เมนู

[564] เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้
ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงอารมณ์
ดูหมิ่นผู้อื่น และตั้งอยู่ในทิฏฐิ เป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริง
อยู่กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด.


เจ้าทิฏฐิแสดงความดูหมิ่นผู้อื่น


[165] คำว่า เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือรูปที่เห็น เสียง
ที่ได้ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น

ความว่า เจ้าทิฏฐิอาศัย คือ เข้าไปอาศัย ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ซึ่งรูป
ที่เห็นบ้าง ความหมดจดเพราะรูปที่เห็นบ้าง เสียงที่ได้ยินบ้าง ความ
หมดจดเพราะเสียงที่ได้ยินบ้าง ศีลบ้าง ความหมดจดเพราะศีลบ้าง วัตร
บ้าง ความหมดจดเพราะวัตรบ้าง อารมณ์ที่ทราบบ้าง ความหมดจดเพราะ
อารมณ์ที่ทราบบ้าง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล
พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ. คำว่า อาศัยธรรมเหล่านี้ เป็นผู้แสดงความ
ดูหมิ่นผู้อื่น
ความว่า เจ้าทิฏฐินั้น ไม่นับถือ แม้เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่า เป็นผู้แสดงความดูหมิ่น อีกอย่างหนึ่ง ยังโทมนัสให้เกิด แม้เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้แสดงความดูหมิ่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เจ้าทิฏฐิ
อาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์
ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความดูหมิ่นผู้อื่น.
[566] คำว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่ ความว่า
ทิฏฐิ 62 ประการ เรียกว่า วินิจฉัย. เจ้าทิฏฐิตั้งอยู่ ตั้งมั่น ถือ ยึดมั่น
ถือมั่น ในทิฏฐิที่วินิจฉัยแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็น

ที่วินิจฉัยแล้ว. คำว่า ร่าเริงอยู่ คือ เป็นผู้ยินดี หัวเราะ ร่าเริง ชอบใจ
มีความดำริบริบูรณ์ อีกอย่างหนึ่ง หัวเราะจนฟันปรากฏ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัย ร่าเริงอยู่.
[567] คำว่า กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด ความว่า
กล่าว บอก พูด แสดง แถลง อย่างนี้ว่า คนอื่นเป็นพาล เลวทราม
ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่รู้แจ้ง ไปแล้วในอวิชชา
ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กล่าว
ว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ตอบว่า
เจ้าทิฏฐิอาศัยธรรมเหล่านี้ คือ รูปที่เห็น เสียงที่ได้
ยิน ศีล พรต หรืออารมณ์ที่ทราบ เป็นผู้แสดงความ
ดูหมิ่นผู้อื่น และตั้งอยู่ในทิฏฐิเป็นที่วินิจฉัยแล้ว ร่าเริงอยู่
กล่าวว่า คนอื่นเป็นพาล ไม่ฉลาด.

[568] เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด และก็
กล่าวถึงตนว่าเป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุนั้น เจ้าทิฏฐินั้นอวดอ้าง
ว่าตนฉลาดด้วยตนเอง ย่อมดูหมิ่นบุคคลอื่น และพูด
เช่นนั้นเหมือนกัน.


เจ้าทิฏฐิเห็นคนอื่นเป็นพาล


[569] คำว่า เจ้าทิฏฐิเห็นบุคคลอื่นว่าเป็นพาลด้วยเหตุใด
ความว่า เจ้าทิฏฐิเห็น มองเห็น แลดู เพ่งพินิจ พิจารณาซึ่งบุคคลอื่น