เมนู

ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่ 1 อธิษฐานความประพฤติผู้เดียวด้วยส่วน
บรรพชาอย่างไร ? ภิกษุตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ฯลฯ อธิษฐานความ
ประพฤติผู้เดียวด้วยส่วนบรรพชาอย่างนี้ อธิษฐานความประพฤติผู้เดียว
ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่ อย่างไร ? ภิกษุนั้นบวชแล้วอย่างนั้น
เป็นผู้เดียวซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่าละเมาะและป่าทึบ อันสงัด ฯลฯ
อธิษฐานความประพฤติผู้เดียว ด้วยการละความคลุกคลีด้วยหมู่อย่างนี้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อธิษฐานความประพฤติผู้เดียว.
[253] คำว่า แม้ภายหลังประกอบในเมถุนธรรม มีความว่า
ชื่อว่าเมถุนธรรม ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ ฯลฯ เพราะเหตุนั้นจึงเรียก
ว่า เมถุนธรรม. คำว่า แม้ภายหลังประกอบในเมถุนธรรม ความ
ว่าสมัยต่อมา ภิกษุนั้นบอกคืนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขา
แล้วเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบด้วยความเอื้อเฟื้อ
ประกอบด้วยดี ในเมถุนธรรม เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า แม้ภายหลัง
ประกอบเมถุนธรรม
.

ว่าด้วยการลงโทษ



[254] คำว่า จักเศร้าหมอง เหมือนคนโง่ฉะนั้น มีความว่า
บุคคลนั้นจักลำบาก จักเศร้าหมอง มัวหมอง เหมือนคนกำพร้า เหมือน
คนหลงใหล ฉะนั้น. คือ ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ลักทรัพย์บ้าง ตัดที่ต่อบ้าง
ปล้นโดยไม่เหลือบ้าง ปล้นเรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นที่หนทางเปลี่ยวบ้าง
คบหาภรรยาของผู้อื่นบ้าง กล่าวเท็จบ้าง จักลำบาก จักเศร้าหมอง
มัวหมอง แม้อย่างนี้ พระราชารับสั่งให้จับกุมบุคคลนั้นแล้ว ให้ทำ

กรรมกรณ์ต่าง ๆ คือ ให้เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง ให้เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ให้ตีด้วย
ไม้พลองบ้าง ให้ตัดมือบ้าง ให้ตัดเท้าบ้าง ให้ตัดมือและเท้าบ้าง ให้ตัด
ใบหูบ้าง ให้ตัดจมูกบ้าง ให้ตัดใบหูและจมูกบ้าง วางก้อนเหล็กแดงบน
ศีรษะบ้าง ถลกหนังศีรษะออกแล้วขัดให้ขาวเหมือนสังข์บ้าง ใส่ไฟลุก
โพลงเข้าไปในปากจนโลหิตไหลออกเต็มปากเหมือนปากราหูบ้าง พันตัว
ด้วยผ้าชุบน้ำมันแล้วเผาทั้งเป็นบ้าง พ้นมือด้วยผ้าจุดไฟให้ลุกเหมือนประทีป
บ้าง ถลกหนังตั้งแต่คอลงมาถึงข้อเท้า ลุกเดินเหยียบหนังนั้นจนล้มลงบ้าง
ถลกหนังตั้งแต่คอลงมาถึงบันเอว ทำให้เป็นดังนุ่งผ้าคากรองบ้าง สวม
ปลอกเหล็กที่ข้อศอกและเข่าทั้งหมดแล้วเสียบหลาวเหล็ก 5 ทิศ ตั้งไว้เผา
ไฟบ้าง เอาเบ็ดเกี่ยวหนังเนื้อเอ็นออกมาบ้าง เอามีดเฉือนเนื้อออกเป็น
แว่น ๆ ดังเหรียญกษาปณ์บ้าง เฉือนหนังเนื้อเอ็นออกเหลือแต่กระดูกบ้าง
เอาหลาวเหล็กแทงที่ช่องหูจนทะลุถึงกัน เสียบติดดินแล้วจับขาหมุนไปโดย
รอบบ้าง ทุบให้กระดูกละเอียดแล้วถลกหนังออกเหลือแต่กองเนื้อดังตั่งใบ
ไม้บ้าง เอาน้ำมันเดือดพล่านรดตัวบ้าง ให้สุนัขกัดกินจนเหลือแต่กระดูก
บ้าง เสียบหลาวยกขึ้นนอนหงายทั้งเป็นบ้าง เอาดาบตัดศีรษะบ้าง บุคคล
นั้นจักลำบาก จักเศร้าหมอง มัวหมองแม้อย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง บุคคล
นั้นถูกกามตัณหาครอบงำแล้ว มีจิตอันกามตัณหาตรึงไว้แล้ว เมื่อแสวงหา
โภคทรัพย์ ย่อมแล่นไปสู่มหาสมุทรด้วยเรือ ฝ่าหนาว ฝ่าร้อน ถูกสัมผัส
แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลานเบียดเบียน ถูกความหิว
กระหายเบียดเบียนอยู่ ไปคุมพรัฐ ไปตักโกลรัฐ ไปตักกสิลรัฐ ไปกาล-
มุขรัฐ ไปมรณปารรัฐ ไปเวสุงครัฐ ไปเวราปถรัฐ ไปชวรัฐ ไปกมลิรัฐ

