เมนู

ก็พระอรหันตขีณาสพเหล่าใด กำจัดเสนาแล้ว ไม่
กระทบทิฏฐิด้วยทิฏฐิ ย่อมเที่ยวไป ดูก่อนปสูระ ท่านพึง
ได้อะไรในพระอรหันตขีณาสพเหล่านั้น ผู้ไม่มีความถือว่า
สิ่งนี้ประเสริฐ.

[317] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ก็ท่านตรึกคิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจมาแล้ว
ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาชื่อว่าโธนา ท่าน
ไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย.


ว่าด้วยพระปัญญาของพระพุทธเจ้า



[318] บทว่า อถ ในคำว่า ก็ท่านตรึก....มาแล้ว เป็นบทสนธิ
เชื่อมบท เป็นบทบริบูรณ์ เป็นศัพท์ประชุมอักษร เป็นศัพท์ทำพยัญชนะ
ให้สละสลวย.
บทว่า อถ นี้เป็นลำดับบท คำว่า ท่านตรึก....มาแล้ว มีความ
ว่า ท่านตรึกตรอง ดำริ คือ ตรึก ตรอง ดำริอย่างนี้ว่า เราจักมีชัย
หรือจักปราชัยหนอ เราจักข่มเขาอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้เชิดชูอย่าง
ไร จักทำลัทธิของเราให้วิเศษอย่างไร จักทำลัทธิของเราให้วิเศษเฉพาะ
อย่างไร จักทำความผูกพันเขาอย่างไร จักทำความปลดเปลื้องอย่างไร จัก
ทำความตัดรอนวาทะเขาอย่างไร จักขนาบวาทะเขาไว้อย่างไร ดังนี้ เป็น
ผู้มาแล้ว คือ เข้ามา มาถึง มาประจวบแล้วกับเรา เพราะฉะนั้นจึงชื่อ
ว่า ก็ท่านตรึก....มาแล้ว.

[319] คำว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ มีความว่า คำว่า ใจ
ได้แก่ จิต ใจ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่เกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น ท่าน
คิดนึกถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยจิตว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง ฯลฯ
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีก ก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก ก็หามิได้
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า คิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจ.
[320] ในคำว่า ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญา
ชื่อว่าโธนา ท่านไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย
มีอธิบายดังต่อไปนี้
ปัญญา เรียกว่า โธนา ได้แก่ ความรู้ ความรู้ทั่ว ฯลฯ ความไม่หลง
ความเลือกเฟ้นธรรม ความเห็นชอบ. เพราะเหตุไร ปัญญาจึงเรียกว่าโธนา
เพราะปัญญานั้น เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งกายทุจริต
ฯลฯ อกุสลาภิสังขารทั้งปวง อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฏฐิเป็นเครื่องกำจัด
ล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ. สัมมาวิมุตติเป็นเครื่องกำจัด
ล้าง ชำระ ชักฟอก ซึ่งมิจฉาวิมุตติ อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรคมีองค์ 8
เป็นเครื่องกำจัด ล้าง ชำระ ซักฟอก ซึ่งอกุศลทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง
อกุสสาภิสังขารทั้งปวง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไป
เข้าไปพร้อม เข้าชิด เข้าชิดพร้อม ประกอบแล้วด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็น
เครื่องกำจัดเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า ปัญญา
เป็นเครื่องกำจัด.
พระผู้มีภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงกำจัดราคะ บาป

กิเลส ความเร่าร้อนเสียแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีปัญญาเป็นเครื่อง
กำจัด
.
คำว่า ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาถือว่าโธนา
ท่านไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย
มีความว่า ปสูรปริพาชกไม่อาจมาแข็ง
คู่ คือมาเพื่อจับคู่ เพื่อสนทนา ปราศรัย โต้ตอบ กับพระผู้มีพระภาคผู้เป็น
พระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาชื่อว่าโธนา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปสูรปริ-
พาชกเป็นคนเลว ทราม ต่ำช้า ลามก สกปรก ต่ำต้อย ส่วนพระผู้มี
พระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ วิเศษ เป็นประธาน บวร.
ปสูรปริพาชกไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่ เพื่อสนทนา ปราศรัย
โต้ตอบ กับพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาชื่อว่าโธนา.
เปรียบเหมือนกระต่ายไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่กับช้างใหญ่ซับมัน.
เหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ไม่อาจมาแข่งคู่กับสีหะเป็นมฤคราช. เหมือนลูกโค
ตัวเล็กยังไม่อดนม ไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่กับโคที่มีกำลังมาก
เหมือนกาไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่กับครุฑเวนไตย. เหมือนคนจัณ-
ฑาลไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่กับพระเจ้าจักรพรรดิ. และเหมือน
ปีศาจเล่นฝุ่นไม่อาจมาแข่งคู่ คือ มาเพื่อจับคู่กับพระอินทร์ผู้เป็นเทวราช.
ฉะนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปสูรปริพาชกเป็นผู้มีปัญญาเลว มีปัญญา
ทราม มีปัญญาต่ำช้า มีปัญญาลามก มีปัญญาสกปรก มีปัญญาต่ำต้อย.
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีปัญญามาก มีปัญญากว้างขวาง
มีปัญญารื่นเริง มีปัญญาแล่น มีปัญญาเฉียบแหลม มีปัญญาชำแรกกิเลส
ฉลาดในประเภทปัญญา มีปัญญาแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงถึง

