เมนู

ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ 7



[224] ท่านพระติสสเมตเตยยะ กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ซึ่งความคับแค้นของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุน-
ธรรม พวกข้าพระองค์ได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว จัก
ศึกษาในวิเวก.


ว่าด้วยเมถุนธรรม



[225] คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนื่อง ๆ ในเมถุนธรรม
ความว่า ชื่อว่า เมถุนธรรม ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมของชาว
บ้าน ธรรมของคนเลว ธรรมชั่วหยาบ ธรรมมีน้ำเป็นที่สุด ธรรมอัน
พึงทำในที่ลับ ธรรมคือความถึงพร้อมด้วยธรรมของคนคู่กัน.
เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าเมถุนธรรม ? เพราะเป็นธรรมของคนทั้งสอง
ผู้กำหนัด กำหนัดกล้า ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะ
ครอบงำ เป็นเช่นเดียวกันทั้งสองคน เพราะเหตุดังนี้นั้น จึงเรียกว่า
เมถุนธรรม.
คน 2 คนทำความทะเลาะกัน เรียกว่าคนคู่, คน 2 คนทำความ
มุ่งร้ายกัน เรียกว่าคนคู่, คน 2 คนทำความอื้อฉาวกัน เรียกว่าคนคู่,

คน 2 คนทำความวิวาทกัน เรียกว่าคนคู่, คน 2 คนก่ออธิกรณ์กัน
เรียกว่าคนคู่, คน 2 คนพูดกัน เรียกว่าคนคู่ คน 2 คนปราศรัยกัน
เรียกว่าคนคู่, ฉันใด ธรรมนั้นเป็นธรรมของคนทั้งสองผู้กำหนัด กำหนัด
กล้า ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะครอบงำ เป็นเช่น
เดียวกันทั้งสองคน ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้แล้ว จึงเรียกว่า
เมถุนธรรม.
คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม ได้แก่
ของบุคคลผู้ประกอบ ประกอบทั่ว ประกอบเอื้อเฟื้อ ประกอบพร้อม ใน
เมถุนธรรม คือผู้ประพฤติในเมถุนธรรม มักมากในเมถุนธรรม หนักใน
เมถุนธรรม น้อมไปในเมถุนธรรม โน้นไปในเมถุนธรรม โอนไปใน
เมถุนธรรม น้อมใจไปในเมถุนธรรม มีเมถุนธรรมนั้นเป็นใหญ่ เพราะ
ฉะนั้นจึงชื่อว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุนธรรม.
[226] คำว่า ท่านพระติสสเมตเตยยะกราบทูลถามพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า
มีความว่า ศัพท์ว่า อิติ เป็นบทสนธิเชื่อมบท เป็น
ปทปูรณะ ควบอักษร เป็นศัพท์มีพยัญชนะสละสลวย เป็นลำดับบท.
คำว่า อายสฺมา เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวด้วยความ
เคารพ เป็นคำกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ เป็นคำกล่าวด้วยความ
ยำเกรง.
คำว่า ติสฺส เป็นนาม เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้ เป็นบัญญัติ
เป็นโวหาร เป็นชื่อ เป็นความตั้งขึ้น เป็นความทรงชื่อ เป็นเครื่องกล่าว.
ถึง เป็นเครื่องแสดงความหมาย เช่นเครื่องกล่าวเฉพาะ แห่งพระเถระนั้น.

คำว่า เมตเตยยะ เป็นโคตร เป็นเครื่องนับ เป็นเครื่องหมายรู้
เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร แห่งพระเถระนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ท่าน
พระติสสเมตเตยยะกราบทูลถามผู้มีพระภาคเจ้าว่า
.
[227] คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรด
ตรัสบอกซึ่งความคับแค้น
มีความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก คือ
โปรดบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้แสดง
ประกาศซึ่งความคับแค้น คือ ความเข้าไปกระทบ ความเบียดเบียน ความ
กระทบกระทั่ง ความระทมทุกข์ ความขัดข้อง.
คำว่า มาริสะ เป็นคำกล่าวด้วยความรัก เป็นคำกล่าวด้วยความ
เคารพ เป็นคำกล่าวเป็นไปกับด้วยความเคารพ เป็นคำกล่าวด้วยความ
ยำเกรง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์
โปรดตรัสบอกซึ่งความคับแค้น
.
[228] คำว่า ได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว มีความว่า ได้
ฟัง ได้สดับ ศึกษา เข้าไปทรง เข้าไปกำหนด ซึ่งพระดำรัส คำเป็นทาง
เทศนา คำพร่ำสอนขอพรพระองค์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ได้ฟังคำสอน
ของพระองค์แล้ว
.

ว่าด้วยวิเวก 3



[229] คำว่า จักศึกษาในวิเวก มีความว่า คำว่า วิเวก ได้แก่
วิเวก 3 คือ กายวิเวก, จิตวิเวก, อุปธิวิเวก.