เมนู

ว่าด้วยผู้ประพฤติหลีกเร้น



[209] คำว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น มีความว่า พระ
เสขะ 7 จำพวก เรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น. พระอรหันต์ เรียกว่า
ผู้หลีกเร้น. พระเสขะ 7 จำพวก เรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น เพราะเหตุไร ?
พระเสขะเหล่านั้น ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม
ห้าม รักษา คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น ๆ ย่อมประพฤติ อยู่เป็นไป
หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ
ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น ๆ ให้จักขุ
ทวารประพฤติ อยู่ เป็นไป หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนิน
ไปยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา คุ้มครอง
จิตจากอารมณ์นั้น ๆ ในโสตทวาร....ในฆานทวาร....ในชิวหาทวาร....ใน
กายทวาร....ยังจิตให้หลีกเร้น หดกลับ ถอยกลับ ปิดกั้น ข่ม ห้าม รักษา
คุ้มครองจิตจากอารมณ์นั้น ๆ ในมโนทวาร ย่อมประพฤติ อยู่ เป็นไป
หมุนไป รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เปรียบเหมือนขนไก่
หรือเส้นเอ็นที่ใส่เข้าไปในไฟ ย่อมหด งอ ม้วน ไม่คลี่ออกฉะนั้น เพราะ
เหตุนั้น พระเสขะ 7 จำพวก จึงเรียกว่า ผู้ประพฤติหลีกเร้น. คำว่า
ของภิกษุ ได้แก่ ของภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือของภิกษุผู้เป็น
พระเสขะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ของภิกษุผู้ประพฤติหลีกเร้น.
[210] คำว่า ผู้คบที่นั่งอันสงัด มีความว่า ที่เป็นที่นั่ง เรียกว่า
อาสนะ ได้แก่ เตียง ตั่ง เบาะ เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดทำด้วยหญ้า
เครื่องลาดทำด้วยใบไม้ เครื่องลาดทำด้วยฟาง ที่นั่งนั้นว่าง เงียบ สงัด

จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย จากการได้ยินเสียงไม่เป็นที่สบาย จากการ
สูดดมกลิ่นไม่เป็นที่สบาย จากการได้ลิ้มรสไม่เป็นที่สบาย จากการถูกต้อง
โผฏฐัพพะไม่เป็นที่สบาย จากกามคุณ 5 ไม่เป็นที่สบาย ผู้คบอยู่ คบเสมอ
เสพ เข้าไปเสพ คบหา ซ่องเสพ ซึ่งที่นั่งนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
ผู้คบที่นั่งอันสงัด.

ว่าด้วยสามัคคี 3 อย่าง



[211] คำว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวการไม่แสดงตนในภพ
นั้นว่าเป็นความพร้อมเพรียง
มีความว่า คำว่า ความพร้อมเพรียง
ได้แก่ สามัคคี 3 อย่าง คือ คณะสามัคคี 1, ธรรมสามัคคี 1, อนภินิพ-
พัตติสามัคคี 1.
คณะสามัคคีเป็นไฉน ? ภิกษุทั้งหลายแม้มาก พร้อมเพรียงกัน ชื่น
ชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดังน้ำเจือด้วยน้ำนม แลดูกันและกันด้วยจักษุ
เป็นที่รักอยู่ นี้ชื่อว่า คณะสามัคคี.
ธรรมสามัคคีเป็นไฉน ? สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4
อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ธรรมเหล่านั้น
ย่อมแล่นไป ผ่องใส ประดิษฐานด้วยดี พ้นวิเศษ โดยความเป็นอันเดียว
กัน ความวิวาท ความขัดแย้งกัน แห่งธรรมเหล่านั้นย่อมไม่มี นี้ชื่อว่า
ธรรมสามัคคี.