เมนู

พึงศึกษา คือเมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อม
ใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัด
ด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้ง ก็พึงศึกษา ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ
สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษา
เพื่อทางแห่งญาณ.

ว่าด้วยธรรมที่พระสมณะทราบ


[476] คำว่า และธรรมเหล่าใด อันพระสมณะทราบแล้ว จึง
ตรัสไว้
ความว่า ธรรมทั้งหลายอันพระสมณะทรงทราบ ทรงรู้ พิจารณา
เทียบเคียงให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ตรัสไว้ ตรัสสอน ตรัสบอก
ทรงแสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว
คือทรงทราบ ทรงรู้ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง
แล้ว ตรัสไว้ ตรัสสอน ตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง
เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ เพราะอวิชชาดับ สังขาร
จึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ
ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านั้นควรละ
ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ความเกิด ความดับ

คุณ โทษ อุบายเครื่องสลัดออก แห่งผัสสายตนะ 6 แห่งอุปาทานขันธ์ 5
แห่งมหาภูตรูป 4 สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง
มีความดับเป็นธรรมดา.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง เราไม่แสดงธรรมเพื่อความ
ไม่รู้ยิ่ง เราแสดงธรรมมีเหตุ เราไม่แสดงธรรมไม่มีเหตุ เราแสดงธรรม
มีปาฏิหาริย์ เราไม่แสดงธรรมไม่มีปาฏิหาริย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง ไม่แสดงธรรมเพื่อความไม่รู้ยิ่ง แสดงธรรม
มีเหตุ ไม่แสดงธรรมไม่มีเหตุ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ไม่แสดงธรรม
ไม่มีปาฏิหาริย์อยู่ เธอทั้งหลายควรทำตามโอวาท ควรทำตามอนุสาสนี
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เธอทั้งหลายควรยินดีปราโมทย์ ควรโสมนัสว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเป็นสวาก-
ขาตธรรม พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ก็เมื่อคำเป็นไวยากรณ์นี้ อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ โลกธาตุหมื่นหนึ่งหวั่นไหวแล้ว ดังนี้ เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า และธรรมเหล่าใดอันพระสมณะทราบแล้ว จึงตรัสไว้
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ธรรมแม้เหล่านี้ คือความโกรธ ความเป็นผู้พูดเท็จ
และความสงสัย เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสอง
มีอยู่ ก็มีมา บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่ง
ญาณและธรรมเหล่าใดอันพระสมณะทราบแล้วจึงตรัสไว้
ธรรมเหล่านั้น เมื่อความดีใจและความเสียใจทั้งสองมี
อยู่ ก็มีมา.

[477] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า ) ความดีใจและความ
เสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน เมื่อไม่มีอะไร ความดีใจและ
ความเสียใจเหล่านี้จึงไม่มี อรรถนั้นใด คือความไม่มี
และความมี ขอพระองค์จงตรัสบอกอรรถนั้นว่า มีสิ่งใด
เป็นนิทาน แก่ข้าพระองค์.


ว่าด้วยต้นเหตุความดีใจและความเสียใจ


[478] คำว่า ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน
ความว่า พระพุทธนิมิตตรัสถาม สอบถาม ขอให้ตรัสบอก อัญเชิญให้
ทรงแสดง ขอให้ประสาท ซึ่งมูล ฯลฯ สมุทัย แห่งความดีใจและความ
เสียใจว่า ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน คือเกิด เกิดพร้อม
บังเกิด บังเกิดเฉพาะ ปรากฏมาแต่อะไร คือมีอะไรเป็นนิทาน มีอะไร
เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นชาติ มีอะไรเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ความดีใจและความเสียใจ มีอะไรเป็นนิทาน.
[479] คำว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและความเสียใจ
เหล่านั้นจึงไม่มี
ความว่า เมื่ออะไรไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ ความ
ดีใจและความเสียใจ จึงไม่มี ไม่เป็น ไม่เกิด ไม่เกิดพร้อม ไม่บังเกิด
ไม่บังเกิดเฉพาะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่ออะไรไม่มี ความดีใจและ
ความเสียใจเหล่านั้นจึงไม่มี.
[480] คำว่า อรรถนั้นใด คือความไม่มีและความมี ความว่า
ความมีแห่งความดีใจและความเสียใจเป็นไฉน ความมี ความเป็น ความ
เกิด ความเกิดพร้อม ความบังเกิด ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