เมนู

อรรถกถาชราสุตตนิทเทส



ในชราสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อปฺปํ วต ชีวิตํ อทํ ความว่า ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย
นี้หนอน้อย คือ นิดหน่อย.
บทว่า ฐิติปริตฺตตาย สรสปริตฺตตาย มีนัยดังกล่าวแล้วแม้ใน
คุหัฏฐกสูตร.
บทว่า โอรํ วสฺสสตาปิ มิยฺยติ ความว่า ย่อมตายภายในร้อยปี
ในกาลเป็นกลละเป็นต้นก็มี.
บทว่า อติจฺจ ความว่าเกินร้อยปี.
บทว่า ชรสาปิ มิยฺยติ ความว่า ย่อมตายแม้เพราะชราความ
ต่อแต่นี้พึงถือเอาโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาคุหัฏฐกสูตรนั่นแล.
บทว่า อปฺปํ ได้แก่ น้อย.
บทว่า คมนี โย สมฺปราโย ความว่า พึงไปปรโลก. ชื่อว่า
กลละ ในบทว่า กลลกาเลปิ ในขณะปฏิสนธิเป็นกลละที่ใสแจ๋ว
ประมาณเท่าหยาดน้ำมัน ซึ่งติดอยู่ที่ปลายเส้นด้ายทำด้วยขนสัตว์ 3 เส้น
ที่ท่านหมายกล่าวไว้ว่า :-
หยาดน้ำมันงา ใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัวฉันใด รูปที่มี
ส่วนเปรียบด้วย วรรณะ ก็ฉันนั่น เรียกว่า กลละ แม้
ในกาลเป็นกลละนั้น.

บทว่า จวติ ความว่า เคลื่อนจากชีวิต.
บทว่า มรติ ความว่า ถึงความพรากจากชีวิต.
บทว่า อนฺตรธายติ ความว่า ถึงการเห็นไม่ได้.
บทว่า วิปฺปลุชฺชติ ความว่า ขาด อาจารย์บางพวกอธิบายอย่าง
นี้ว่าเคลื่อนในกำเนิดอัณฑชะ ตายในกำเนิดชลาพุชะ หายในกำเนิด
สังเสทชะสลายไปในกำเนิดโอปปาติกะ.
บทว่า อมฺพุทกาเลปิ ความว่า ชื่อว่า อัมพุทะ ย่อมมีสีเหมือน
น้ำล้างเนื้อ เมื่อเป็นกลละได้ 7 วัน ชื่อว่า กลละ ย่อมหายไป สม
จริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
เป็นอัมพุทะได้ 7 วัน สุกงอม พ้นสภาพ เปลี่ยน
ภาวะที่เป็นอัมพุทะนั้น เกิดเป็นสภาพชื่อว่า เปสิ แม้ใน
กาลเป็นเปสินั้น.

บทว่า เปสิกาเลปิ ความว่า เมื่อเป็นอัมพุทะแม้นั้นได้ 7 วัน
ย่อมเกิดเป็นสภาพชื่อว่าเปสิเช่นกับดีบุกที่ละลายคว้าง เปสินั้น พึงแสดง
ด้วยพริกและน้ำอ้อย ก็พวกเด็กชาวบ้านเก็บพริกที่สุกดี ห่อที่ชายผ้า คั้น
เอายอดรสใส่กระเบื้องวางตากแดด ยอดรสนั้นจะแห้งเข้า ๆ พ้นจากส่วน
ทั้งปวง เปสิย่อมมีลักษณะอย่างนั้น ชื่อว่า อัมพุทะย่อมหายไป สม
จริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
เป็นกลละได้ 7 วัน สุกงอม พ้นสภาพ เปลี่ยน
ภาวะที่เป็นกลละนั้นเกิดเป็นสภาพชื่อว่าอัมพุทะ แม้ใน
กาลเป็นอัมพุทะนั้น.

บทว่า ฆนกาเลปิ ความว่า เมื่อเป็นเปสิแม้นั้นได้ 7 วันย่อม
บังเกิดก้อนเนื้อชื่อว่าฆนะมีสัณฐานเหมือนฟองไข่ไก่ ชื่อว่า เปสิย่อม
หายไป
สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
เป็นเปสิได้ 7 วัน สุกงอม พ้นสภาพ เปลี่ยน
ภาวะที่เป็นเปสินั้นสภาพชื่อว่า ฆนะ ฟองไข่ของแม่ไก่
เป็นวงราบโดยรอบฉันใดสัณฐานของฆนะบังเกิดเพราะ
กรรมเป็นปัจจัย ก็ฉันนั้น แม่ในกาลเป็นฆนะนั้น.

บทว่า ปญฺจสาขกาเลปิ ความว่า ในสัปดาห์ที่ 5 เกิดต่อม 5
ต่อม เป็นมือ 2 เท้า 2 ศีรษะ 1 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อม 5 ต่อมย่อมตั้งขึ้นแต่กรรมในสัปดาห์ที่
5 ดังนี้ แม้ในกาลเป็นสาขานั้น ต่อแต่นั้น พระสารีบุตรเถระย่อเทศนา
ข้ามสัปดาห์ที่ 6 ที่ 7 เป็นต้นไปเสีย ในกาลที่เปลี่ยนไป 42 สัปดาห์
เป็นกาลเกิดขึ้นแห่งผมขนและเล็บเป็นต้นและสายรก ที่ตั้งขึ้นแต่นาภีของ
ทารกนั้นย่อมเนื่องเป็นอันเดียวกันกับด้วยพื้นอุทรของมารดา สายรกนั้น
เป็นรูคล้ายก้านบัว รสอาหารแล่นไปทามสายรกนั้น ยังรูปซึ่งมีอาหารเป็น
สมุฏฐานให้ตั้งขึ้น ทารกนั้นยังอัตภาพให้เป็นไปตลอด 10 เดือนด้วย
อาการอย่างนี้พระเถระกล่าวว่า สูติฆเร มิได้กล่าวเรื่องทั้งปวงนั้นที่ท่าน
หมายกล่าวว่าผมขน และแม้เล็บ.
ก็มารดาของนระนั้น บริโภคอาหารใด ทั้งข้าวน้ำ
และโภชนะนระที่อยู่ในครรภ์มารดาย่อมยังอัตภาพให้เป็น
ไปในที่นั้น ด้วยอาหารนั้น

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สูติฆเร ความว่าในเรือนตลอด คือ
ในเรือนเป็นที่คลอด ปาฐะว่า สูติกาฆเร ก็มี ตัดบทเป็น สูติกาย.
บทว่า อฑฺฒมาสิโกปิ ความว่า ชื่อว่า อัทฒมาสกะ เพราะ
อรรถว่ามีชีวิตอยู่กึ่งเดือนตั้งแต่วันคลอด แม้ในบทว่ามีชีวิตอยู่ 2 เดือน
เป็นต้นก็นัยนี้แหละ. ชื่อว่า สังวัจฉริกะ เพราะอรรถว่า มีชีวิตอยู่
1 ปี ตั้งแต่วันเกิด แม้ในบทว่ามีชีวิตอยู่ 2 ปี เป็นต้น เบื้องบนก็
นัยนี้แหละ.
บทว่า ยทาชิณฺโณ โหติ ความว่าในกาลใด มนุษย์เป็นผู้คร่ำ
คร่าเพราะชรา เป็นผู้เหี่ยวแห้ง.
บทว่า วุฑฺโฒ ความว่า เจริญวัย.
บทว่า มหลฺลโก ความว่า เป็นผู้ใหญ่โดยกำเนิด.
บทว่า อทฺธคโต ความว่าล่วงกาลทั้ง 3.
บทว่า วโยอนุปฺปตฺโต ความว่า ถึงวัยที่ 3 ตามลำดับ
บทว่า ขณฺฑทนฺโต ความว่า ชื่อว่ามีฟันหัก เพราะอรรถว่า
มีฟันร่วงและห่างในระหว่าง ๆ และฟันหัก ด้วยอานุภาพของชรา.
บทว่า ปลิตเกโส ความว่า มีผมขาว บทว่า วิลูนํ ความว่า
ล้านดุจเส้นผมถูกจับถอน.
บทว่า ปลิตสิโร ความว่า มีศีรษะล้านมาก.
บทว่า วลินํ ความว่ารอยย่นที่เกิดเอง.
บทว่า ติลกาหตคตฺโต ความว่า มีสรีระเกลื่อนไปด้วยกระขาว
และกระดำ.

บทว่า โภคฺโค ความว่า หักแล้วพระเถระแสดงความคดของสรีระ
นั้น แม้ด้วยบทนี้.
บทว่า ทณฺฑปรายโน ความว่า มีไม้เท้าเป็นที่พึ่งอาศัย คือมี
ไม้เท้าเป็นเพื่อน.
บทว่า โส ชรายปิ ความว่าบุคคลนั้นแม้ถูกชราครอบงำแล้วย่อม
ตาย.
บทว่า นตฺถิ มรณมฺหา โมกฺโข ความว่า อุบายเป็นเครื่อง
พ้นจากความตาย ไม่มี คือไม่เข้าไปได้.
บทว่า ผลานมิว ปกฺกานํ ปาโต ปตนโต ภยํ ความว่า
เหมือนพวกเจ้าของผลไม้กลัวผลไม้สุกมีผลขนุนเป็นต้น ที่สุกงอมมีขั้วหย่อน
หล่นแน่ในเวลาเช้าตรู่ บทว่า เอวํ ชาตานมจฺจานํ มิจฺจํ มรณโต
ภยํ
ความว่า เหล่าสัตว์ที่เกิดขึ้นแล้วมีภัยแต่ความตายกล่าวคือมัจจุ ตลอด
กาลที่เป็นไปติดต่อ ฉันนั้นเหมือนกัน.
บทว่า ยถาปิ กุมฺภการสฺส ความว่า ผู้กระทำภาชนะดิน ชื่อ
ฉันใด.
บทว่า กตํ มตฺติกภาชนํ ความว่า ภาชนะที่นายช่างนั้นให้
สำเร็จ บทว่า สพฺพํ เภทปริยนฺตํ ความว่า ภาชนะดินที่เผาสุกและ
ไม่สุกทั้งหมด ชื่อว่ามีความแตกเป็นที่สุด เพราะอรรถว่ามีความแตก คือ
ทำลาย เป็นที่สุด คือจบลง.
บทว่า เอวํมจฺจานชีวิตํ ความว่า อายุสังขารของสัตว์ทั้งหลาย
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

บทว่า ทหรา จ มหนฺตา จ ความว่า ทั้งหนุ่ม ทั้งแก่.
บทว่า เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา ความว่าทั้งคนโง่ที่มีชีวิต
เนื่องด้วยลมหายใจเข้าลมหายใจออกทั้งคนฉลาดที่ประกอบด้วยความเป็น
บัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น.
บทว่า สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ ความว่า คนหนุ่มเป็นต้นทั้งหมด
ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้วเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงซึ่งอำนาจของมัจจุ.
บทว่า เตสํ มจฺจุปเรตานํ ความว่า คนเหล่านั้นอันมัจจุแวด
ล้อมแล้ว.
บทว่า คจฺฉตํ ปรโลกโต ความว่า ไปจากมนุษยโลกนี้สู่ปรโลก.
บทว่า นปิตา ตายเต ปุตฺตํ ความว่า บิดาย่อมรักษาบุตรไว้
ไม่ได้.
บทว่า ญาตี วา ปน ญาตเก ความว่า หรือพวกญาติฝ่าย
มารดาบิดา ก็ไม่อาจรักษาญาติเหล่านั้นไว้ได้เลย.
บทว่า เปกฺขตญฺเญว ญาตีนํ ความว่า เมื่อพวกญาติอย่างที่
กล่าวแล้วนั่นแล กำลังเพ่งดู คือแลดูกันอยู่นั่นแหละ.
บทว่า ปสฺส ลาลปฺปตํ ปุถุ ความว่า คำว่า ปสฺส เป็น
อาลปนะ. เมื่อพวกญาติกำลังรำพันกันอยู่คือบ่นเพ้อกันอยู่เป็นอันมาก คือ
มีประการต่าง ๆ.
บทว่า เอกมโกว มจฺจานํ โควชฺโฌ วิย นิยฺยติ ความว่า
เหล่าสัตว์แต่ละคนอันมรณะนำไป คือให้ถึงความตาย เหมือนโคถูกนำ
ไปฆ่า

บทว่า เอวํ อพฺภาหโต โลโก ความว่า สัตว์โลกถูกนำมา
เป็นเครื่องประดับอย่างนี้เท่านั้น.
บทว่า มจฺจุนา จ ชราย จ ความว่า ความตายและความแก่
ครอบงำไว้.
บทว่า มมายิเต ความว่า เพราะเหตุแห่งวัตถุที่ถือว่าของเรา.
บทว่า วนาภาวสนฺตมวทํ ความว่า การยึดถือนี้มีความพลัดพราก
คือความพลัดพรากมีอยู่ทีเดียว ท่านอธิบายว่า ไม่อาจที่จะไม่พลัดพราก.
บทว่า โสจนฺติ ความว่า กระทำความเศร้าโศกด้วยจิตคืออาการ
เศร้าใจ.
บทว่า กิลมนฺติ ความว่า ถึงความลำบากด้วยกาย.
บทว่า ปรทวนฺติ ความว่า ถึงความบ่นเพ้อด้วยวาจามีอย่างต่าง ๆ.
บทว่า อุรตฺตาฬึ กนฺทนฺติ ความว่า ทุบอกชกตัวคร่ำครวญอยู่
บทว่า สมฺโมหํ อาปชฺชนฺติ ความว่า ถึงความหลงใหล.
บทว่า อนิจฺโจ ความว่า ด้วยอรรถว่ามีแล้วไม่มี.
บทว่า สงฺขโต ความว่า อันปัจจัยทั้งหลายประชุมกันกระทำ.
บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺโน ความว่า อาศัยคือไม่บอกคือสามัคคีที่
เป็นปัจจัย เกิดขึ้นร่วมกันและโดยชอบ.
บทว่า ขยธมฺโม ความว่า มีการถึงความสิ้นไปเป็นสภาพ.
บทว่า วยธมฺโม ความว่า มีการถึงความเสื่อมไปเป็นสภาพ อธิบาย
ว่ามีการถึงความทำลายเป็นสภาพ.

บทว่า วิราคธมฺโม ความว่า มีความคลายกำหนัดเป็นสภาพ.
บทว่า นิโรธธมฺโน ความว่า มีความดับเป็นสภาพ.
บทว่า ยฺวายํ ปริคฺคโห ความว่า ความยึดถือนี้ใด ปาฐะว่า
ยายํ ปริคฺคโห ก็มี ตัดบทก็อย่างนี้แหละ.
บทว่า นิจฺโจ ความว่า เป็นไปตลอดกาลติดต่อ.
บทว่า ธุโว ความว่า มั่น.
บทว่า สสฺสโต ความว่า ไม่เคลื่อน.
บทว่า อวิปริณามธมฺโม ความว่า มีการไม่ละปกติเป็นสภาพ.
บทว่า สสฺสติสมํ ตเถว ฐสฺสติ ความว่า พึงตั้งอยู่ เหมือน
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เขาสิเนรุ มหาสมุทร แผ่นดิน และภูเขาเป็นต้น.
บทว่า นานาภาโว ความว่า สภาพต่าง ๆ โดยกำเนิด.
บทว่า วินาภาโว ความว่า ความพลัดพรากเพราะความตาย.
บทว่า อญฺญถาภาโว ความว่า ความเป็นอย่างอื่นโดยภพ.
บทว่า ปุริมานํ ปุริมานํ ขนฺธานํ ความว่า ขันธ์ที่เกิดขึ้นใน
ก่อนติด ๆ กัน.
บทว่า วิปริณามญฺญถาภาวา เชื่อมความว่า ขันธ์เป็นต้นหลัง ๆ
ละภาวะปกติแล้วเป็นไป คือเกิดขึ้นโดยภาวะอย่างอื่น.
บทว่า สพฺพํ ฆราวาสปลิโพธํ ความว่า รกชัฏในความเป็นคฤหัสถ์
ทั้งสิ้น.
บทว่า ญาติมิตฺตามจฺจปลิโพธํ ความว่า ญาติฝ่ายมารดาบิดา
มิตร สหาย อำมาตย์ พวกหมู่.

บทว่า สนฺนิธิปลิโพธํ ความว่า ทิ้งรกชัฏในสมบัติที่เก็บฝังไว้.
บทว่า เกสมสฺสุํ โอหาเรตฺวา ความว่า ปลงผมและหนวด.
บทว่า กาสายานิ วตฺถานิ ความว่า ผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด.
บทว่า มามโก ความว่า ถึงการนับว่าอุบาสกหรือภิกษุของเรา หรือ
นับถือวัตถุมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ว่าของเรา.
บทว่า เตสํ เตสํ สตฺตานํ เป็นบทแสดงทั่วไปถึงเหล่าสัตว์มิใช่
น้อย ก็เมื่อกล่าวอยู่แม้ตลอดวันอย่างนี้ว่า ยัญทัตตาย โสมทัตตาย สัตว์
ทั้งหลายย่อมไม่ถือเอาเลย การแสดงอรรถอื่นทั้งปวงย่อมไม่สำเร็จ แต่คน
บางคนจะไม่ถือเอาด้วยบททั้งสองนี้ก็หามิได้ การแสดงอรรถอื่นบางอย่าง
จึงไม่สำเร็จ.
บทว่า ตมฺหา ตมฺหา นี้เป็นบทแสดงทั่วไปถึงหมู่สัตว์มิใช่น้อย
ด้วยสามารถแห่งคติ.
บทว่า สตฺตนิกายา ความว่า จากหมู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย อธิบาย
ว่า จากกลุ่มสัตว์ จากประชุมแห่งสัตว์.
บทว่า จุติ ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งความเคลื่อน บทนี้เป็นคำ
สามัญของจุติที่มีขันธ์ 1 ขันธ์ 4 และขันธ์ 5.
บทว่า จวนตา แสดงถึงลักษณะด้วยคำแสดงภาวะ.
บทว่า เภโท แสดงถึงความเกิดขึ้นแห่งการแตกสลายของขันธ์.
บทว่า อนฺตรธานํ แสดงถึงความไม่มีที่สุดโดยปริยายอย่างใดอย่าง
หนึ่งของขันธ์ที่แตกแล้ว ดุจหม้อแตก.

บทว่า มจฺจุมรณํ ความว่า ความตายกล่าวคือมัจจุ มิใช่ตายชั่วขณะ
ผู้กระทำที่สุดชื่อว่ากาละ ชื่อว่า กาลกิริยา เพราะอรรถว่า กระทำกาละ
นั้น ความตายโดยสมมติ ท่านแสดงแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้.
บัดนี้ เพื่อจะแสดงโดยปรมัตถ์ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำว่า
ขนฺธานํ เภโท เป็นต้น.
ก็โดยปรมัตถ์ ขันธ์เท่านั้นแตก ชื่อว่า สัตว์ไม่มีใครตาย แต่เมื่อ
ขันธ์แตก สัตว์ย่อมตาย จึงมีโวหารว่า เมื่อขันธ์ทั้งหลายแตกแล้ว สัตว์
ตายแล้ว และในที่นี้ ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยสามารถแห่ง
จตุโวการะ และปัญจโวการะ การทอดทิ้งร่างกาย ย่อมมีด้วยสามารถแห่ง
เอกโวการะ อีกอย่างหนึ่ง ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยสามารถ
แห่งจตุโวการะเท่านั้น พึงทราบความทอดทิ้งร่างกาย ด้วยสามารถแห่ง
โวการะทั้งสองที่เหลือ. เพราะเหตุไร ? เพราะเกิดร่างกายกล่าวคือรูปกาย
ในกรรมภพทั้งสอง.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะขันธ์ทั้งหลายในจาตุมหาราชิกาเป็นต้น ย่อม
แตกไปเลย ไม่ทอดทิ้งอะไร ๆ ไว้ ฉะนั้น ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายจึง
มีด้วยสามารถแห่งขันธ์เหล่านั้น มนุษย์เป็นต้นมีการทอดทิ้งร่างกาย ก็ใน
ที่นี้ท่านกล่าวมรณะว่า การทอดทิ้งร่างกาย เพราะเหตุแห่งการทอดทิ้ง
ร่างกาย ชื่อว่ามรณะย่อมมีแก่ร่างกายที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น ด้วยบทว่า
ชีวิตินฺทริยสฺส อุปจฺเฉโท นี้ ร่างกายที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ย่อมไม่มี
มรณะ พระสารีบุตรเถระแสดงดังนี้.

ส่วนคำว่า นายบุษตาย นายดิษตาย เป็นเพียงโวหารเท่านั้น แต่
โดยเนื้อความคำทั้งหลายเห็นปานนี้ ย่อมแสดงถึงความสิ้นไปและความเสื่อม
ไปของข้าวกล้าเป็นต้นนั่นเอง.
บทว่า รูปคตํ ความว่า รูปคตะ คือรูปนั้นแหละ แม้ในบทว่า
เวทนาคตํ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพว มจฺจํ ความว่า โภคสมบัติ
ทั้งหลายย่อมละทิ้งสัตว์ไปก่อนกว่านั่นเทียวบ้าง สัตว์ย่อมละโภคสมบัติทั้ง
หลายไปก่อนกว่าบ้าง พระเถระเรียกขุนโจรว่า ผู้ใคร่กาม ความว่า แน่ะ
ผู้ใคร่กามผู้เจริญ พวกชนผู้มีกามโภคะทั้งหลายมิได้เที่ยวในโลก เมื่อโภคะ
ทั้งหลายฉิบหายไป เป็นอยู่ไม่มีโภคะบ้าง ละโภคะทั้งหลาบฉิบหายเองบ้าง
เพราะฉะนั้น แม้ในเวลาที่มหาชนเศร้าโศก เราจึงไม่เศร้าโศก พระเถระ
เรียกขุนโจรด้วยคำว่า ดูก่อนศัตรู โลกธรรมทั้งหลายเรารู้แล้ว ความว่า
แน่ะศัตรูผู้เจริญ โลกธรรม เป็นต้นว่า ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ
เรารู้แล้ว เหมือนอย่างว่า ดวงจันทร์ย่อมขึ้น ย่อมเต็มดวง และย่อมลับไป
และดวงอาทิตย์ส่องแสงไปยังประเทศทั่วโลกใหญ่กำจัดความยึด เวลาเย็น
ก็หนีลับไป คืออัสดงคต ไม่ปรากฏอีกฉันใด โภคสมมติทั้งหลายย่อมเกิด
ขึ้นด้วย ย่อมฉิบหายไปด้วย ฉันนั้นเหมือนกัน เศร้าโศกในเพราะ
โภคสมบัตินั้นจะได้ประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้นเราจึงไม่เศร้าโศก.
บทว่า ตณุหามญฺญนาย มญฺญติ ความว่า ย่อมสำคัญ คือการทำ
ความนับถือ ด้วยความสำคัญ ด้วยมานะที่ให้เกิดด้วยตัณหา.

บทว่า ทิฏฐิมญฺญนาย ความว่า ด้วยความสำคัญที่เกิดขึ้น กระทำ
ทิฏฐิให้เป็นอุปนิสัย.
บทว่า มานมญฺญนาย ความว่า ด้วยความสำคัญด้วยมานะที่เกิด
ร่วมกัน.
บทว่า กิเลสมญฺญนาย ความว่า ย่อมสำคัญด้วยความสำคัญ ด้วย
กิเลส ด้วยอรรถว่าเข้าไปทรมานตัวเอง ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว.
บทว่า กุหา ความว่า ทำให้ประหลาด.
บทว่า ถทฺธา ความว่า กระด้างเหมือนตอไม้.
บทว่า ลปา ความว่า พูดพล่อยด้วยปัจจัยนิมิต.
บทว่า สงฺคตํ ความว่า สิ่งที่มาประจวบ คือสิ่งที่เห็นแล้ว หรือ
แม้ถูกต้องแล้ว.
บทว่า ปิยายิตํ ความว่า การทำให้เป็นที่รัก.
บทว่า สงฺคตํ ความว่า อยู่พร้อมหน้า.
บทว่า สมาคตํ ความว่า มาใกล้.
บทว่า สมาหิตํ ความว่า เป็นอันเดียวกัน.
บทว่า สนฺนิปติตํ ความว่า ประมวลไว้.
บทว่า สุปินคโต ความว่า เข้าไปแล้วสู่ความฝัน.
บทว่า เสนาวิยูหํ ปสฺสติ ความว่า เห็นการตั้งค่ายของเสนา.
บทว่า อารามรามเณยฺยกํ ความว่า ความน่ารื่นรมณ์แห่งสวน
ดอกไม้เป็นต้น.
แม้ในบท วนรามเณยฺยกํ เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า เปตํ ความว่า จากโลกนี้ไปสู่ปรโลก.
บทว่า กาลกตํ ความว่า ตายแล้ว.
บทว่า นามเมวาวสิสฺสติ อกฺเขยฺยํ ความว่า ธรรมชาติมีรูป
เป็นต้นทั้งหมดอันบุคคลละไป เหลือแต่เพียงชื่อเท่านั้น เพื่อนับคือเรียก
อย่างนี้ว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต.
บทว่า เย จกฺขุวิญฺญาณาภิสมฺภูตา ความว่า รูปที่ทราบกันได้
ด้วยจักขุวิญญาณ มีสุมุฏฐาน 4 ที่ทำให้เป็นกองเห็นแล้ว.
บทว่า โสตวิญฺญาณาภิสมฺภูตา ความว่า เสียงที่มีสมุฏฐาน 2
ที่ทำให้เป็นกองไว้ได้ฟังแล้วด้วยโสตวิญญาณซึ่งกองแต่อื่น.
บทว่า มุนโย ได้แก่มุนีผู้เป็นขีณาสพ.
บทว่า เขมทสฺสิโน ความว่า เห็นพระนิพพาน. ในโสกนิทเทส
บทว่า โสโก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่า พยสนะ เพราะอรรถว่า
เสื่อม อธิบายว่า ซัดไป คือกำจัดประโยชน์เกื้อกูลและความสุข ความ
เสื่อมแห่งญาติ ชื่อญาติพยสนะ อธิบายว่า เพราะโจรโรคภัยเป็นต้น จึง
สิ้นญาติเสื่อมญาติ เพราะความเสื่อมแห่งญาตินั้น.
บทว่า ผุฏฐสฺส ความว่า ท่วมทับ คือ ครอบงำ ประจวบ แม้
ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ความแปลกกันดังนี้ ความเสื่อม
แห่งโภคะทั้งหลาย ชื่อโภคพยสนะ อธิบายว่า เพราะราชภัยและโจรภัยเป็น
ต้น โภคะจึงสิ้นไปพินาศไป, ความเสื่อมคือโรค ชื่อโรคพยสนะ ด้วยว่า
โรคทำความไม่มีโรคให้ฉิบหายไปพินาศไป ฉะนั้นจึงชื่อว่าพยสนะ. ความ
เสื่อมแห่งศีล ชื่อสีลพยสนะ บทนี้เป็นชื่อของความทุศีล. ความเสื่อมคือ

ทิฏฐิที่เกิดขึ้นทำสัมมาทิฏฐิให้พินาศไป ชื่อทิฏฐิพยสนะ. ก็ในที่นี้ ความ
เสื่อม 2 อย่างแรกสำเร็จ 3 อย่างหลังไม่สำเร็จ ถูกกำจัดด้วยไตรลักษณ์
และความเสื่อม 3 อย่างแรก เป็นกุศลก็ไม่ใช่ เป็นอกุศลก็ไม่ใช่ ความ
เสื่อมแห่งศีลและทิฏฐิทั้งสองเป็นอกุศล.
บทว่า อญฺญตรญฺญตเรน ความว่า อันความเสื่อมแห่งมิตรและ
อำมาตย์เป็นต้น ที่ยึดถือก็ตามไม่ยึดถือก็ตาม อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า สมนฺนาคตสฺส ความว่า ตามผูกพัน คือไม่พ้นไป.
บทว่า อญฺญตรญฺญตเรน ทุกฺขธมฺเมน ความว่า อันอุบัติเหตุ
แห่งทุกข์คือความโศกอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า โสโก ความว่า ชื่อว่าความโศก ด้วยสามารถแห่งความ
เศร้าโศก บทนี้เป็นสภาวะเฉพาะตนแห่งความโศกที่เกิดขึ้นด้วยเหตุเหล่านี้.
บทว่า โสจนา ได้แก่ อาการที่เศร้าโศก.
บทว่า โสจิตตฺตํ ได้แก่ ความเป็นผู้เศร้าโศก.
บทว่า อนฺโตโสโก ได้แก่ ความเศร้าโศกในภายใน ท่านขยาย
บทที่ 2 ด้วยอุปสรรค ด้วยว่าความเศร้าโศกนั้นเกิดขึ้นทำภายในให้แห้ง
ให้แห้งรอบ ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ความเศร้าโศกในภายใน ความเศร้า
โศกรอบในภายใน.
บทว่า อนฺโตฑาโห ได้แก่ ความเร่าร้อนในภายใน ท่านขยาย
บทที่ 2 ด้วยอุปสรรค.
บทว่า เจตโส ปริชฺฌายนา ได้แก่ อาการคือความตรอมตรม
แห่งจิต ด้วยว่าความเศร้าโศกเมื่อเกิดขึ้น ย่อมยังจิตให้ไหม้ คือเผาจิต

เหมือนไปทำให้พูดว่า จิตของเราถูกเผาอยู่ อะไร ๆ ไม่แจ่มแจ้งแก่เรา ใจ
ถึงทุกข์ ชื่อว่าทุกข์ใจ ภาวะแห่งทุกข์ใจ ชื่อว่าโทมนัส ลูกศรคือความ
เศร้าโศก ด้วยอรรถว่าเข้าไปโดยลำดับ ฉะนั้นจึงชื่อว่า ลูกศรคือความ
เศร้าโศก
.
ในปริเทวนิทเทสมิวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ชื่อว่า อาเทวะ เพราะ
อรรถว่า เป็นเหตุเพ้อคือร้องให้ถึงอย่างนี้ว่า ธิดาของฉัน บุตรของฉัน.
ชื่อว่า ปริเทวะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุที่เพ้อสรรเสริญคุณนั้น ๆ. บท 2
คู่นอกจากนั้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแสดงไขภาวะแห่งอาการของ 2 บท
แรกนั่นเอง.
บทว่า วาจา ได้แก่ คำพูด.
บทว่า ปลาโป ได้แก่ คำพูดที่เปล่าคือไร้ประโยชน์. ชื่อว่า วิป-
ปลาปะ
เพราะอรรถว่า ความบ่นเพ้อแปลก ๆ ด้วยสามารถกล่าวนอก
เรื่องและกล่าวเรื่องอื่น ๆ.
บทว่า ลาลปฺโป ได้แก่ เพ้อบ่อย ๆ. อาการพร่ำเพ้อชื่อ ลาลัปปนา.
ความเป็นแห่งผู้พร่ำเพ้อ ชื่อว่าความเป็นผู้พร่ำเพ้อ. ความตระหนี่เป็นต้น
มีเนื้อความได้กล่าวไว้ทั้งนั้น.
คาถาที่ 7 ท่านกล่าวเพื่อแสดงข้อปฏิบัติอันสมควรในโลกที่ถูกมรณะ
กำจัดอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิลีนจรสฺส ความว่าผู้ประพฤติทำ
จิตหลีกเร้นจากอารมณ์นั้น ๆ.
บทว่า ภิกฺขุโน ได้แก่ กัลยาณปุถุชนบ้าง เสขบุคคลบ้าง.

บทว่า สามคฺคิยมาหุ ตสฺส ตํ โย อตฺตานํ ภวเน น ทสฺสเย
ความว่า ภิกษุใดปฏิบัติอย่างนี้ ไม่พึงแสดงตนในภพต่างโดยนรกเป็นต้น
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนนั้นของภิกษุนั้นว่าสมควร. อธิบายว่า
ด้วยว่าภิกษุนั้นพึงพ้นจากมรณะนี้ ด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า ปฏิลีนจรา วุจฺจนฺติ ความว่า เรียกว่า ผู้ประพฤติโดย
เอื้อเฟื้อซึ่งจิตละอายแต่อารมณ์นั้น ๆ.
บทว่า สตฺต เสกฺขา ความว่า ชื่อว่า เสขบุคคล 7 จำพวก
ตั้งต้นแต่ผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค เพราะ
อรรถว่า ศึกษาในสิกขา 3 มีอธิศีลสิกขาเป็นต้น.
บทว่า อรหา ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น. ผู้ตั้งอยู่ในอรหัตต-
ผลนั้น ชื่อว่า หลีกเร้นเพราะเสร็จกิจแล้ว.
พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงเหตุในความประพฤติหลีกเร้นของพระ
เสขะทั้งหลาย จึงกล่าวว่า กึการณา เป็นต้น.
บทว่า เต ตโต ตโต ความว่า พระเสขะ 7 จำพวกเหล่านั้น
ยังจิตให้หลีกเร้น จากอารมณ์นั้น ๆ.
บทว่า จิตตํ ปฏิลีเนนฺตา ความว่า ยังจิตของตนให้หลีกเร้น.
บทว่า ปฏิกุฏฺเฏนฺตา ความว่า ให้หด.
บทว่า ปฏิวฏฺเฏฺนฺตา ความว่า ม้วนเหมือนเสื่อรำแพน.
บทว่า สนฺนิรุทฺธนฺตา ความว่า กีดขวาง
บทว่า สนฺนิคฺคณฺหนฺตา ความว่า ทำซึ่งการข่ม.
บทว่า สนฺนิวาเรนฺตา ความว่า ห้าม.

บทว่า รกฺขนฺตา ความว่า ทำการรักษา.
บทว่า โคเปนฺตา ความว่า คุ้มครองไว้ในหีบคือจิต.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงด้วยสามารถแห่งทวาร พระสารีบุตรเถระจึงกล่าว
ว่า จกฺขุทฺวาเร เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขุทฺวาเร ได้แก่ ทวารคือจักขุ-
วิญญาณ. แม้ในโสตทวารเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ภิกฺขุโน ได้แก่ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชนบ้าง ภิกษุผู้เป็น
เสขบุคคลบ้าง ฉะนั้นพระเถระจึงไม่กล่าวเนื้อความแห่งคำของศัพท์ว่าภิกษุ
แสดงภิกษุที่ประสงค์เอาในที่นี้เท่านั้น.
บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าปุถุชน เพราะยังถอนกิเลส
ทั้งหลายไม่ได้และชื่อว่ากัลยาณะ เพราะประกอบด้วยข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้น
ฉะนั้นจึงชื่อว่า กัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนนั่นแหละ ชื่อว่าผู้เป็น
กัลยาณปุถุชน แห่งภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชนนั้น.
ชื่อว่า เสขะ เพราะอรรถว่า ศึกษาอธิศีลเป็นต้น แห่งภิกษุนั้น
ผู้เป็นเสขะบ้าง คือผู้เป็นพระโสดาบันบ้าง พระสกทาคามีบ้าง พระอนาคา
มีบ้าง.
ชื่อว่า อาสนะ เพราะอรรถว่า เป็นที่นั่ง คือจมลง.
บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในอาสนะเหล่าใดมีเตียงและตั่งเป็นต้น.
บทว่า มญฺโจ เป็นต้น เป็นคำแสดงประเภทของอาสนะ แม้เตียง
ท่านก็กล่าวไว้ในอาสนะทั้งหลายในที่นี้ เพราะเป็นโอกาสแม้สำหรับนั่ง
ก็เตียงนั้น เป็นเตียงมีแม่แคร่สอดเข้าในขา เตียงมีแม่แคร่เนื่องเป็นอันเดียว

กันกับขาเตียงมีขาเหมือนปู. และเตียงมีขาจดแม่แคร่ อย่างใดอย่างหนึ่ง
แม้ตั่งก็เป็นตั่งแบบนั้น อย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง.
บทว่า ภิสิ ได้แก่ เบาะขนสัตว์ เบาะผ้า เบาะเปลือกไม้ เบาะ
หญ้า และเบาะใบไม้ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า ตฏฏิกา ได้แก่ เสื่อที่ทอด้วยใบตาลเป็นต้น.
บทว่า จมฺมกฺขณฺโฑ ได้แก่ ท่อนหนังอย่างใดอย่างหนึ่งที่ควร
แก่การนั่ง เครื่องลาดทำด้วยหญ้าเป็นต้น ได้แก่เครื่องลาดที่ถักด้วยหญ้า
เป็นต้น.
บทว่า อสปฺปายรูปทสฺสเนน ความว่าจากการแลดูรูปที่ปรารถนา
อันไม่เป็นที่สบาย.
บทว่า วิตฺตํ ความว่า ว่างจากภายใน.
บทว่า วิวิตฺตํ ความว่า เปล่าจากการเข้าไปแต่ภายนอก.
บทว่า ปวิวิตฺตํ ความว่า เปล่าเป็นอดิเรกว่า ไม่มีคฤหัสถ์ไร ๆ
ในที่นั้น แม้ในการได้ยินเสียงไม่เป็นที่สบาย ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ปญฺจหิ กามคุเณหิ ความว่า จากส่วนแห่งกาม 5 คือ
รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะของหญิง สมจริงดังที่ท่านกล่าว
ไว้ว่า :-
กามคุณ 5 ในโลก คือ รูป เสียง กลิ่น รส และ
โผฏฐัพพะที่น่ารื่นรมย์ เห็นได้ในร่างของหญิง.

บทว่า ภชโต ความว่า ทำการเสพด้วยจิต.
บทว่า สมฺภชโต ความว่า เสพโดยชอบ.

บทว่า เสวโต ความว่า เข้าไปหา.
บทว่า นิเสวโต ความว่า เสพเป็นที่อาศัย.
บทว่า สํเสวโต ความว่า เสพด้วยดี.
บทว่า ปฏิเสวโต ความว่าเข้าไปหาบ่อย ๆ.
บทว่า คณสามคฺคี ได้แก่ความที่สมณะทั้งหลายเป็นอันหนึ่งอันเดียว
กัน คือพร้อมเพรียงกัน.
บทว่า ธมฺมสามคฺคี ได้แก่ความประชุมแห่งโพธิปักขิยธรรม 37
ประการ.
บทว่า อนภินิพฺพตฺติสามคฺคี ได้แก่ ประชุมแห่งพระอรหันต์
ทั้งหลายผู้ไม่บังเกิด คือไม่เกิดขึ้น ผู้ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ.
บทว่า สมคฺคา ความว่า ไม่แยกกันทางกาย.
บทว่า สมฺโนทมานา ความว่า มีจิตบันเทิง คือยินดีด้วยดี.
บทว่า อวิวทมานา ความว่า ไม่กระทำการวิวาทกันด้วยวาจา.
บทว่า ขีโรทกีภูตา ความว่า เป็นเช่นกับน้ำผสมด้วยน้ำนม.
บทว่า เต เอกโต ปกฺขนฺทนฺติ ความว่า ธรรมเหล่านั้น คือ
โพธิปักขิยธรรม ย่อมเข้าไปสู่อารมณ์เดียวกัน.
บทว่า ปสีทนฺติ ความว่า ย่อมถึงความผ่องใสในอารมณ์นั้นนั่นแล.
บทว่า อนุปาทิเสสาย ความว่า เว้นจากอุปาทาน.
บทว่า นิพฺพานธาตุยา ความว่า ด้วยอมตมหานิพพานธาตุ.

ในบทว่า โอนตฺตํ วา นี้ ความพร่อง ชื่อว่าโอนัตตะ อธิบายว่า
ความไม่สมบูรณ์.
บทว่า ปุณฺณตฺตํ วา ความว่า ความบริบูรณ์ ชื่อว่าปุณณัตตะ
อธิบายว่า หรือความเต็มย่อมไม่ปรากฏ คือไม่มี.
บทว่า เนรยิกานํ ความว่า ชื่อว่าเนรยิกา สัตว์นรก เพราะอรรถ
ว่า ควรกะนรก เพราะความที่มีกรรมให้บังเกิดในนรกของสัตว์นรกเหล่า
นั้น.
บทว่า นิรโย ภวนํ ความว่า นรกนั่นแลเป็นที่อยู่ คือเป็นเรือน
ของสัตว์นรกเหล่านั้น.
แม้ในบทว่า ติรจฺฉานโยนิกานํ เป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ตสฺเสสา สามคฺคี ความว่า การไม่แสดงตนนั้นของภิกษุ
นั้น คือของพระขีณาสพ เป็นนิพพานสามัคคี.
บทว่า เอตํ ฉนฺนํ ความว่า ข้อนั้นเป็นการสมควร.
บทว่า ปฏิรูปํ ความว่า เช่นกัน มีส่วนเปรียบเทียบ คือมิใช่ไม่
เช่นกัน ไม่มีส่วนเปรียบเทียบ.
บทว่า อนุจฺฉวิกํ ความว่า ข้อนั้นสมควรแก่ธรรมที่ทำให้เป็น
สมณะบ้าง แก่ธรรมที่เป็นคำสอนเกี่ยวด้วยมรรคผลนิพพานบ้าง (ย่อม
คล้อยตาม ไปตามความดีงาม) เพราะความสมควรแก่ธรรมเหล่านั้นด้วย
ธรรมเหล่านั้นแต่ที่ใกล้นั่นเองโดยแท้แล ข้อนั้นเป็นอนุโลมและย่อมอนุโลม
แก่ธรรมเหล่านั้น เพราะสมควรนั่นเอง มิได้ตั้งอยู่ในความเป็นข้าศึกที่ขัด
แย้งเลย.

