้น คือ ด้วยปัจจัย การณ์ เหตุเป็นแดน
เกิดนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และก็กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น.
[571] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าคนฉลาดด้วยตนเอง ความ
ว่า เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าคนฉลาดด้วยตนเอง คืออวดอ้างว่าเป็นบัณฑิต
อวดอ้างว่าเป็นธีรชน อวดอ้างว่าเป็นผู้มีญาณ อวดอ้างว่าพูดโดยเหตุ
อวดอ้างว่าพูดโดยลักษณะ อวดอ้างว่าพูดโดยการณ์ อวดอ้างว่าพูดโดย
ฐานะ โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้างว่าตน
ฉลาดด้วยตนเอง.
[572] คำว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และพูดเช่นนั้นเหมือนกัน
ความว่า เพราะไม่นับถือ จึงชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น อีกอย่างหนึ่ง
เพราะยังโทมนัสให้เกิด จึงชื่อว่า ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น. คำว่า และพูด
เช่นนั้นเหมือนกัน
ความว่า ย่อมพูดถึงทิฏฐินั้นว่า แม้ด้วยเหตุดังนี้
บุคคลนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อม
ดูหมิ่นบุคคลอื่น และพูดเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า

เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด และก็
กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น เจ้าทิฏฐินั้นอวด-
อ้างว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และ
พูดเช่นนั้นเหมือนกัน.

[573] เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ (ทิฏฐิล่วง
แก่นสาร) เป็นผู้เมาด้วยความถือตัวเต็มรอบ อภิเษกตน
เองด้วยใจ เพราะทิฏฐิของเจ้าทิฏฐินั้นบริบูรณ์อย่างนั้น.


ทิฏฐิ 62 เรียกอติสารทิฏฐิ


[574] คำว่า เจ้าทิฏฐินั้น เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยอติสารทิฏฐิ ความ
ว่า ทิฏฐิ 62 ประการ เรียกว่า อติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร ทิฏฐิ 62
ประการ จึงเรียกว่า อติสารทิฏฐิ ทิฏฐิทั้งปวงนั้น ล่วงเหตุ ล่วงลักษณะ
ถึงความเป็นของต่ำช้า เพราะเหตุนั้น ทิฏฐิ 62 ประการ จึงเรียกว่า
อติสารทิฏฐิ เดียรถีย์แม้ทั้งหมดเป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เพราะเหตุไร เดียรถีย์
แม้ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ เดียรถีย์เหล่านั้น ล่วง ก้าวล่วง
ล่วงเลยกันและกัน ยังทิฏฐิทั้งหลายให้เกิด ให้เกิดพร้อม ให้บังเกิด ให้
บังเกิดเฉพาะ เพราะเหตุนั้น เดียรถีย์ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นผู้มีอติสารทิฏฐิ.
คำว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์ ความว่า เป็นผู้บริบูรณ์เต็มรอบ ไม่
บกพร่องด้วยอติสารทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐินั้นเป็นผู้บริบูรณ์
ด้วยอติสารทิฏฐิ.