เมนู

[273] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท
เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล สมณพราหมณ์
เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้วย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน เป็น
ผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าคนเป็นคนฉลาด.


ว่าด้วยการยกวาทะ



[274] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไป
สู่บริษัท
มีความว่า คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ
ได้แก่ สมณพราหมณ์เหล่านั้นใคร่วาทะ ต้องการวาทะ ประสงค์วาทะ
มุ่งหมายวาทะ เที่ยวแสวงหาวาทะ คำว่า เข้าไปสู่บริษัท ได้แก่เข้าไป
หยั่งลง เข้าถึง เข้าหา ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท
สมณบริษัท เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ
เข้าไปสู่บริษัท
.
[275] คำว่า เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล
มีความว่า คำว่า เป็นคู่ปรับ ได้แก่ เป็นคนสองฝ่าย เป็นผู้ทำความ
ทะเลาะกันทั้งสองฝ่าย ทำความหมายมั่นกันทั้งสองฝ่าย ทำความอื้อฉาวกัน
ทั้งสองฝ่าย ทำความวิวาทกันทั้งสองฝ่าย ก่ออธิกรณ์กันทั้งสองฝ่าย มี
วาทะกนทั้งสองฝ่าย โต้เถียงกันทั้งสองฝ่าย สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมมุ่ง
กันและกัน คือ ดู เห็น แลดู เพ่งดู พิจารณาดู กันและกัน โดย
ความเป็นคนพาล เป็นคนเลว เป็นคนเลวทราม เป็นคนต่ำช้า เป็นคน

ลามก เป็นคนสกปรก เป็นคนต่ำต้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นคู่ปรับ
ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล
.
[276] คำว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น อาศัยสิ่งอื่นแล้ว
ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน
มีความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นอาศัย
อาศัยด้วยดี พัวพัน เข้าถึง ติดใจ น้อมใจถึงสิ่งอื่น คือ ศาสดา ธรรม
ที่ศาสดากล่าว สมณะสงฆ์ ทิฏฐิ ปฏิปทา มรรค.
ความทะเลาะกัน ความหมายมั่น ความแก่งแย่ง ความวิวาท ความ
มุ่งร้าย เรียกว่า ถ้อยคำคัดค้านกัน อีกอย่างหนึ่ง ถ้อยคำที่ไม่มีน้ำมีนวล
เรียกว่า คำคัดค้านกัน สมณพราหมณ์เหล่านั้นย่อมกล่าว คือ พูด
แสดง แถลง ซึ่งคำคัดค้านกัน คำหมายมั่นกัน คำแก่งแย่งกัน คำวิวาท
กัน คำมุ่งร้ายกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้น
อาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน
.
[277] คำว่า เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าตนเป็น
คนฉลาด
มีความว่า คำว่า เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ ได้แก่ เป็น
ผู้ใคร่ความสรรเสริญ ต้องการความสรรเสริญ ประสงค์ความสรรเสริญ
มุ่งหมายความสรรเสริญ เที่ยวแสวงหาความสรรเสริญ. คำว่า กล่าวว่าตน
เป็นคนฉลาด
ได้แก่ พูดว่าตนเป็นคนฉลาด พูดว่าตนเป็นบัณฑิต
พูดว่าตนเป็นนักปราชญ์ พูดว่าตนเป็นผู้มีญาณ พูดว่าคนเป็นผู้มีเหตุ
พูดว่าตนเป็นผู้มีลักษณะ พูดว่าตนเป็นผู้มีการณะ ด้วยลัทธิของตน เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าตนเป็นผู้ฉลาด
เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-

สมณพราหมณ์เหล่านั้น ใคร่วาทะ เข้าไปสู่บริษัท
เป็นคู่ปรับ ย่อมมุ่งกันและกันว่าเป็นพาล สมณพราหมณ์
เหล่านั้นอาศัยสิ่งอื่นแล้ว ย่อมกล่าวถ้อยคำคัดค้านกัน
เป็นผู้ใคร่ความสรรเสริญ กล่าวว่าตนเป็นคนฉลาด.

[278] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท เมื่ออยาก
ได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน
ในเมื่อถ้อยคำของตนถูกเขาค้านตกไป ย่อมขัดเคืองเพราะ
ความติเตียนย่อมเป็นผู้แสวงหาช่องทางแก้ตัว.


ว่าด้วยแพ้วาทะแล้วขัดเคือง



[279] คำว่า ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่านกล่างบริษัท มี
ความว่า ชนผู้ประกอบ คือ ประกอบทั่ว ประกอบเอื้อเฟื้อ ประกอบ
ด้วยดี ประกอบพร้อม ในถ้อยคำของตน เพื่อกล่าวในท่ามกลางขัตติย
บริษัท พราหมณบริษัท คหบดีบริษัท สมณบริษัท เพราะฉะนั้น จึงชื่อ
ว่า ชนผู้ประกอบถ้อยคำในท่ามกลางบริษัท.
[280] คำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ย่อมเป็นผู้ลังเล
ใจ
มีความว่า คำว่า เมื่ออยากได้ความสรรเสริญ ได้แก่ เมื่ออยากได้
ยินดี ปรารถนา ชอบใจ รักใคร่. คำว่า ความสรรเสริญ คือ ความชมเชย
ความมีเกียรติ ความยกย่องคุณ. คำว่า ย่อมเป็นผู้ลังเลใจ ความว่า ก่อน
แต่โต้ตอบ ย่อมเป็นผู้สงสัย ลังเลใจ คือ ก่อนแต่โต้ตอบ ย่อมเป็นผู้สงสัย