เมนู

สัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นกายสัมผัส เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะ
อาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้. มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ
ธรรมารมณ์ ประชุมธรรม 3 ประการ คือวัตถุ รูป ในส่วนรูป ธรรม
ทั้งหลายที่มีรูปในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นมโนสัมผัส
เป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้.

ว่าด้วยความยึดถือมีความปรารถนาเป็นต้นเหตุ


[494] คำว่า ความยึดถือมีความปรารถนาเป็นนิทาน ความว่า
ตัณหา เรียกว่าความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา
โสภะ อกุศลมูล ชื่อว่าความยึดถือ ได้แก่ความยึดถือ 2 ประการ คือความ
ยึดถือด้วยตัณหา 1 ความยึดถือด้วยทิฏฐิ 1 ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือ
ด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือด้วยทิฏฐิ. คำว่า ความยึดถือมีความ
ปรารถนาเป็นนิทาน
ความว่า ความยึดถือทั้งหลาย มีความปรารถนา
เป็นเหตุ มีความปรารถนาเป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นการณะ
มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความยึดถือมีความ
ปรารถนาเป็นนิทาน.
[495] คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึง
ไม่มี
ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ
ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ได้แก่ความ
ถือว่าของเรา 2 อย่าง คือ ความถือว่าของเราด้วยตัณหา. ความถือว่า
ของเราด้วยทิฏฐิ 1 ฯ ลฯ นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯ ลฯ
นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี

ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ไม่ปรากฏ
ไม่เข้าไปได้อยู่ ความถือว่าของเราจึงไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ
ความถือว่าของเราเหล่านั้น อันพระสมณะละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว
ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี.

ว่าด้วยมหาภูตรูป 4


[496] คำว่า รูป ในคำว่า เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง
ได้แก่มหาภูตรูป 4 อุปาทายรูปของมหาภูตรูป 4. คำว่า เมื่อรูปไม่มี
คือรูปย่อมไม่มีโดยเหตุ 4 อย่าง คือโดยการรู้ โดยการพิจารณา โดย
การละ โดยการก้าวล่วง.
รูปไม่มีโดยการรู้อย่างไร พระสมณะย่อมรู้รูป คือย่อมรู้ ย่อม
เห็นว่า รูปหมดทุกอย่าง ชื่อว่ารูป ได้แก่มหาภูตรูป 4 อุปาทายรูปของ
มหาภูตรูป 4 รูปไม่มีโดยการรู้อย่างนี้.
รูปไม่มีโดยการพิจารณาอย่างไร พระสมณะครั้นรู้รูปอย่างนี้แล้ว
จึงพิจารณารูป คือพิจารณาโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น
เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของ
หวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น
เป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา
เป็นโทษ เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่น-
สาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความ