เมนู

อรรถกถาปสูรสุตตนิทเทส



ในปสูรสุตตนิทเทส พึงทราบความย่อของคาถาแรกก่อน.
เจ้าทิฏฐิเหล่านั้นย่อมกล่าวว่า ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น หมายเอา
ทิฏฐิของตน แต่มิได้กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่นเลย สมณ-
พราหมณ์เป็นอันมากอาศัยศาสดาของตนเป็นต้นใด เป็นผู้กล่าวว่างามใน
เพราะศาสดาของตนเป็นต้นนั้นนั่นแหละอย่างนี้ว่า วาทะนี้งาม ตั้งมั่นใน
สัจจะเฉพาะอย่างว่า โลกเที่ยง เป็นต้น.
บทว่า สพฺเพ ปรวาเท ขิปนฺติ ความว่าย่อมทิ้งลัทธิอื่นทั้งหมด.
บทว่า อุกฺขิปนฺติ ความว่า ทิ้งไปไกล.
บทว่า ปริกฺขิปนฺติ ความว่า ทิ้งไปโดยรอบ.
บทว่า สุภวาทา เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง.
บทว่า โสภณวาทา ความว่า กล่าวว่า งาม อย่างนี้.
บทว่า ปณฺฑิตวาทา ความว่า กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราเป็น
บัณฑิต.
บทว่า ธีรวาทา ความว่า กล่าวว่าพวกเรากล่าววาทะที่ปราศจากโทษ.
บทว่า ญายวาทา1 ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่ควร.
บทว่า เหตุวาทา ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่ประกอบ
ด้วยเหตุ.

1. บาลีเป็นญาณวาทา.