เมนู

ว่าด้วยวิวาทกันเพราะถือทิฏฐิ


[526] คำว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้
ย่อมวิวาท
ความว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น
ยึดมั่นทิฏฐิอย่างนี้ ย่อมวิวาท คือทำความทะเลาะ ทำความหมายมั่น
ทำความแก่งแย่ง ทำความวิวาท ทำความมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรม
วินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ย่อมวิวาท.
[527] คำว่า และกล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด ความว่า กล่าว
บอก พูด แถลง อย่างนี้ว่า คนอื่นโง่ เลว ทราม ต่ำช้า ลามก
สกปรก ต่ำต้อย ไม่ฉลาด ไม่มีความรู้ ถึงอวิชชา ไม่มีญาณ ไม่มีปัญญา
แจ่มแจ้ง มีปัญญาทึบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า และกล่าวว่า คนอื่นโง่
ไม่ฉลาด.
[528] คำว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาหะไหนจะจริง
หนอ
ความว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ วาทะไหนจริง แท้ แน่
เป็นจริงไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า วาทะของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
วาทะไหนจะจริงหนอ.
[529] คำว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้าง
คนว่าเป็นผู้ฉลาด
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ต่างก็อ้างตน
ว่าเป็นผู้ฉลาด อ้างตนเป็นบัณฑิต อ้างตนเป็นธีรชน อ้างคนเป็นผู้มีญาณ
อ้างตนโดยเหตุ อ้างตนโดยลักษณะ อ้างตนโดยการณ์ อ้างตนโดยฐานะ
โดยลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้น

ทั้งหมด ต่างก็อ้างตนว่าเป็นผู้ฉลาด เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้น
จึงตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์บางพวก ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้ย่อมวิวาท
และกล่าวว่า คนอื่นโง่ ไม่ฉลาด วาทะของสมณพราหมณ์
เหล่านี้ วาทะไหนจริงหนอ เพราะสมณพราหมณ์เหล่านี้
ทั้งหมดต่างก็อ้างคนว่าเป็นผู้ฉลาด.

[530] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ข้าพระองค์ไม่
อนุญาตธรรมของคนอื่น คนอื่นเป็นพาล ลามก มี
ปัญญาเลว สมณพราหมณ์ทั้งหมด เป็นพาล มีปัญญา
เสื่อมทราม สมณพราหมณ์ทั้งปวงนี้เทียว มีความอยู่รอบ
ในทิฏฐิ.

[531] คำว่า ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น ความว่า ไม่อนุญาต
ไม่เห็นตาม ไม่อนุมัติ ไม่อนุโมทนา ซึ่งธรรม คือทิฏฐิ ปฏิปทา
มรรค ของคนอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น.
[532] คำว่า คนอื่นเป็นพาล ลามก มีปัญญาเลว ความว่า
คนอื่นเป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีปัญญาเลว
มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญา
ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คนอื่นเป็นพาล ลามก มีปัญญาเลว.
[533] สมณพราหมณ์ทั้งหมดเป็นพาล มีปัญญาเสื่อมทราม
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมดเทียว เป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า
ลามก สกปรก ต่ำต้อย มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า

มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
สมณะพราหมณ์ทั้งหมด เป็นพาล มีปัญญาเสื่อมทราม.
[534] คำว่า สมณพราหมณ์ทั้งปวงนี้เทียว มีความอยู่รอบ
ในทิฏฐิ
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด เป็นผู้ดำเนินไปด้วย
ทิฏฐิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น ยึดมั่น
ซึ่งทิฏฐิ 62 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมอยู่ อยู่ร่วม มาอยู่
อยู่รอบในทิฏฐิของตน ๆ เปรียบเหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน ชื่อว่า
ย่อมอยู่ในเรือน พวกบรรพชิตผู้มีอาบัติ ชื่อว่าย่อมอยู่ในอาบัติ หรือ
พวกมีกิเลส ชื่อว่าย่อมอยู่ในกิเลสฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณ-
พราหมณ์ทั้งปวงเทียว มีความอยู่รอบในทิฏฐิ เพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ข้าพระองค์ไม่อนุญาตธรรมของคนอื่น คนอื่นเป็นพาล
ลามก มีปัญญาเลว สมณพราหมณ์ทั้งหมด เป็นพาล มี
ปัญญาเสื่อมทราม สมณพราหมณ์ทั้งปวงนี้เทียว มีความ
อยู่รอบในทิฏฐิ.

[535] ก็ถ้าพวกสมณะพราหมณ์เป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของ
คน เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้ไซร้
บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น ใคร ๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญา
เสื่อมรอบ เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณพราหมณ์
แม้เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น.

[536] คำว่า ก็ถ้าเป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของตน ความว่า
เป็นผู้ผ่องแผ้ว ผ่องใส ไม่เศร้าหมอง เพราะทิฏฐิ ความควร ความ

ชอบใจ ลัทธิของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็ถ้าเป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะ
ทิฏฐิของตน.
[537] คำว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความ
รู้ไซร้
ความว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจด มีปัญญาหมดจดวิเศษ มีปัญญา
หมดจดรอบ มีปัญญาผ่องแผ้ว มีปัญญาผ่องใส อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้มี
ความเห็นหมดจด มีความเห็นหมดจดวิเศษ มีความเห็นหมดจดรอบ
มีความเห็นผ่องแผ้ว มีความเห็นผ่องใส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มี
ปัญญาหมดจดดี. คำว่า เป็นผู้ฉลาด ความว่า เป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต
มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด. คำว่า มีความรู้
ความว่า เป็นผู้มีความรู้ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความตรัสรู้ มีญาณ
มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มี
ปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้.
[538] คำว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร ๆ จะไซร้
เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมรอบ
ความว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร ๆ
จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเลว มีปัญญาทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มี
ปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย สมณพราหมณ์ทั้งหมด จะเป็นผู้มีปัญญาเลิศ
มีปัญญาประเสริฐ มีปัญญาวิเศษ มีปัญญาเป็นประธาน มีปัญญาอุดม
มีปัญญาบวร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น ใคร ๆ
จะไม่เป็นผู้มีปัญญาเสื่อมรอบ.
[539] คำว่า เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณพราหมณ์
เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น
ความว่า ทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์ สมาทาน ถือ ยึดมั่น ถือมั่น ติดใจ
น้อมใจไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอัน
สมณพราหมณ์เหล่านั้นถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
ก็ถ้าพวกสมณพราหมณ์เป็นผู้ผ่องแผ้วเพราะทิฏฐิของ
ตน เป็นผู้มีปัญญาหมดจดดี เป็นผู้ฉลาด มีความรู้ไซร้
บรรดาสมณพราหมณ์พวกนั้น ใคร ๆ จะไม่เป็นผู้มีปัญญา
เสื่อมรอบ เพราะทิฏฐิเป็นธรรมชาติอันสมณพราหมณ์
แม้เหล่านั้น ถือเอาบริบูรณ์อย่างนั้น.

[540] คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล
ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง พวกสมณพราหมณ์
ได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง เพราะเหตุนั้นแหละ พวก
สมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล.

[541] ศัพท์ว่า ในคำว่า ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง
เป็นศัพท์ปฏิเสธ. คำว่า ทิฏฐินั้น คือ ทิฏฐิ 62 เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์
จึงไม่กล่าว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น
ประกาศทิฏฐิ 62 นั้นว่า จริง แท้ เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง.
[542] คำว่า คนคู่ ในคำว่า คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกัน-
และกันว่าเป็นพาล
ความว่า คน 2 คน ได้แก่คนสองคนผู้ความ