บัดนี้ พระสารีบุตรเถระกล่าวคาถา 3 คาถา ต่อจากนี้ เพื่อจะกล่าว
สรรเสริญพระขีณาสพที่ท่านสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า โย อตฺตานํ ภวเน น
ทสฺสเย
ดังนี้.
บรรดาคาถา 3 คาถาเหล่านั้น คาถาแรกมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สพฺพตฺถ ความว่า ในอายตนะ 12. ในนิทเทสว่า น ปิยํ
กุพฺพติ โนปิ อปฺปิยํ
มีความว่า :-
บทว่า ปิยา ความว่า กระทำปีติในใจ.
พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงสัตว์และสังขารเหล่านั้นเป็นส่วน ๆ จึง
กล่าวว่า กตเม สตฺตา ปิยา อิธ ยสฺส เต โหนฺติ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส เต ตัดบทเป็น เย อสฺส เต
ความว่า สัตว์เหล่านั้น.
บทว่า โหนฺติ ความว่า เป็น.
บทว่า อตฺถกามา ความว่า ผู้ใคร่ความเจริญ.
บทว่า หิตถามา ความว่า ผู้ใคร่ความสุข.
บทว่า ผาสุกามา ความว่า ผู้ใคร่อยู่เป็นสุข.
บทว่า โยคกฺเขมกามา ความว่า ผู้ใคร่ความเกษม คือปลอดภัย
จากโยคะ 4.
ชื่อว่า มารดา เพราะอรรถว่า ถนอมรัก.
ชื่อว่า บิดา เพราะอรรถว่า ประพฤติน่ารัก.
ชื่อว่า พี่น้องชาย เพราะอรรถว่า คบกัน.
แม้ในบทว่า ภคินี นี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ชื่อว่า บุตร เพราะอรรถว่า ทำสกุลให้บริสุทธิ์ คือรักษาวงศ์สกุล.
ชื่อว่า ธิดา เพราะอรรถว่า ดำรงวงศ์สกุลไว้.
มิตร ได้แก่สหาย. อามาตย์ ได้แก่คนเลี้ยงดู. ญาติ ได้แก่ญาติ
ฝ่ายบิดา. สาโลหิต ได้แก่ญาติฝ่ายมารดา.
บทว่า อิเม สตฺตา ปิยา ความว่า สัตว์เหล่านั้นยังปีติให้เกิด สัตว์
เป็นที่ชัง พึงทราบโดยปริยายตรงกัน ข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
ก็ในบทว่า ยทิทํ ทิฏฺฐสุตํ มุเตสุ วา นี้ พึงทราบการเชื่อมความ
อย่างนี้ว่า มุนีย่อมไม่เข้าไปติดในรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน หรือธรรมารมณ์
ที่ทราบ ฉันนั้น.
บทว่า อุทกเถโว ได้แก่ หยดแห่งน้ำ ปาฐะว่า อุทกตฺเถวโก
ดังนี้ก็มี.
บทว่า ปทุมปตฺเต ได้แก่ บนใบบัว.
แม้ในบทว่า โธโน น หิ เตน มญฺญติ ยทิทํ ทิฏฺฐสุตํ มุเตสุ
วา
นี้ก็พึงทราบการเชื่อมความอย่างนี้เหมือนกันว่า พระอรหันต์ผู้มีปัญญา
เป็นเครื่องกำจัดย่อมไม่สำคัญด้วยวัตถุที่เห็นหรือที่ได้ยินนั้น หรือย่อมไม่
สำคัญในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่ทราบ.
บทว่า น หิ โส รชฺชติ โน วิรชฺชติ ความว่า ย่อมไม่กำหนัด
นัก เหมือนพาลปุถุชน ย่อมไม่คลายกำหนัด เหมือนกัลยาณปุถุชน
และเสขบุคคล แต่ย่อมถึงการนับว่า เป็นผู้คลายกำหนัดแล้ว เพราะมีราคะ
สิ้นแล้ว บทที่เหลือปรากฏแล้วทั้งนั้นแล.

บทว่า ตาย ปญฺญาย กายทุจฺจริตํ ความว่า พระโยคีกำหนด
สิ่งที่ควรกำหนด ด้วยปัญญาอันเป็นสัมมาทิฏฐินั้น หรือด้วยปัญญาอันเป็น
ส่วนเบื้องต้นนั่นเอง กำจัดกายทุจริต 3 อย่างด้วยสามารถแห่งการตัดขาด.
ก็บุคคลนี้เมื่อกำจัดวิปันนธรรมในเทศนาธรรมทั้งหลาย เป็นบุคคลผู้มีความ
พร้อมเพรียงด้วยธุตธรรม จึงชื่อว่าย่อมกำจัด ก็ผู้ใช้ปัญญาเป็นเครื่องกำจัด
ธรรมเหล่านั้น เริ่มที่จะกำจัดในขณะที่เป็นปัจจุบันของตน ท่านเรียกว่า
ผู้กำจัด เหมือนคนที่เริ่มบริโภค เขาเรียกว่า ผู้บริโภค อนึ่ง พึงทราบ
ลักษณะโดยศัพท์ศาสตร์ในที่นี้.
บทว่า ธุตํ เป็นกัตตุสาธนะ กำจัดด้วยโสดาปัตติมรรค. ล้างด้วย
สกทาคามิมรรค. ชำระด้วยอนาคามิมรรค. ซักฟอกด้วยอรหัตตมรรค.
บทว่า โธโน ทิฏฺฐํ น มญฺญติ ความว่า พระอรหันต์ย่อม
ไม่สำคัญรูปายตนะที่เห็นด้วยมังสจักษุก็ตาม ด้วยความสำคัญ 3 อย่าง
อย่างไร ? พระอรหันต์ไม่เห็นรูปายตนะด้วยสุภสัญญาและสุขสัญญา. ย่อม
ไม่ยังฉันทราคะให้เกิดในรูปายตนะนั้น. ไม่ยินดี ไม่เพลิดเพลินรูปายตนะ
นั้น. พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญรูปที่เห็นด้วยความสำคัญด้วยตัณหา อย่างนี้.
ก็หรือว่าพระอรหันต์ไม่หวังความเพลิดเพลินในรูปายตนะนี้ว่า รูป
ของเราในอนาคตกาลพึงเป็นดังนี้ หรือเมื่อหวังรูปสมมติ ไม่ให้ทาน ไม่
สมาทานศีล ไม่กระทำอุโบสถกรรม พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญรูปที่เห็น
ด้วยความสำคัญด้วยตัณหา อย่างนี้ก็มี ก็พระอรหันต์มิได้อาศัยสมาบัติและ
วิบัติแห่งรูป ทั้งของตนและคนอื่นยังมานะให้เกิดว่า เราประเสริฐกว่าผู้นี้

