เมนู

เป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง
เป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่ฉันภัต
ในภายหลังเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือไม่นอนเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถืออยู่ใน
เสนาสนะที่เขาจัดให้อย่างไรเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้
ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้
ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง
เป็นผู้ได้อากิญจัญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตน-
สมาบัติบ้าง บุคคลไม่อวด ไม่โอ้อวดอย่างนี้ บุคคลงด เว้น เว้นขาด
ออก สลัด พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องด้วยความอวด เป็นผู้มีจิตปราศจากแดน
กิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โอ้อวด.

ว่าด้วยผู้ไม่มีความรำคาญ


[387] ชื่อว่า ความรำคาญ ในคำว่า ผู้ไม่มีความรำคาญ ได้แก่
ความรำคาญมือบ้าง ความรำคาญเท้าบ้าง ความรำคาญทั้งมือและเท้าบ้าง
ความสำคัญในสิ่งไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งควรว่าไม่ควร ความ
สำคัญในสิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ
ความรำคาญ กิริยาที่รำคาญ ความเป็นผู้รำคาญ ความเดือนร้อนจิต
ความกลุ้มใจเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความรำคาญ อีกอย่างหนึ่ง ความ
รำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุ 2 ประการ
คือ เพราะกระทำและเพราะไม่กระทำ.
ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะ
กระทำและเพราะไม่กระทำอย่างไร ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต
ความกลุ้มใจย่อมเกิดขึ้นว่า เราทำแต่กายทุจริต เราไม่ได้ทำกายสุจริต

เราทำแต่วจีทุจริต เราไม่ได้ทำวจีสุจริต เราทำแต่มโนทุจริต เราไม่ได้
ทำมโนสุจริต เราทำแต่ปาณาติบาต เราไม่ได้ทำเจตนางดเว้นจากปาณาติ-
บาต เราทำแต่อทินนาทาน เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจาก
อทินนาทาน เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น
จากกาเมสุมิจฉาจาร เราทำแต่มุสาวาท เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้น
จากมุสาวาท เราทำแต่ปิสุณาวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจาก
ปิสุณาวาจา เราทำแต่ผรุสวาจา เราไม่ได้ทำเจตนาเครื่องงดเว้นจากผรุส-
วาจา เราทำแต่สัมผัปปลาปะ เราไม่ได้ทำเครื่องงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ
เราทำแต่อภิชฌา เราไม่ได้ทำอนภิชฌา เราทำแต่พยาบาท เราไม่ได้ทำ
อัพยาบาท เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ เราไม่ได้ทำสัมมาทิฏฐิ ความรำคาญ
ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะกระทำและเพราะไม่
กระทำอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ความรำคาญ ความเดือดร้อนจิต ความกลุ้มใจ
ย่อมเกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้ไม่กระทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เราเป็น
ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
เราเป็นผู้ไม่หมั่นประกอบในความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราเป็นผู้ไม่
ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เราไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน 4 เราไม่ได้เจริญ
สัมมัปปธาน 4 เราไม่ได้เจริญอิทธิบาท 4 เราไม่ได้เจริญอินทรีย์ 5
เราไม่ได้เจริญพละ 5 เราไม่ได้เจริญโพชฌงค์ 7 เราไม่ได้เจริญอริย-
มรรคมีองค์ 8 เราไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ เราไม่ได้ละสมุทัย เราไม่ได้เจริญ
มรรค เราไม่ได้ทำให้แจ้งนิโรธ ความรำคาญนี้ อันบุคคลใดละตัดขาด
สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ

บุคคลนั้นเรียกว่าไม่มีความรำคาญ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่โอ้อวด
ไม่มีความรำคาญ.


ว่าด้วยปัญญาเรียกว่ามันตา


[388] คำว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ความว่า ปัญญา
เรียกว่ามันตา ได้แก่ปัญญา ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง ความเลือก
เฟ้นธรรม ความเห็นชอบ บุคคลกำหนดกล่าววาจาด้วยปัญญา แม้กล่าว
มาก พูดมาก แสดงมาก แถลงมาก ก็ไม่กล่าววาจาที่กล่าวชั่ว พูดชั่ว
เจรจาชั่ว ปราศรัยชั่ว บอกเล่าชั่ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้พูดด้วย
ปัญญา. ความฟุ้งซ่าน ในคำว่า ผู้ไม่ฟุ้งซ่านเป็นไฉน ความฟุ้งซ่าน
ความไม่สงบจิต ความที่จิตกวัดแกว่ง ความที่จิตหมุนไป นี้เรียกว่า
ความฟุ้งซ่าน ความฟุ้งซ่านนั้น อันบุคคลใดละ ตัดขาด สงบ ระงับ
แล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้นได้ เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ บุคคลนั้นชื่อว่า
ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน.

ว่าด้วยการสำรวมวาจา


[389] คำว่า บุคคลนั้นแล สำรวมวาจา เป็นมุนี ความว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดจริง ดำรง
คำสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคงเชื่อถือได้ ไม่พูดให้เคลื่อนคลาดแก่โลก ละปิสุณา-
วาจา เว้นขาดจากปิสุณาวาจา ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไปบอกข้างโน้น
เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่มาบอกคนหมู่นี้ เพื่อ
ทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียง