เมนู

จึงชื่อว่า เห็นดังนี้แล้ว. คำว่า ไม่ควรอยู่ครองเรือน ความว่า กุลบุตร
ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวลในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ
ตัดกังวลในมิตรและอมาตย์ ตัดกังวลในความสั่งสมทั้งหมด ปลงผมและ
หนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความ
เป็นผู้ไม่มีห่วงใย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป คือ อยู่ เป็นไป หมุนไป
รักษา ดำเนินไป ให้อัตภาพดำเนินไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า กุลบุตร
เห็นดังนี้ แล้วไม่ควรอยู่ครองเรือน
. เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาค
เจ้าจึงตรัสว่า :-
ชนทั้งหลายย่อมเศร้าโศกในเพราะวัตถุที่ถือว่าของ
เรา ความยึดถือทั้งหลายเป็นของเที่ยง มิได้มีเลย การยึด
ถือนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดทีเดียว กุลบุตรเห็นดังนี้
แล้ว ไม่ควรอยู่ครองเรือน.

[191] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจ-
ขันธ์นั้นอันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย พุทธ-
มามกะผู้เป็นบัณฑิตรู้เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรน้อมไป
เพื่อความยึดถือว่าของเรา.


ว่าด้วยการยึดถือเบญจขันธ์



[192] คำว่า เบญจขันธ์นั้นอันบุรุษนั้น ย่อมละไปแม้เพราะ
ความตาย
มีความว่า คำว่า ความตาย ได้แก่ ความจุติ ความเคลื่อน
จากหมู่สัตว์นั้น ๆ แห่งเหล่าสัตว์นั้น ๆ ควรทำลาย ความหายไป มัจจุ-

มรณะ กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ความทอดทิ้งร่างกาย
ความเข้าไปตัดแห่งชีวิตินทรีย์. คำว่า เบญจขันธ์นั้น ได้แก่ รูปเวทนา
สัญญา สังขาร วิญญาณ คำว่า ย่อมละ ความว่าเบญจขันธ์ อันบุรุษ
นั้นย่อมละ สละทิ้ง หายไป สลายไป สมจริงดังภาษิตว่า:-
โภคสมบัติทั้งหลายย่อมละทิ้งสัตว์ไปก่อนบ้าง สัตว์
ย่อมละทิ้งโภคสมบัติเหล่านั้นไปก่อนบ้าง ดูก่อนราชโจรผู้
ใคร่กาม พวกชนเป็นผู้มีโภคสมบัติมิได้เที่ยง เพราะฉะนั้น
เราจึงไม่เศร้าโศก ในเวลาเศร้าโศก ดวงจันทร์ย่อมขึ้น
ย่อมเต็มดวง ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้ว
ย่อมจากไป ดูก่อนศัตรู โลกธรรมทั้งหลาย เรารู้แล้ว
เพราะฉะนั้นเราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก.

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เบญจขันธ์นั้นอันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะ
ความตาย
.
[193] คำว่า บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา มี
ความว่า คำว่า เบญจขันธ์ใด ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
วิญญาณ. คำว่า บุรุษ ได้แก่ ความนับ ความหมายรู้ บัญญัติ โวหาร
ของโลก นาม การตั้งนาม ความทรงนาม ความพูดถึง การแสดง
ความหมาย การพูดปราศรัย. คำว่า ย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้
ของเรา
มีความว่า ย่อมสำคัญด้วยความสำคัญด้วยตัณหา ด้วยความสำคัญ
ด้วยทิฏฐิ ด้วยความสำคัญด้วยมานะ ด้วยความสำคัญด้วยกิเลส ด้วยความ
สำคัญด้วยทุจริต ด้วยความสำคัญด้วยประโยค ด้วยความสำคัญด้วยวิบาก.
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุรุษย่อมลำดับเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา.

[194] คำว่า ผู้เป็นบัณฑิตรู้เห็นโทษแม้นั้นแล้ว มีความว่า
ทราบ รู้ เทียบเคียง ตรวจทราบ สอบสวน ทำให้แจ่มแจ้ง ซึ่งโทษนั้น
ในวัตถุที่ยึดถือว่าของเราทั้งหลาย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า รู้เห็นโทษแม้นั้น
แล้วละ คำว่า บัณฑิต ได้แก่ ผู้มีความรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง
ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรง. เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้เป็นบัณฑิตรู้เห็นโทษ
แม้นั้นแล้ว
.
[195] คำว่า พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่า
ของเรา
มีความว่า คำว่า ความยึดถือว่าของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่า
ของเรา 2 อย่างคือ ความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา 1 ความยึดถือว่าของ
เรา ด้วยทิฏฐิ 1. คำว่า พุทธมามกะ ได้แก่ ผู้นับถือพระพุทธ พระ-
ธรรม พระสงฆ์ คือบุคคลผู้นั้นย่อมนับถือพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าของเรา
พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงกำหนดบุคคลผู้นั้น สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค
เจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้คดโกง
กระด้าง พูดพล่อย กรีดกราย มีมานะจัด มีจิตไม่ตั้งมั่น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่นับถือเรา เป็น
ผู้ไปปราศแล้วจากธรรมวินัยนี้ และย่อมไม่ถึงความเจริญ
งอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายส่วนว่า
ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย ปัญญาไม่กระ-
ด้าง มีจิตตั้งมั่นดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นเป็น

ผู้นับถือเรา ไม่ปราศแล้วจากธรรมวินัยนี้ และย่อมถึงความ
เจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า :-
ชนทั้งหลายเป็นผู้คดโกง กระด้าง พูดพล่อย กรีด
กราย มีมานะจัด มีจิตไม่ตั้งมั่น ชนเหล่านั้นย่อมไม่งอก
งามในธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ส่วน
ชนทั้งหลายเป็นผู้ไม่คดโกง ไม่พูดพล่อย มีปัญญา ไม่
กระด้าง มีจิตตั้งมั่นดี ชนเหล่านั้นแล ย่อมงอกงามใน
ธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

คำว่า พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา
มีความว่า พุทธมามกะละความยึดถือว่าของเราด้วยตัณหา สละคืนความ
ยึดถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ไม่พึงน้อมโน้มไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา คือ
ไม่พึงเป็นผู้น้อมไป เอนไป โอนไป โน้มไป ในความยึดถือว่าของเรา
นั้น ไม่พึงเป็นผู้มีความยึดถือว่าของเรานั้นเป็นใหญ่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า
พุทธมามกะไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือของเรา. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจ-
ขันธ์นั้นอันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย พุทธ
มามกะผู้เป็นบัณฑิตรู้เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรน้อมไป
เพื่อความยึดถือว่าของเรา.

[196] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็นสิ่งที่มาประจวบด้วยความ
ฝัน แม้ฉันใด ใคร ๆ ก็ไม่เห็นชนที่รักซึ่งตายจากไปแล้ว
แม้ฉันนั้น.


เปรียบสิ่งที่ได้เหมือนความฝัน



[197] คำว่า สิ่งที่มาประจวบด้วยความฝันแม้ฉันใด มีความ
ว่า สิ่งที่มาประจวบ คือ สิ่งที่มาปรากฏมาตั้งมั่นประชุมกันแล้ว เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า สิ่งที่มาประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด.
[198] คำว่า บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็น มีความว่า บุรุษผู้ฝัน
เห็นดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์ เห็นมหาสมุทร เห็นขุนเขาสิเนรุ เห็น
ช้าง เห็นม้า เห็นรถ เห็นคนเดินเท้า เห็นขบวนเสนา เห็นสวนที่น่า
รื่นรมย์ เห็นป่าที่น่ารื่นรมย์ เห็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ เห็นสระโบกขรณี
ที่น่ารื่นรมย์ ครั้นตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็นอะไร ๆ ฉันใด เพราะฉะนั้นจึง
ชื่อว่า บุรุษตื่นแล้ว ย่อมไม่เห็น.
[199] คำว่า ชนที่รัก........แม้ฉันนั้น มีความว่า ศัพท์ว่า
ฉันนั้น เป็นอุปไมยเครื่องยังอุปมาให้ถึงพร้อม. คำว่า ชนที่รัก ได้แก่
ชนที่รัก ที่ถือว่าของเรา ซึ่งได้แก่ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว
น้องสาว บุตร ธิดา มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ชนที่รัก........แม้ฉันนั้น.