ไปวังกรัฐ ไปเอฬวัททนรัฐ ไปสุวัณณกูฏรัฐ ไปสุวัณณภูมิรัฐ ไปตัมพ-
ปัณณิรัฐ ไปสุปปารรัฐ ไปภรุกรัฐ ไปสุรัทธรัฐ ไปอังคเณกรัฐ ไป
คังคณรัฐ ไปปรมคังคณรัฐ ไปโยนรัฐ ไปปีนรัฐ ไปอัลลสันทรัฐ ไป
มรุกันดารรัฐ เดินทางที่ต้องไปด้วยเข่า เดินทางที่ต้องไปด้วยแกะ เดินทาง
ที่ต้องไปด้วยแพะ เดินทางที่ต้องโหนไปด้วยเชือกและหลัก เดินทางที่
ต้องโดดลงด้วยร่มหนังแล้วจึงเดินไปได้ เดินทางที่ต้องไปด้วยพะองไม้ไผ่
เดินทางตามทางนก เดินทางตามทางหนู เดินทางตามทางซอกภูเขา เดิน
ทางตามลำธารที่ท้องไต่ไปตามเส้นหวาย จักลำบาก จักเศร้าหมอง
มัวหมองแม้อย่างนี้ เมื่อแสวงหาไม่ได้ ย่อมเสวยทุกข์และโทมนัสแม้มี
ความไม่ได้เป็นมูล จักลำบาก จักเศร้าหมอง มัวหมองแม้อย่างนี้ เมื่อ
แสวงหาได้ ครั้นได้แล้วก็เสวยทุกข์และโทมนัสแม้มีความรักษาเป็นมูล
ด้วยวิตกอยู่ว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ พระราชาจึงจะไม่ริบโภคทรัพย์ของเรา
พวกโจรจะไม่ลักไป ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่พัดไป พวกทายาทอัปรีย์จะ
ไม่ขนเอาไป เมื่อรักษาปกครองอย่างนี้ โภคทรัพย์ย่อมสลายไป บุคคล
นั้นก็เสวยทุกข์และโทมนัส แม้มีความสลายไปแห่งทรัพย์เป็นมูล จักลำบาก
จักเศร้าหมอง มัวหมองแม้อย่างนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าจักเศร้าหมอง
เหมือนคนโง่ฉะนั้น
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ภิกษุเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นบัณฑิต อธิษฐานความ
ประพฤติผู้เดียว แม้ภายหลังประกอบเมถุนธรรม จักเศร้า
หมองเหมือนคนโง่ ฉะนั้น.

[255] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
มุนีทราบโทษนั้น ในความเป็นฆราวาสอื่นแต่ความ
เป็นสมณะก่อนในธรรมวินัยนี้ พึงทำความประพฤติผู้เดียว
ให้มั่น ไม่พึงเสพเมถุนธรรม.


ว่าด้วยปฏิปทาของมุนี



[256] คำว่า มุนีทราบโทษนั้น ในความเป็นฆราวาสอื่น
แต่ความเป็นสมณะก่อน ในธรรมวินัยนี้
มีความว่า คำว่า นั้น
ได้แก่ มุนี ทราบ รู้ เทียบเคียง ทำให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง ซึ่ง
สมบัติและวิบัตินั้น คือ ยศและเกียรติในกาลก่อน คือ ในคราวเป็น
สมณะ ย่อมกลายเป็นความเสื่อมยศและเสื่อมเกียรติ ของภิกษุผู้บอกคืน
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขาแล้วเวียนมาเป็นคฤหัสถ์ใน
ภายหลัง.
คำว่า มุนี ความว่า ญาณ เรียกว่า โมนะ ได้แก่ ปัญญา
ความรู้ทั่ว ฯลฯ ก้าวล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องและตัณหาเพียงดังข่าย ดำรง
อยู่ และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว บุคคลนั้นชื่อว่า มุนี.
คำว่า ในธรรมวินัยนี้ ได้แก่ ในทิฏฐิ ในความควร ในความ
ชอบใจ ในเขตแดน ในธรรม ในวินัย ในธรรมวินัย ในปาพจน์ ใน
พรหมจรรย์ ในสัตถุศาสน์ ในอัตภาพ ในมนุษยโลกนี้ เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า มุนีทราบโทษนั้น ในความเป็นฆราวาสอื่นแต่ความเป็น
สมณะก่อน ในธรรมวินัยนี้
.