เวสารัชชญาณ 4 ทรงทศพลญาณ เป็นบุรุษองอาจ เป็นบุรุษสีหะ เป็น
บุรุษนาค เป็นบุรุษอาชาไนย เป็นบุรุษนำธุระไป มีญาณหาที่สุดมิได้
มีเดชหาที่สุดมิได้ มียศหาที่สุดมิได้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีปัญญา
เป็นทรัพย์ เป็นผู้นำ เป็นผู้แนะนำ เป็นผู้นำไปเนือง ๆ ให้รู้จักประโยชน์
ให้เพ่งพินิจ เป็นผู้เห็นประโยชน์ เป็นผู้ให้แล่นไป.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้น
ให้เกิดขึ้น ทรงทำมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่
ไม่มีใครบอก ทรงรู้มรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็และ
ในบัดนี้ พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ดำเนิน
ตามมรรคอยู่ เป็นผู้ประกอบด้วยสีลาที่คุณในภายหลัง พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น เป็นผู้มีพระ
จักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้ตรัสบอก เป็นผู้แนะนำ
เป็นผู้นำออกซึ่งอรรถ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นธรรมสามี เป็นพระตถาคต
สิ่งที่ไม่รู้ สิ่งที่ไม่เห็น สิ่งที่ไม่ทราบชัด สิ่งที่ไม่ทำให้แจ้ง สิ่งที่มิได้ถูก
ต้องด้วยปัญญา ย่อมไม่มีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ธรรมทั้งปวง
รวมทั้งอดีต อนาคต ปัจจุบัน ย่อมมาสู่คลองในมุข คือพระญาณของ
พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ชื่อว่าประโยชน์ที่
ควรแนะนำทุก ๆ อย่าง อันชนควรรู้ มีอยู่ ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น
ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้า ประ-
โยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลี้ลับ ประโยชน์ปกปิด ประโยชน์ที่
ควรแนะนำ ประโยชน์ที่บัณฑิตแนะนำแล้ว ประโยชน์ที่ไม่มีโทษ ประ-

โยชน์ที่ปราศจากกิเลส ประโยชน์ผ่องแผ้ว ประโยชน์อย่างยิ่ง ประโยชน์
ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ กายกรรม วจีกรรม
มโนกรรมทั้งหมด ย่อมเป็นไปตามพระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระ
พุทธเจ้า. พระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า มิได้ขัดข้องใน
อดีต อนาคต ปัจจุบัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระญาณก็เท่านั้น
พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณมีส่วนสุดรอบ
แห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ บทธรรมที่ควรแนะนำ ก็มีส่วนสุดรอบแห่ง
พระญาณ พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่ง
บทธรรมที่ควรแนะนำก็มิได้เกินพระญาณไป ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วน
สุดรอบของกันและกัน เมื่อชั้นผอบ 2 ชั้น ปิดสนิทพอดีกัน ชั้นผอบ
ข้างล่างก็ไม่เกินชั้นผอบข้างบน ชั้นผอบข้างบนก็ไม่เกินชั้นผอบข้าง
ล่าง ชั้นผอบทั้ง 2 ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน ฉันใด บท
ธรรมที่ควรแนะนำก็ดี พระญาณก็ดี ของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า
ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของกันและกัน บทธรรมที่ควรแนะนำเท่าใด พระ
ญาณก็เท่านั้น พระญาณเท่าใด บทธรรมที่ควรแนะนำก็เท่านั้น พระญาณ
มีส่วนสุดรอบแห่งบทธรรมที่ควรแนะนำ ก็มีส่วนสุดรอบแห่งพระญาณ.
พระญาณย่อมไม่เป็นไปเกินบทธรรมที่ควรแนะนำ ทางแห่งบทธรรมที่
ควรแนะนำก็มิได้เกินพระญาณไป ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบของ
กันและกัน ฉันนั้น พระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้าย่อม
เป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวง เนื่องด้วยความนึก เนื่องด้วยความ
หวัง เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาท แห่งพระผู้มีพระภาคผู้เป็น

