เมนู

พระสุตตันตปิฎก


ขุททกนิกาย มหานิทเทส


เล่มที่ 5 ภารที่ 2


ขอนอบน้อมแด่พระผู้พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


อัฏฐกวัคคิกะ

1

ปุราเภทสุตตนิทเทสที่ 10


[374] (พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า) บุคคลมีความเห็นอย่างไร
มีศีลอย่างไร อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว
ข้าแต่พระโคดม พระองค์ถูกถามแล้ว ขอจงตรัสบอก
บุคคลนั้น ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม แก่ข้าพระองค์.


ว่าด้วยคำถามของพระพุทธนิมิต


[375] คำว่า มีความเห็นอย่างไร ในคำว่า บุคคลมีความเห็น
อย่างไร มีศีลอย่างไร อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว
ความว่า บุคคลประกอบด้วยความเห็นเช่นไร คือ ด้วยความดำรงอยู่
อย่างไร ด้วยประการอย่างไร ด้วยส่วนเปรียบอย่างไร เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า มีความเห็นอย่างไร. คำว่า มีศีลอย่างไร ความว่า บุคคลประกอบ


1. บาลีเล่มที่ 29. คำนี้พม่าเป็นอัฏฐกวัคคะ.

ด้วยศีลเช่นไร คือ ด้วยความดำรงอยู่อย่างไร ด้วยประการอย่างไร ด้วย
ส่วนเปรียบอย่างไร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีความเห็นอย่างไร มีศีล
อย่างไร. คำว่า อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ความว่า อัน
บัณฑิตกล่าว เรียก บอก พูด แสดง แถลงว่า เป็นผู้สงบเข้าไปสงบ
ดับ ระงับแล้ว. พระพุทธนิมิตตรัสถามถึงอธิปัญญาว่า มีความเห็นอย่างไร
ตรัสถามถึงอธิศีลว่า มีศีลอย่างไร ตรัสถามถึงอธิจิตว่า เป็นผู้เข้าไปสงบ
แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร
อันบัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว.
[376] คำว่า ซึ่งบุคคลนั้น ในคำว่า ข้าแต่พระโคดม . . . ขอ
จงตรัสบอกบุคคลนั้น. . .แก่ข้าพระองค์
ความว่า บุคคลที่ถาม ที่ขอ
ให้บอก ขอจงตรัสบอก ขอให้ประสาท พระพุทธนิมิตนั้น ย่อมตรัส
เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้พุทธเจ้า โดยพระโคตรว่า ข้าแต่พระโคดม.
คำว่า ขอจงตรัสบอก คือ ตรัสเล่า บอก แสดง แถลง แต่งตั้ง เปิด
เผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ข้าแต่พระ-
โคดม... ขอจงตรัสบอกบุคคลนั้น... แก่ข้าพระองค์.
[377] คำว่า ถูกถามแล้ว ในคำว่า ถูกถามแล้ว ... ซึ่งเป็น
นรชนผู้อุดม
ความว่า ถูกถาม ถูกสอบถาม ขอให้บอก ขอเชิญให้
ทรงแสดง ขอให้ประสาท. คำว่า ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม ความว่า ซึ่งเป็น
นรชนผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน สูงสุด บวร เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ซึ่งเป็นนรชนผู้อุดม เพราะเหตุนั้น พระพุทธนิมิตจึงตรัสว่า
บุคคลมีความเห็นอย่างไร มีศีลอย่างไร อันบัณฑิต
กล่าวว่า เป็นผู้เข้าไปสงบแล้ว ข้าแต่พระโคดม พระองค์