ทะเลาะกัน คนสองคนผู้ทำความหมายมั่นกัน คนสองคนผู้ทำความอื้อฉาว
กัน คนสองคนผู้ทำความวิวาทกัน คนสองคนผู้ก่ออธิกรณ์กัน คนสอง
คนผู้พูดกัน คนสองคนผู้ปราศรัยกัน คนคู่เหล่านั้น กล่าว บอก พูด
แสดง แถลง กะกันและกันอย่างนี้ว่า ท่านเป็นพาล เลวทราม ต่ำช้า
ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใด
กะกันและกันว่าเป็นพาล.
[543] คำว่า พวกสมณพราหมณ์ได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง
ความว่า พวกสมณพราหมณ์ได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง โดยอ้างว่า โลก
เที่ยง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกไม่เทียง สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่น
เปล่า ฯลฯ สัตว์เมื่อตายไปย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้
สิ่งนี้แหละจริง สิ่งอื่นเปล่า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พวกสมณพราหมณ์
ได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง.
[584] คำว่า เพราะเหตุนั้น ในคำว่า เพราะเหตุนั้นแหละ พวก
สมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล
ความว่า เพราะเหตุนั้น เพราะ
การณ์นั้นจึงเห็น คือ มองเห็น แลดู เพ่งดู พินิจดู พิจารณาดูซึ่งคน
อื่นว่า เป็นพาล เลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสตอบว่า
คนคู่กล่าวปรารภทิฏฐิใดกะกันและกันว่าเป็นพาล
ข้าพระองค์ไม่กล่าวทิฏฐินั้นว่าจริง พวกสมณพราหมณ์
ได้ทำทิฏฐิของตน ๆ ว่าจริง เพราะเหตุนั้นแหละ พวก
สมณพราหมณ์จึงเห็นคนอื่นว่าเป็นพาล.

[545] (พระพุทธนิมิตตรัสถามอีกว่า) สมณพราหมณ์บาง
พวก กล่าวธรรมใดว่าจริงแท้ สมณพราหมณ์แม้พวกอื่น
ก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือ
ทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน เพราะเหตุไร พวกสมณ-
พราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน.

[546] คำว่า สมณพราหมณ์ บางพวกกล่าวธรรมค่าจริงแท้
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่าหนึ่ง กล่าว บอก พูด แสดง แถลงซึ่ง
ธรรมะ คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคใด อย่างนี้ว่า ธรรมนี้ จริง แท้
เป็นจริง เป็นตามจริง ไม่วิปริต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์
บางพวกกล่าวธรรมใดว่าจริงแท้.
[547] คำว่า สมณพราหมณ์แม้พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นว่า
เปล่าเท็จ
ความว่า สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง กล่าว บอก พูด แสดง
แถลงซึ่งธรรมะ คือ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรคนั้นนั่นแหละ อย่างนี้ว่า ธรรม
นี้เปล่าเท็จ ไม่เป็นจริง เหลวไหล ไม่เป็นตามจริง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
สมณพราหมณ์แม้พวกอื่นก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ.
[548] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้ว
วิวาทกัน
ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือ ยึดถือ จับต้อง ถือมั่น
ยึดมั่น ซึ่งทิฏฐิอย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน คือ ทำความทะเลาะกัน ทำความ
หมายมั่นกัน ทำความแก่งแย่งกัน ทำความมุ่งร้ายกันว่า ท่านไม่รู้ธรรม-
วินัยนี้ ฯลฯ หรือจงแก้ไขเพื่อปลดเปลื้องวาทะ ถ้าท่านสามารถ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน.

[549] คำว่า เพราะเหตุไร ในคำว่า เพราะเหตุไร พวก
สมณพราหมณ์ จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน
ความว่า เพราะ การณะ
เหตุ ปัจจัย นิทาน สมุทัย ชาติ เหตุเป็นแดนเกิดอะไร พวกสมณ-
พราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่างเดียวกัน คือ กล่าวต่าง ๆ กัน กล่าวหลาย
อย่าง กล่าวคำอื่น ๆ กล่าว พูด บอก แสดง แถลงมากอย่าง เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่าง
เดียวกัน เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตนั้นจึงตรัสถามว่า
สมณพราหมณ์ต่างพวก กล่าวธรรมใดว่าจริงแท้
สมณพราหมณ์แม้พวกอื่น ก็กล่าวธรรมนั้นว่าเปล่าเท็จ
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถือทิฏฐิแม้อย่างนี้แล้วก็วิวาทกัน
เพราะเหตุไร พวกสมณพราหมณ์จึงไม่กล่าวเป็นอย่าง
เดียวกัน.

[550] (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า) ก็หมู่สัตว์รู้ชัด
สัจจะใดไม่พึงวิวาทกัน สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้
มี 2 อย่าง สมณพราหมณ์เหล่านั้น อวดสัจจะต่าง ๆ
ไปเอง เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่กล่าว
เป็นอย่างเดียวกัน.


ว่าด้วยสัจจะมีอย่างเดียว


[551] คำว่า สัจจะนั้นมีอย่างเดียวเท่านั้น มิได้มี 2 อย่าง
ความว่า นิพพาน คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ความสงบสังขารทั้งปวง