เมนู

สมณพราหมณ์อีกบางพวก อ้างตนเป็นผู้ฉลาด ย่อม
กล่าวความสงบในอนุปาทิเสส.

[515] มุนีนั้นมีปัญญาเครื่องพิจารณา รู้สมณพราหมณ์
เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย และรู้ว่าเป็นผู้
มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความ
วิวาท เป็นนรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่.


ว่าด้วยผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา


[516] คำว่า เหล่านั้น ในคำว่า รู้สมณพราหมณ์เหล่านั้น เป็น
ผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย
ความว่า พวกสมณพราหมณ์ที่ดำเนินด้วยทิฏฐิ.
คำว่า เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย ความว่า มุนีนั้นรู้ ทราบ พิจารณา
เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งว่า เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิอาศัยแล้ว
เป็นผู้อันอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิอาศัย
แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้สมณพราหมณ์เหล่านั้นว่า เป็นผู้อันทิฏฐิ
เข้าไปอาศัย.
[517] ชื่อว่า มุนี ในคำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา
รู้ว่า เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย
ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ฯลฯ
ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องบุคคลนั้นชื่อว่า มุนี. มุนี รู้ ทราบ พิจารณา
เทียบเคียง ให้เเจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้วว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เป็นผู้อันสัสสตทิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อันอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว เป็นผู้อัน
สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิอาศัยแล้ว. คำว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่อง

พิจารณา คือเป็นบัณฑิต มีปัญญา มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มุนีนั้นผู้มีปัญญาเครื่อง
พิจารณารู้ว่า เป็นผู้มีทิฏฐิเป็นที่อาศัย.
[518] คำว่า รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความวิวาท ความ
ว่า รู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว
เป็นผู้พ้น พ้นวิเศษ พ้นรอบ พ้นวิเศษดี โดยความพ้นวิเศษ เพราะ
ไม่ถือมันโดยส่วนเดียว คือรู้ ทราบ พิจารณา เทียบเคียง ให้เเจ่มแจ้ง
ทำให้แจ้งแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรม
ทั้งปวงเป็นอนัตตา ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา จึงเป็นผู้พ้นวิเศษ พ้นรอบ พ้นวิเศษดี
โดยความพ้นวิเศษ เพราะไม่ถือมั่นโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว. คำว่า ไม่ถึงความวิวาท ความว่า ไม่ทำความทะเลาะ
ไม่ทำความบาดหมาง ไม่ทำความโต้เถียง ไม่ทำความวิวาท ไม่ทำความ
หมายมั่น.
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ภิกษุ
ผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่วิวาทกับใคร ๆ ก็เรื่องใดที่เขาพูดกัน
ในโลก ภิกษุนั้นก็มิได้ถือมั่นพูดโดยเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า รู้แล้ว
พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความวิวาท.
[519] คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ ในคำว่า เป็นธีรชน ย่อม
ไม่ถึงพร้อมในภพน้อยและภพใหญ่
ความว่า ย่อมไม่ถึงพร้อม ไม่มา
ถึงพร้อม ไม่ถือเอาไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่น ในภพน้อยและภพใหญ่ คือใน
กรรมวัฏและวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏ

เป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏ
เป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ใน
วิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในความเกิดบ่อย ๆ ในความไปบ่อย ๆ
ในความเข้าถึงบ่อย ๆ ในปฏิสนธิบ่อย ๆ ในความบังเกิดขึ้นแห่งอัตภาพ
บ่อย ๆ. คำว่า เป็นธีรชน คือเป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิต มีปัญญา
มีความรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่ เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสว่า
มุนีนั้นมีปัญญาเครื่องพิจารณา รู้สมณพราหมณ์เหล่า
นั้นว่า. เป็นผู้อันทิฏฐิเข้าไปอาศัย และรู้ว่าเป็นผู้มีทิฏฐิ
เป็นที่อาศัยอยู่ รู้แล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมไม่ถึงความ
วาที เป็นธีรชน ย่อมไม่ถึงพร้อมในภพน้อยภพใหญ่
ดังนี้.

จบกลหวิวาทสุตตนิเทสสที่ 11

อรรถกถากลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ 11


พึงทราบวินิจฉัยในกลหวิวาทสุตตนิทเทสที่ 11 ดังต่อไปนี้.
บทว่า กุโต ปหูตา กลหวิวาทา ความทะเลาะความวิวาทมีมาแต่
อะไร ได้แก่กิเลสเหล่านี้ คือความทะเลาะและความวิวาทอันเป็นส่วน
เบื้องต้นของความทะเลาะนั้น เกิดมาแต่อะไร. บทว่า ปริเทวโสกา