เมนู

มาคันทิยสุตตนิทเทสที่ 9



ว่าด้วยเมถุนธรรม



[321] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้นี้ เพราะเห็น
นางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย ความพอใจใน
เมถุนธรรม ไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มไปด้วยมูตร
และกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องสรีระนั้นแม้ด้วย
เท้า.

[322] คำว่า แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มี เพราะ
เห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย
มีความว่า ความพอใจก็
ดี ความกำหนัดก็ดี ความรักก็ดี ในเมถุนธรรม มิได้มีเพราะเห็น คือ
ประสบ มารธิดา คือ นางตัณหา นางอรดี และนางราคา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มี เพราะเห็นนาง
ตัณหา นางอรดีและนางราคาเลย
.
[323] คำว่า ความพอใจในเมถุนธรรมไฉนจักมีเพราะเห็น
สรีระอันเต็มด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่ปรารถนาจะถูกต้อง
สรีระนั้นแม้ด้วยเท้า
มีความว่า ความพอใจในเมถุนธรรมไฉนจักมี
เพราะเห็นสรีระนี้ อันเต็มด้วยมูตร เต็มด้วยกรีส เต็มด้วยเสมหะ เต็มด้วย

เลือด มีกระดูกเป็นโครง มีเส้นเอ็นเป็นเครื่องผูกพันไว้ มีเลือดและเนื้อ
เป็นเครื่องฉาบทา อันหนังหุ้มห่อไว้ อันผิวหนังปิดบังไว้ มีช่องน้อยและ
ช่องใหญ่ ไหลเข้าไหลออกเป็นปกติ อันหมู่หนอนอยู่อาศัย บริบูรณ์ด้วย
มลทินโทษต่าง ๆ เราไม่ปรารถนาจะเหยียบด้วยเท้า การสังวาสหรือ
สมาคมจักมีแต่ไหน เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ความพอใจในเมถุนธรรม
ไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มไปด้วยมูตรและกรีสนี้เล่า เราไม่
ปรารถนาจะแตะต้องสรีระนั้นแม้ด้วยเท้า
เพราะเหตุนั้น พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
แม้ความพอใจในเมถุนธรรมก็มิได้มีเพราะเห็นนาง
ตัณหา นางอรดี และนางราคาเลย ความพอใจในเมถุน-
ธรรมไฉนจักมีเพราะเห็นสรีระอันเต็มด้วยมูตรและกรีสนี้
เล่า เราไม่ปรารถนาจะแตะต้องสรีระนั้นแม้ด้วยเท้า.

[324] มาคันทิยพราหมณ์ทูลถามว่า :-
ถ้าท่านไม่ปรารถนานารีผู้เป็นอิตถีรัตน์เช่นนี้ ที่
พระราชาเป็นอันมาก ผู้เป็นใหญ่กว่านรชนปรารถนากัน
แล้วไซร้ ท่านย่อมกล่าวทิฏฐิ ศีล พรต ชีวิต และอุบัติ
ภพว่าเป็นเช่นไร.

[325] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :- ดูก่อนมาคันทิยะ
การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่นว่า
เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น และเราเห็นโทษใน

ทิฏฐิทั้งหลาย ไม่ยึดถือ เมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ได้เห็นแล้วซึ่ง
ความสงบภายใน.

[326] คำว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น มี
ความว่า คำว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ความว่า เราย่อมกล่าวสิ่งนี้ คือ ย่อม
กล่าวสิ่งนั้น กล่าวเท่านั้น กล่าวโดยเหตุเท่านั้น กล่าวทิฏฐิว่า โลก
เที่ยง ฯลฯ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก
ก็หามิได้.
คำว่า ย่อมไม่มีแต่เรานั้น ความว่า มิได้มีแก่เรา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เรากล่าวสิ่งนี้ ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่เรานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกพราหมณ์นั้น โดยชื่อว่า มาคันทิยะ.
คำว่า ภควา เป็นชื่อที่กล่าวโดยเคารพ ฯลฯ
คำว่า ภควา นี้ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า:- ดูก่อนมาคันทิยะ

ว่าด้วยทิฏฐิ 62



[327] คำว่า การถึงความตกลงในธรรมทั้งหลายแล้วถือ
มั่น
มีความว่า คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ในทิฏฐิ 62 คำว่า
ถึงความตกลง ความว่า ตัดสินแล้ว คือ ชี้ขาด ค้นหา แสวงหา เทียบ
เคียง ตรวจตรา สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้งแล้วจึงจับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น
รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ คือ ความถือ ความยึดถือ ความยึดมั่น
ความถือมั่น ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้จริง แท้ แน่นอน เป็นตามสภาพ