บ้าง เราเสมอผู้นี้บ้าง เราเลวกว่าผู้นี้บ้าง. พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญรูปที่
เห็น ด้วยความสำคัญด้วยมานะอย่างนี้. ก็พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญ
รูปายตนะว่าเที่ยง ยั่งยืน แน่นอน ไม่สำคัญคนว่ามีด้วยตน ไม่สำคัญสิ่งไม่
เป็นมงคลว่าเป็นมงคล. พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญรูปที่เห็น ด้วยความ
สำคัญด้วยทิฏฐิ อย่างนี้.
บทว่า ทิฏฺฐสฺมึ น มญฺญติ ความว่า เมื่อไม่สำคัญตนในรูป
โดยนัยแห่งการพิจารณาเห็น ชื่อว่าย่อมไม่สำคัญในรูปที่เห็น พระอรหันต์
เมื่อไม่สำคัญว่ากิเลสมีราคะเป็นต้นในรูป เหมือนน้ำนมในถัน ชื่อว่าย่อม
ไม่สำคัญในรูปที่เห็น.
ก็ความสำคัญด้วยตัณหาและมานะ พึงทราบว่า ไม่มีแก่พระอรหันต์
นั้นผู้ไม่ยังสิเนหาและมานะให้เกิดขึ้นในวัตถุที่คนไม่สำคัญ ด้วยความสำคัญ
ด้วยทิฏฐินั้นแหละ พระอรหันต์ย่อมไม่สำคัญ ในรูปที่เห็นอย่างนี้.
ก็บทว่า ทิฏฺฐโต ในบททั้งหลายว่า ทิฏฺฐโต น มญฺญติ นี้เป็น
ปัญจมีวิภัตติ. เพราะฉะนั้นพระอรหันต์เมื่อไม่สำคัญอุบัติหรือความเข้าถึงแต่
รูปที่เห็นมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว ของตนก็ตามของผู้อื่นก็ตามพร้อมทั้ง
อุปกรณ์ หรือว่าตนเป็นอื่นจากรูปที่เห็น พึงทราบว่า ไม่สำคัญแต่รูปที่
เห็น พระอรหันต์นั้นไม่มีความสำคัญด้วยทิฏฐินี้ แม้ความสำคัญด้วยตัณหา
และมานะพึงทราบว่า ไม่มีแก่พระอรหันต์นั้นผู้ไม่ยังสิเนหาและมานะให้
เกิดขึ้นในวัตถุที่ตนไม่สำคัญด้วยความสำคัญด้วยทิฏฐินั้นแหละ.
ก็ในบทว่า ทิฏฺฐิ เมติ น มญฺญติ นี้ ความว่า พระอรหันต์

ไม่ยึดถือเป็นของเรา ด้วยสามารถแห่งตัณหาว่า นั่นของเรา ย่อมไม่สำคัญ
รูปที่เห็นด้วยความสำคัญด้วยตัณหา.
บทว่า สุตํ ความว่า ได้ยินดีด้วยมังสโสตก็ตาม ได้ยินด้วยทิพโสต
ก็ตาม บทนี้เป็นชื่อแห่งสัททายตนะ.
บทว่า มุตํ ความว่า เข้าไปจดอารมณ์ที่ทราบและนับแล้วถือเอา
ท่านอธิบายไว้ว่า อารมณ์แห่งอินทรีย์ทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้น
ด้วยสังกิเลส บทนี้เป็นชื่อแห่งคันธายตนะ รสายตนะและโผฏฐัพพายตนะ.
บทว่า วิญฺญาตํ ความว่า รู้แจ้งด้วยใจ บทนี้เป็นชื่อแห่งอายตนะ
7 ที่เหลือ แม้ธรรมารมณ์ในที่นี้ ก็ย่อมได้อารมณ์ที่เนื่องด้วยสักกายทิฏฐิ
นั่นแล ส่วนความพิสดารในข้อนี้ พึงทราบตามนี้ที่กล่าวแล้วในทิฏฐวาระ.
ในบัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะแสดงด้วยสามารถแห่งสูตรที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ จึงกล่าวคำว่า อสฺมีติ ภิกฺขเว เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺมิ ความว่า มีอยู่ บทนี้เป็นชื่อ
ของความเที่ยง.
บทว่า มญฺญิตเมตํ ความว่า ข้อนั้นเป็นเครื่องกำหนดด้วยทิฏฐิ.
บทว่า มม อหมสฺมิ ความว่า เรามีอยู่ คือเป็นอยู่แก่เรา.
บทว่า อญฺญตฺร สติปฏฺฐาเนหิ ความว่า เว้นสติปัฏฐาน 4.
บทว่า สพฺเพ พาลปุถุชฺชนา รชฺชนฺติ ความว่า ชนต่าง ๆ
ผู้เป็นอันธพาลทั้งสิ้นย่อมติด.

บทว่า สตฺต เสกฺขา วิรชฺชนฺติ ความว่า อริยชน 7 จำพวก
มีพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมถึงความคลายกำหนัด.
บทว่า อรหา เนว รชฺชติ โน วิรชฺชติ ความว่า ด้วยว่า
พระอรหันต์ย่อมไม่ทำทั้งสองอย่าง เพราะกิเลสทั้งหลายดับสนิทแล้ว.
บททั้ง 3 ว่า ขยา ราคสฺส เป็นต้น คือพระนิพพานนั่นแล.

สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถา มหานิทเทส
อรรถกถา ชราสุตตนิทเทส
จบ สูตรที่ 6

ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ 7



[224] ท่านพระติสสเมตเตยยะ กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระองค์โปรดตรัสบอก
ซึ่งความคับแค้นของบุคคลผู้ประกอบเนือง ๆ ในเมถุน-
ธรรม พวกข้าพระองค์ได้ฟังคำสอนของพระองค์แล้ว จัก
ศึกษาในวิเวก.


ว่าด้วยเมถุนธรรม



[225] คำว่า ของบุคคลผู้ประกอบเนื่อง ๆ ในเมถุนธรรม
ความว่า ชื่อว่า เมถุนธรรม ได้แก่ ธรรมของอสัตบุรุษ ธรรมของชาว
บ้าน ธรรมของคนเลว ธรรมชั่วหยาบ ธรรมมีน้ำเป็นที่สุด ธรรมอัน
พึงทำในที่ลับ ธรรมคือความถึงพร้อมด้วยธรรมของคนคู่กัน.
เพราะเหตุไรจึงเรียกว่าเมถุนธรรม ? เพราะเป็นธรรมของคนทั้งสอง
ผู้กำหนัด กำหนัดกล้า ชุ่มด้วยราคะ มีราคะกำเริบขึ้น มีจิตอันราคะ
ครอบงำ เป็นเช่นเดียวกันทั้งสองคน เพราะเหตุดังนี้นั้น จึงเรียกว่า
เมถุนธรรม.
คน 2 คนทำความทะเลาะกัน เรียกว่าคนคู่, คน 2 คนทำความ
มุ่งร้ายกัน เรียกว่าคนคู่, คน 2 คนทำความอื้อฉาวกัน เรียกว่าคนคู่,