พระพุทธเจ้า พระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระพุทธเจ้า ย่อมเป็น
ไปในสัตว์ทั้งปวง พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย จริต
อธิมุตติ แห่งสัตว์ทั้งปวง ย่อมทรงทราบซึ่งเหล่าสัตว์ผู้มีธุลีคือกิเลสน้อย
ในจักษุ มีธุลีคือกิเลสมากในจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน
มีอาการดี มีอาการทราม ให้รู้แจ้งได้โดยง่าย ให้รู้แจ้งได้โดยยาก เป็น
อภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธ
ญาณ ปลาและเต่าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รวมทั้งปลาติมิ ปลาติมิงคละ และ
ปลาติมิติมิงคละ เป็นที่สุดย่อมเป็นไปในภายในมหาสมุทร ฉันใด โลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปในภายในพระพุทธญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน.
นกเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รวมทั้งครุฑเวนไตย เป็นที่สุด ย่อมเป็นไปใน
ประเทศอากาศ ฉันใด พระพุทธสาวกทั้งหลายผู้เสมอกับพระสารีบุตร
เถระด้วยปัญญาแม้เหล่านั้น ก็เป็นไปในประเทศแห่งพระพุทธญาณ ฉัน
นั้นเหมือนกัน. พระพุทธญาณย่อมแผ่คลุมปัญญาของเทวดาและมนุษย์ทั้ง
หลายตั้งอยู่ พวกบัณฑิตผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี สมณะ มีปัญญา
ละเอียด รู้วาทะของผู้อื่น เหมือนนายขมังธนูยิงขนหางสัตว์แม่น เที่ยวไป
ดุจทำลายทิฏฐิของผู้อื่นด้วยปัญญาของตน บัณฑิตเหล่านั้นปรุงแต่งปัญหา
แล้วเข้าไปเฝ้าพระตถาคตทูลถามปัญหา ปัญหาเหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสย้อนถามและตรัสแก้แล้ว เป็นปัญหามีเหตุที่ทรงแสดงไขและทรง

ใส่เข้าแล้ว บัณฑิตเหล่านั้นย่อมเลื่อมใสต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี
พระภาคเจ้าย่อมทรงไพโรจน์ยิ่งด้วยพระปัญญาในที่นั้นโดยแท้แล เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า ท่านมาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาชื่อว่าโธนา ท่าน
ไม่อาจเพื่อเทียมทันได้เลย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ท่านตรึกคิดถึงทิฏฐิทั้งหลายด้วยใจมาแล้ว ท่าน
มาแข่งคู่ด้วยพระพุทธเจ้าผู้มีปัญญาชื่อว่า โธนา ท่านไม่
อาจเพื่อเทียมทันได้เลย.


จบ ปสูรสุตตนิทเทสที่ 8

อรรถกถาปสูรสุตตนิทเทส



ในปสูรสุตตนิทเทส พึงทราบความย่อของคาถาแรกก่อน.
เจ้าทิฏฐิเหล่านั้นย่อมกล่าวว่า ความหมดจดในธรรมนี้เท่านั้น หมายเอา
ทิฏฐิของตน แต่มิได้กล่าวความหมดจดวิเศษในธรรมเหล่าอื่นเลย สมณ-
พราหมณ์เป็นอันมากอาศัยศาสดาของตนเป็นต้นใด เป็นผู้กล่าวว่างามใน
เพราะศาสดาของตนเป็นต้นนั้นนั่นแหละอย่างนี้ว่า วาทะนี้งาม ตั้งมั่นใน
สัจจะเฉพาะอย่างว่า โลกเที่ยง เป็นต้น.
บทว่า สพฺเพ ปรวาเท ขิปนฺติ ความว่าย่อมทิ้งลัทธิอื่นทั้งหมด.
บทว่า อุกฺขิปนฺติ ความว่า ทิ้งไปไกล.
บทว่า ปริกฺขิปนฺติ ความว่า ทิ้งไปโดยรอบ.
บทว่า สุภวาทา เป็นบทอุทเทสของบทที่จะต้องชี้แจง.
บทว่า โสภณวาทา ความว่า กล่าวว่า งาม อย่างนี้.
บทว่า ปณฺฑิตวาทา ความว่า กล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราเป็น
บัณฑิต.
บทว่า ธีรวาทา ความว่า กล่าวว่าพวกเรากล่าววาทะที่ปราศจากโทษ.
บทว่า ญายวาทา1 ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่ควร.
บทว่า เหตุวาทา ความว่า กล่าวว่า พวกเรากล่าววาทะที่ประกอบ
ด้วยเหตุ.

1. บาลีเป็นญาณวาทา.